กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

หนึ่งในภาวะทางการแพทย์ที่คุ้นหูกันดี ภาวะคอเลสเตอรอลสูงนี้สามารถนำไปสู่โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้ป่วยหลายล้านคนต่อปี ทั้ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

บทนำ

คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่เรียกเป็นทางการว่ากลุ่มลิพิด (lipid) และมีความสำคัญต่อการทำงานในชีวิตประจำวันของร่างกาย คอเลสเตอรอลถูกสร้างขึ้นส่วนใหญ่ที่ตับ แต่ยังสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดที่คุณทานเข้าไปทุกวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะปริมาณไขมันในเลือดสูงเกินไปอย่างมาก (hyperlipidemia) นั้นอาจมีผลต่อสุขภาพของคุณ

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเองมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยตรง แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณและนำไปสู่โรคหรือภาวะอันตรายต่าง ๆ ทางการแพทย์ได้

คอเลสเตอรอลคืออะไร

ปกติแล้ว คอเลสเตอรอลจะอยู่ในเลือดของคุณร่วมกับสารกลุ่มโปรตีน เมื่อทั้งสองสารรวมตัวกันจะถูกเรียกว่า สารลิโพโปรตีน (lipoproteins)

สารลิโพโปรตีนแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก ๆ คือ

  • สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein: HDL) - ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์ และพากลับไปที่ตับเพื่อย่อยสลาย หรือขับออกจากร่างกายในรูปแบบของเสีย ด้วยเหตุนี้จึงเรียก HDL หรือสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูงนี้ว่า "ไขมันดี” และยิ่งมีมากก็ยิ่งดีต่อสุขภาพ
  • สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein: LDL) - ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ที่ต้องการ แต่ถ้ามีคอเลสเตอรอลมากเกินไปเกินความต้องการของเซลล์ สารนี้ก็สามารถสร้างคราบไขมันในผนังหลอดเลือดแดงได้ และนำไปสู่โรคของหลอดเลือดแดงหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จึงเรียก LDL หรือ สารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำว่า "ไขมันเลว"

ปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด - ทั้งสองชนิด คือ ไขมันดี และไขมันเลว - สามารถวัดได้จากการเจาะตรวจเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลที่เหมาะสมในเลือดของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับว่ามีความเสี่ยงสูงหรือต่ำในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงของคนคนนั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมฉันจึงควรลดคอเลสเตอรอล?

มีหลักฐานมากมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ระดับคอเลสเตอรอลสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด:

  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)
  • โรคหัวใจวาย (heart attack)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (transient ischaemic attack: TIA)
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease: PAD)

เนื่องจากคอเลสเตอรอลสามารถฝังและอุดตันตามผนังหลอดเลือดได้ ทำให้จำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ สมอง และส่วนที่เหลือของร่างกาย นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดภายในร่างกายของคุณ

ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น โรคนี้จะทำให้เกิดความเจ็บปวดในทรวงอก หรือตามแขนของคุณในช่วงที่มีความเครียดหรือออกแรง เรียกว่า ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก (angina)

คอเลสเตอรอลสูงจากอะไร

มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถเพิ่มโอกาสของการมีปัญหาหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าคุณมีภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่:

  • อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ - โดยเฉพาะการทานไขมันชนิดอิ่มตัวสูง (Saturated fat) ในปริมาณมาก
  • การสูบบุหรี่ - สารเคมีที่พบในบุหรี่ที่เรียกว่า acrolein จะยับยั้งไขมันดี (HDL) ไม่ให้ขนคอเลสเตอรอลจากบริเวณสะสมไขมันไปยังตับ นำไปสู่โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis
  • มีประวัติโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีสภาวะหนึ่งที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรมซึ่งเรียกว่า โรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (hypercholesterolaemia) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้แม้จะรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเมื่อใด

แพทย์ประจำตัวของคุณอาจแนะนำให้คุณตรวจเลือดหาระดับคอเลสเตอรอลหากคุณ:

  • เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
  • มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ๆ
  • มีญาติสายตรงซึ่งมีอาการเกี่ยวกับภาวะคอเลสเตอรอลในเลือด
  • น้ำหนักเกิน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะทางสุขภาพที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ระดับคอเลสเตอรอลของฉันควรมีค่าเท่าใด

คอเลสเตอรอลในเลือดวัดออกมาเป็นหน่วยที่เรียกว่า มิลลิโมลต่อลิตร หรือในประเทศไทยนิยมหน่วยวัดเป็น มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ซึ่งคุณอาจเคยเห็นในใบตรวจเลือดของคุณ

โดยทั่วไป ระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) ที่เหมาะสมควรเท่ากับ:

  • 193 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
  • 154 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

โดยทั่วไป ระดับไขมันเลว (LDL) ควรเท่ากับ:

  • 116 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
  • 77 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือน้อยกว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

ระดับไขมันดี (HDL) ที่ต้องการในอุดมคติ คือ มากกว่า 39 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การมีระดับไขมันดีต่ำเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

อาจมีการคำนวณอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลเทียบกับระดับไขมันดีด้วย คือ เอาค่าระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดของคุณหารด้วยระดับไขมันดีของคุณ โดยทั่วไป อัตราส่วนนี้ควรต่ำกว่า 4 ในขณะที่ผู้ป่วยซึ่งมีอัตราส่วนสูงขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้นตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งของโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง และการรักษาเฉพาะภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับว่ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

การลดระดับคอเลสเตอรอล

ขั้นตอนแรกในการลดคอเลสเตอรอลของคุณ คือ การทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ และมีความสมดุล เป็นสิ่งสำคัญว่าควรปรุงให้อาหารของคุณมีไขมันต่ำ

คุณสามารถสับเปลี่ยนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นผัก ผลไม้ และธัญพืชได้ ธัญพืชต่าง ๆ นี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้ภาวะคอเลสเตอรอลสูงกลับมาเป็นซ้ำ

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลิกสูบบุหรี่ (ถ้าคุณสูบบุหรี่) ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ

หากมาตรการเหล่านี้ไม่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคุณเลย และคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง แพทย์คุณอาจสั่งยาลดคอเลสเตอรอลให้คุณทาน เช่น ยา Statin

แพทย์ประจำตัวของคุณจะพิจารณาถึงความเสี่ยงของผลข้างเคียงต่าง ๆ จากยา Statin เทียบกับผลประโยชน์ของการลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ ว่าผลประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณนั้นมีค่าเกินความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทานยา

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/high-cholesterol


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High Cholesterol Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/high-cholesterol-symptoms)
Cholesterol: What causes high cholesterol?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9152)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม
แตงกวาผัดไข่ เมนูลดน้ำหนักง่ายๆ ได้ผลชัวร์
แตงกวาผัดไข่ เมนูลดน้ำหนักง่ายๆ ได้ผลชัวร์

สองวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่รสชาติอร่อย และมากด้วยประโยชน์ที่คุณต้องทึ่ง

อ่านเพิ่ม
สมุนไพรลดไขมันในเลือด 10 ชนิด
สมุนไพรลดไขมันในเลือด 10 ชนิด

สมุนไพรใกล้ตัว หาได้ไม่อยาก และมากด้วยคุณประโยชน์ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

อ่านเพิ่ม