กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะคอเลสเตอรอลสูง - การรักษาและการป้องกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 25 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะคอเลสเตอรอลสูง - การรักษาและการป้องกัน

การรักษาและการป้องกันภาวะนี้จะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งการคุมอาหาร งดบุหรี่และการออกกำลังกายเป็นประจำ แต่หากไม่ได้ผลก็ต้องเริ่มรักษาด้วยยาซึ่งนิยมใช้อยู่ไม่กี่ตัว

https://www.istockphoto.com/th/photo/healthy-food-on-a-heart-shape-cutting-board-gm643764508-116861069 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คุณจะได้รับคำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงอาหารของคุณ และเพิ่มการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน

หลังจากการปรับวิถีชีวิตเป็นเวลา 2 – 3 เดือนแล้ว หากระดับคอเลสเตอรอลของคุณไม่ลดลง คุณอาจต้องได้รับยาลดคอเลสเตอรอล

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาหาร การหยุดบุหรี่ และการออกกำลังกายให้มากขึ้นจะช่วยป้องกันการพัฒนาของภาวะดังกล่าวได้

การรักษาต่าง ๆ สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่

การควบคุมอาหาร

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีความสมดุลต้องมีไขมันอิ่มตัวอยู่ในระดับต่ำ อาหารที่ดีสามารถลดระดับ "ไขมันเลว" (LDL) ได้

พยายามหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารดังต่อไปนี้ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูง:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไขมันในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอกและเบคอน
  • เนย น้ำมันเนยและน้ำมันหมู
  • ครีม ครีมสดและไอศกรีม
  • ชีส เนยแข็ง
  • เค้ก บิสกิต ขนมทอดกรอบ
  • ช็อกโกแลตนม
  • น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม

รัฐบาลแนะนำว่าไม่ควรได้รับพลังงานจากไขมันอิ่มตัวเกิน 11% ของพลังงานที่ต้องได้รับต่อวันซึ่งเท่ากับ:

  • ไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 30 กรัมต่อวันสำหรับผู้ชายทั่วไป
  • ไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงโดยเฉลี่ย
  • เด็กควรได้รับไขมันอิ่มตัวน้อยกว่านั้น

ลองตรวจสอบฉลากอาหารที่คุณรับประทานเพื่อตรวจสอบว่าคุณบริโภคไขมันอิ่มตัวมากแค่ไหน

กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids)

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าไขมันที่พบในอะโวคาโด และปลาหลายชนิด เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน และปลาทูน่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ

สารเหล่านี้เรียกว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 และการได้รับสารดังกล่าวในปริมาณหนึ่งสามารถลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในบางคนได้ อย่างไรก็ตาม กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้

สำหรับคนที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง คุณควรทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างน้อย 2 ส่วนต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าการทานอาหารเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีประโยชน์เหมือนกับการทานปลาโดยตรงหรือไม่

ยาลดระดับคอเลสเตอรอล

ยาลดคอเลสเตอรอลในเลือดมีหลายประเภทแตกต่างกันไป แพทย์ของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และอาจสั่งยาลดความดันโลหิตสูงร่วมด้วยถ้าโรคดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาที่นิยมใช้รักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่

ยา Statin

ยา statin ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในตับของคุณซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสร้างคอเลสเตอรอล การยับยั้งนี้จึงนำไปสู่การลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณ

คุณมักได้รับยาเริ่มต้นการรักษาด้วยยาชื่อว่า atorvastatin ส่วนยากลุ่ม statin ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ simvastatin และ rosuvastatin

บางคนเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ statin ก็อาจเข้าใจผิดว่าตนเองแพ้ยาได้ ผลข้างเคียงของยา statin นั้นรวมถึงอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องร่วง หรือท้องผูก เป็นต้น

ยา statin จะถูกสั่งให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วยและจำเป็นต้องได้รับยานี้ไปตลอดชีวิต เนื่องจากระดับคอเลสเตอรอลจะเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อคุณหยุดรับประทานยาดังกล่าวทันที

ยาแอสไพริน

ในบางกรณี อาจมีการใช้ยาแอสไพรินในปริมาณต่ำ ๆ เพื่อป้องกันและรักษาโรคเฉพาะ การเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับอายุของคุณ (โดยปกติแล้วมีอายุมากกว่า 40 ปี) และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

แอสไพรินในปริมาณต่ำสามารถช่วยในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นโรคหัวใจวาย มีประวัติโรคทางหลอดเลือด หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ คุณอาจได้รับการแนะนำให้ตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจว่าตับของคุณยังทำงานได้ดีอยู่เสมอ

ยา Ezetimibe

ยาดังกล่าวเป็นยาที่ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารและอาหารที่ผสมกับน้ำดีภายในลำไส้ของคุณเข้าสู่เลือดของคุณ โดยทั่วไป ยานี้ไม่ออกฤทธิ์ได้มากเท่ากลุ่มยา statin แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเกิดผลข้างเคียงเมื่อเทียบกับยา statin เช่นกัน

คุณสามารถใช้ยา ezetimibe พร้อมกับยา statin ตามปกติได้หากระดับคอเลสเตอรอลของคุณไม่ลดลงต่ำเพียงพอด้วยการใช้ยา statin เพียงตัวเดียว ผลข้างเคียงของชุดยาผสมนี้โดยทั่วไปจะไม่สูงไปกว่าผลข้างเคียงของยา statin เพียงอย่างเดียว (อันได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ และปัญหาในกระเพาะอาหาร)

คุณสามารถใช้ยา ezetimibe เพียงอย่างเดียวได้เช่นกัน หากคุณไม่สามารถใช้ยา statin ได้ เช่น อาจเป็นเพราะคุณมีภาวะทางการแพทย์อื่นที่ทำให้คุณต้องใช้ยาที่ขัดขวางการทำงานของ statin หรือเนื่องจากคุณได้รับผลข้างเคียงจากยา statin และไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงดังกล่าวได้ซึ่งการใช้ยา ezetimibe เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ค่อยทำให้เกิดผลข้างเคียง

การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

คุณสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้โดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีสมดุล อาหารควรมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์

การควบคุมอาหาร

หากคุณทานอาหารที่มีไขมันสูง แผ่นคราบไขมันจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นตามผนังหลอดเลือดแดงของคุณมากขึ้น เนื่องจากอาหารที่เป็นไขมันมีคอเลสเตอรอลอยู่ด้วยเสมอ

ไขมันมี 2 ประเภท คือ ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเนื่องจากจะเพิ่มระดับ "ไขมันเลว" (ลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำหรือ LDL) ในเลือดของคุณ

อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ :

  • พายเนื้อ
  • ไส้กรอก
  • ส่วนไขมันของเนื้อสัตว์ เช่น หมูสามชั้น หนังหมู
  • เนย
  • น้ำมันหมู
  • ครีม
  • ชีสแข็ง
  • เค้ก และบิสกิต
  • อาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม

อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรตัดไขมันทุกชนิดออกจากอาหารทั้งหมดเพราะการทำเช่นนั้นก็ไม่ดีต่อสุขภาพคุณเช่นกัน สิ่งสำคัญที่ควรทำ คือ ต้องแทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งจะทำให้มี "ไขมันดี" (ลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูงหรือ HDL) ซึ่งจะช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดแดงได้

อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ได้แก่

  • ปลาที่มีไขมันสูง - เช่นปลาทู ปลาแซลมอน และปลาทูน่า
  • อะโวคาโด
  • ถั่ว และเมล็ดธัญพืช
  • น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเรพซีด และน้ำมันมะกอก

นอกจากนี้ อาหารที่มีไขมันต่ำซึ่งมีเส้นใยอาหารในปริมาณมาก เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังและพาสต้าจากธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้และผักหลายชนิดยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

ผักและผลไม้เต็มไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหารซึ่งทำให้ร่างกายของคุณอยู่มีสุขภาพดี ให้ตั้งใจว่าจะรับประทานผักและผลไม้ปริมาณอย่างน้อย 580 กรัมทุกวัน

งดสูบบุหรี่

สารเคมีที่พบในบุหรี่ซึ่งเรียกว่าสาร acrolein จะยับยั้งไขมันดีในการการขนส่งไขมันจากบริเวณที่สะสมไปยังตับ ส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) นั่นหมายความว่า การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ ลองปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณซึ่งจะแนะนำโปรแกรมเลิกบุหรี่ หรือส่งตัวคุณไปยังแผนกเลิกบุหรี่ประจำโรงพยาบาลหรือง่ายที่สุดลองโทร Quitline สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการเลิกสูบบุหรี่

เจ้าหน้าที่สายด่วนที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ สามารถให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำและกำลังใจจากผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี

หากคุณมุ่งมั่นที่จะเลิกสูบบุหรี่แต่ไม่อยากถูกส่งตัวไปยังแผนกเลิกบุหรี่โดยตรง แพทย์ประจำตัวคุณอาจแจ้งคำแนะนำทางการแพทย์ หรือจ่ายยาบางตัวเพื่อช่วยเรื่องอาการถอน หรืออาการอยากบุหรี่ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากที่เลิกสูบบุหรี่

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกายของคุณ และกระตุ้นร่างกายเพื่อขจัดไขมันสะสมไปย่อยสลายที่ตับ

การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณรักษาระดับน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นทางที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักตัวลงหากคุณมีน้ำหนักเกิน การมีน้ำหนักเกินสามารถเพิ่มปริมาณ "ไขมันเลว" ในเลือดได้กว่าคนน้ำหนักตัวปกติ

ประโยชน์ของการออกกำลังกายทั่ว ๆ ไป คือ ช่วยลดความดันโลหิตของคุณโดยการรักษาหัวใจและหลอดเลือดของคุณอยู่ในสภาพดีและแข็งแรง

ควรออกกำลังกายหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีในแต่ละสัปดาห์เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณ การเดินเร็ว ว่ายน้ำ และขี่จักรยานเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกกำลังกายความหนักประมาณนี้ 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/high-cholesterol#prevention


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป