สรรพคุณของน้ำสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ลองดับกระหายแบบนี้สิ รับรองดีต่อสุขภาพและราคาสบายกระเป๋า
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สรรพคุณของน้ำสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

น้ำสมุนไพร อาจเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ได้รับความนิยมเทียบเท่าชานมไข่มุก หรือกาแฟเย็นสารพัดสูตร เพราะไม่มีความหอม หวาน มันของนมเนย  ไม่มีไข่มุกให้เคี้ยวเล่นหนึบหนับ ไม่มีร้านรวงให้นั่ง check in แบบเท่ๆ  แต่น้ำสมุนไพรบ้านๆ นี่เองที่มาพร้อมคุณประโยชน์มหาศาล ชนิดที่เครื่องดื่มยอดนิยมในท้องตลาดเทียบไม่ติด แถมยังราคาสบายกระเป๋ามากกว่าด้วย 

มาดูกันว่า น้ำสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์น่าสนใจมีอะไรบ้าง  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

6 น้ำสมุนไพรมากคุณประโยชน์

น้ำกระเจี๊ยบ

นอกจากน้ำกระเจี๊ยบจะมีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำแล้วยังสามารถช่วยขับปัสสาวะ  ลดนิ่วในไต ช่วยลดไขมันที่เลว เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือดลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดฝอยแตก บรรเทาอาการไอ และลดไข้ได้อีกด้วย

น้ำเก๊กฮวย

น้ำเก๊กฮวยเป็นน้ำสมุนไพรยอดนิยมและหาดื่มได้ง่าย  นอกจากจะแก้ร้อนในได้ดีแล้วยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงประสาทและสายตา   ลดความเสี่ยงการมองไม่เห็นในเวลากลางคืน บำรุงตับ ช่วยขับลมในลำไส้ และยังสามารถช่วยบรรเทาอาการไขข้ออักเสบได้

น้ำใบบัวบก

คนไทยมักรู้จักน้ำใบบัวบกในแง่น้ำสมุนไพรแก้อาการช้ำใน แต่จริงๆ แล้วน้ำใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณถึงขึ้นเป็นยาอายุวัฒนะเลยทีเดียว เนื่องจากใบบัวบกมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง การดื่มน้ำใบบัวบกจึงช่วยในการชะลอวัย  มีวิตามินเอสูง ช่วยในการบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีสารที่ส่งเสริมการทำงานของกาบาซึ่งช่วยในการบำรุงสมอง ช่วยแก้อาการช้ำใน ทำให้แผลหายเร็ว เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด และยังทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี

น้ำมะตูม

แม้จะหาดื่มได้ยากกว่าน้ำกระเจี๊ยบ น้ำเก๊กฮวย และน้ำใบบัวบก แต่น้ำสมุนไพรมะตูมก็มีสรรพคุณทางยาไม่แพ้กัน คือ ช่วยในการเจริญอาหาร  มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร  แก้ร้อนใน ลดอาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการขับเสมหะ

น้ำใบเตย

น้ำสมุนไพรใบเตยนอกจากจะให้ความสดชื่นแก่ร่างกายแล้ว แก้อาการอ่อนเพลียแล้วยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายจากกลิ่นที่หอม  นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้หัวใจทำงานเป็นปกติ  (ลดอัตราการเต้นของหัวใจ) และช่วยปรับสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี

น้ำขิง

น้ำขิงมีสรรพคุณทางยาทั้งในเรื่องของการขับลม แก้ท้องอืดท้อเฟ้อ แก้อาการเมา หรือคลื่นไส้อาเจียนต่างๆ ช่วยให้เจริญอาหาร มีฤทธิ์ในการขับเสมหะ และยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการเป็นไข้ นอกจากนี้ขิงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้  

คงถึงเวลาเปิดใจให้น้ำสมุนไพรไทยกันได้แล้ว  ถึงจะถือแล้วไม่เท่มากมาย แต่ลองดื่มน้ำสมุนไพรสักนิดแล้วจะชื่นใจ ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และถ้าดื่มอีกหน่อยรับรองติดใจแน่ 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Udumalagala GC, Gotu Kola (Centella asiatica): Nutritional Properties and Plausible Health Benefits. Chandrika UG 2015 (https://www.sciencedirect.com/...)
Da-Costa-Rocha, Hibiscus sabdariffa L. – A phytochemical and pharmacological review (https://www.sciencedirect.com/...), 15 December 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยประโยชน์นานาชนิด เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้น

อ่านเพิ่ม