สมุนไพรลดความดัน

สมุนไพรลดความดันมีอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการใช้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สมุนไพรลดความดัน

กระแสการรักษาโรคด้วยสมุนไพรโบราณนั้น เป็นที่น่าสนใจ และกำลังกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้สมุนไพรบางชนิดที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้วได้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง โดยเฉพาะโรคบางโรคที่ต้องอาศัยการรับประทานยาตลอดชีวิต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยบางคนพยายามหาหนทางรักษาด้วยตนเอง 

การใช้พืชสมุนไพรลดความดัน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่คาดหวังว่าจะสามารถช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันลงได้ เนื่องจากพืชสมุนไพรเหล่านี้หาง่ายและราคาถูกนั่นเอง ซึ่งจะมีสมุนไพรอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง

กะเพรา

ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โดยข้อมูลจาก Journal of Ayurveda and Integrative Medicine พบว่าสารสกัดจากใบกะเพรามีฤทธิ์ระงับประสาท และคลายความเครียดได้ จึงมีผลช่วยลดความดันได้ด้วย แต่ทั้งนี้ยังไม่พบการทดลองหรือผลวิจัยใดๆ ที่เป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องช่วยลดความดันโลหิตสูงของกะเพราได้โดยตรง

นักธรรมชาติบำบัดแนะนำให้ใช้ใบกะเพราในการดื่มเป็นชา โดยสามารถใช้ได้ทั้งใบสดและแห้ง และเนื่องจากใบกะเพราไม่มีคาเฟอีนจึงสามารถดื่มได้ทุกวัน 

ข้อควรระวัง

  • หากรับประทานกะเพราเป็นระยะเวลานานอาจจะเกิดอาการคลื่นไส้หรือท้องเสียได้
  • สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกะเพราในปริมาณสูง เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า กะเพราสามารถยับยั้งการเกาะตัวของตัวอ่อนกับผนังมดลูกในสัตว์ทดลองได้
  • น้ำมันหอมระเหยที่พบในใบกะเพรา มีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือดจึงทำให้เลือดหยุดไหลได้ยากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่รับประทานยาลดการแข็งตัวของเลือดจึงไม่ควรการบริโภคกะเพราในปริมาณสูงหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

กระเทียม

เป็นสมุนไพรลดความดัน ที่มีสารสำคัญชื่อ “อัลซิลิน” มีสรรพคุณช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และขยายหลอดเลือดที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้ 

โดยผลวิจัยของการทดลองรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระเทียมผง พบว่าค่าเฉลี่ยของความดันตัวบนหรือความดันในหลอดเลือดขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) และความดันโลหิตตัวล่างหรือความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ากระเทียมสามารถลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจากสาเหตุจากความดันโลหิตสูงได้

ข้อควรระวัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผู้ที่รับประทานกระเทียมบ่อยๆ มักจะมีกลิ่นปากและกลิ่นตัว รู้สึกแสบร้อนในช่องปาก กลางอก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องร่วงและเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ 
  • เกิดอาการแพ้ระคายเคืองที่ผิวหนัง เป็นผื่นคัน หน้าบวม และปากบวม
  • คุณแม่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตจากกระเทียม
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดอาการแข็งตัวของเลือดอยู่ ให้ระวังการรับประทานกระเทียมเพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ยากขึ้น 

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่นิยมนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อแก้กระหาย สารสําคัญของกระเจี๊ยบแดง คือ แอนโธไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งมีส่วนช่วยในการทํางานและสร้างความยืดหยุ่นเพิ่มความแข็งแรงแก่หลอดเลือด จึงเหมาะสําหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

จากการศึกษาวิจัยพบว่า การดื่มชากระเจี๊ยบวันละ 2 - 3 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิตตัวล่างลงได้ร้อยละ 7.2 ถึงร้อยละ 13 และผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า การใช้กระเจี๊ยบแดงแห้ง ขนาด 2 - 10 กรัม/วัน ต้มเป็นน้ำดื่ม หรือรับประทานในรูปของยาเม็ดกระเจี๊ยบแดง ขนาด 450 มก./วัน (มีสารแอนโทไซยานินอย่างน้อย 250 มก.) สามารถลดความดันโลหิตตัวบนได้

ข้อควรระวัง

  • กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย จึงควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะและไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้
  • กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงควรระวังเมื่อรับประทานร่วมกับยาขับปัสสาวะเพราะจะไปเสริมฤทธิ์การขับปัสสาวะให้มากขึ้นอาจจะเป็นอันตรายได้
  • กระเจี๊ยบแดงลดการดูดซึมของยาแก้ปวดพาราเซตามอล จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงร่วมกับการรับประทานยา
  • กระเจี๊ยบแดงมีโพแทสเซียมสูง จึงควรระวังในการรับประทานสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไตหรือมีความผิดปกติของไต

ขิง

ขิงในส่วนของเหง้ามีรสเผ็ดร้อน สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ ซึ่งมีผลช่วยลดความดันโลหิตเหมือนกับการรับประทานยาลดความดัน จึงนิยมนำขิงมาทำอาหารทั้งคาวและหวานรวมทั้งนำมาสกัดเป็นอาหารเสริม เพื่อผลิตเป็นยารักษาโรคความดัน 

การรับประทานขิงเพื่อลดความดันสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการใช้เหง้าขิงแก่สดมาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วยต้มกับน้ำเปล่า  2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง อาจเติมเกลือหรือมะนาวเพื่อเพิ่มรสชาติได้ หรือใช้ขิงผง 1 - 2 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ หรือ ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทานก็ได้เช่นเดียวกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงแก่ร่างกาย เช่น รู้สึกแสบร้อนท้องและกลางอก อึดอัด ไม่สบายตัว และเสี่ยงกับภาวะเลือดออกได้ 
  • ขิงมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หากรับประทานนานๆ อาจจะเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป 
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ หากอยู่ในระหว่างให้นมบุตรก็ควรรับประทานน้อยๆ เพื่อความปลอดภัย
  • ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีให้ระมัดระวังการรับประทานขิง เพราะขิงมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งของน้ำดี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้หากเกิดการอุดตันของท่อน้ำดี
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่ ให้ระวังการรับประทานขิง เพราะอาจทำให้เลือดหยุดไหลได้ยากขึ้น

วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ถ้าพบว่าความดันโลหิตมีค่าสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะให้ยารับประทานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตัวผู้ป่วยจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างเช่น ต้องจำกัดอาหารไม่เค็มเกินไป ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนการใช้ยาสมุนไพรจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงผลดีผลเสียที่จะตามมาก่อนตัดสินใจรักษา 

เราจะเห็นได้ว่าสมุนไพรที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้นั้น มักเป็นพืชผักสวนครัวที่นิยมนำมารับประทานเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งสรรพคุณของพืชสมุนไพรต่างๆ เหล่านี้บางชนิดมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับ ในขณะที่บางชนิดอาจยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจน แต่เป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา รวมถึงเป็นข้อมูลการรักษาจากการแพทย์ทางเลือกในสาขาต่างๆ 

ดังนั้น หากต้องการรักษาด้วยสมุนไพรร่วมกับการรับประทานยาแผนปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้สมุนไพร และอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่องจึงจะปลอดภัยที่สุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brian Krans and Ana Gotter, The Health Benefits of Holy Basil, (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/basil-benefits#brain-benefits) 30 August 2017
Holy Basil : Uses ,Side Effect, Interaction, Dosage an Warning. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1101/holy-basil)
พท.ป. เบญจวรรณ หมายมั่น, สมุนไพรลดความดัน, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, (https://www.thaihealth.or.th/sook/info-body-detail.php?id=138), 9 กันยายน 2560

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สรรพคุณของน้ำสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
สรรพคุณของน้ำสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ลองดับกระหายแบบนี้สิ รับรองดีต่อสุขภาพและราคาสบายกระเป๋า

อ่านเพิ่ม
กระเจี๊ยบ (Roselle)
กระเจี๊ยบ (Roselle)

แนะนำสรรพคุณของกระเจี๊ยบ สมุนไพรรสเปรี้ยวหวานสดชื่น พร้อมไขคำตอบเรื่องการลดน้ำหนักด้วยกระเจี๊ยบว่าทำได้จริงหรือไม่

อ่านเพิ่ม