กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ประกันสุขภาพผู้หญิง ครอบคลุมโรคอะไร และมีเจ้าไหนบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประกันสุขภาพผู้หญิง ครอบคลุมโรคอะไร และมีเจ้าไหนบ้าง

เพราะการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยจะเป็นการดีไม่น้อยหากผู้หญิงอย่างเราจะเก็บเงินออมไว้ส่วนหนึ่งไปลงทุนกับการซื้อประกันสุขภาพผู้หญิง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการความเสี่ยงของค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดกับผู้หญิงโดยเฉพาะ

ประกันสุขภาพผู้หญิงคุ้มครองโรคอะไรบ้าง

โดยปกติเรามักพบว่าประกันสุขภาพผู้หญิงที่นิยมและมีให้บริการมากที่สุดคือ “ประกันโรคมะเร็ง” โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งที่เกี่ยวกับอวัยวะภายในของผู้หญิงทั้งหมด แต่มีบริษัทประกันบางแห่งที่ให้ความคุ้มครองโรคที่เกิดเฉพาะกับผู้หญิงค่อนข้างครอบคลุมเลยทีเดียว

  1. โรคมะเร็ง ครอบคลุมโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปีกมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม โดยการรับผลประโยชน์จะมีการจัดแบ่งตามระยะของโรคมะเร็งที่เป็น อย่างเช่นระยะลุกลามที่หมายถึงการเกิดเซลล์มะเร็งที่มีการยืนยันโดยแพทย์แล้วว่า เซลล์นี้เป็นมะเร็งและมีการลุกลามลึกเกินกว่าชั้นรองรับเนื้อเยื่อที่ชั้นผิว และมีการแพร่กระจายไปยังเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ
  2. โรคมะเร็งปากมดลูกระยะไม่ลุกลาม และโรคมะเร็งเต้านมระยะไม่ลุกลาม
  3. โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) ชนิดมีภาวะไตอักเสบ
  4. ศัลยกรรมฟื้นฟู เช่น ศัลยกรรมใบหน้าที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือน้ำร้อนลวก
  5. คุ้มครองสตรีมีครรภ์ เริ่มตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด เช่น ทารกเสียชีวิตในครรภ์ในเวลาที่กำหนด หรือผ่าตัดเพราะตั้งครรภ์นอกมดลูก แม่หรือทารกเสียชีวิตในเวลาที่กำหนด หรือทารกมีโรคประจำตัวแต่กำเนิด
  6. การแตกหักจากภาวะกระดูกพรุน
  7. โรคที่เกี่ยวกับผู้หญิงในวัยทำงาน เช่น ออฟฟิศซินโดรม กระเพาะอักเสบ กรดไหลย้อน และไมเกรน เป็นต้น

บริษัทประกันที่ให้การรับประกันสุขภาพผู้หญิงโดยเฉพาะ

  1. เอ.ไอ.เอ. ให้ความคุ้มครองครอบคลุมตามข้อ 1 – 6 ตามที่กล่าวข้างต้น โดยระยะความคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 69 ปี ทั้งนี้ต้องเป็นการซื้อผ่านตัวแทน ซึ่งมีจุดเด่นคือคุ้มครองโรคร้ายที่มีโอกาสเกิดกับผู้หญิงได้ค่อนข้างครอบคลุม เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการการดูแลสุขภาพแบบพิเศษ
  2. ไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิดทุกระยะ (ยกเว้นโรคมะเร็งผิวหนัง) โดยรับประกันตั้งแต่อายุ 16 – 55 ปี และสามารถต่ออายุประกันได้ถึง 70 ปี โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  3. เมืองไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด อีกทั้งยังคุ้มครองทั้งมะเร็งที่ยังไม่แพร่กระจายถึงเยื่อบุฐาน ตลอดจนมะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลามอีกด้วย รวมถึงยังให้ค่าตอบแทนรายวันในกรณีที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล โดยรับประกันตั้งแต่อายุ 16 – 55 ปี และสามารถต่ออายุประกันได้ถึง 70 ปี
  4. แอกซ่า ให้ความคุ้มครองผู้หญิงวัยทำงานที่มักเป็นโรคยอดฮิตของสาวออฟฟิศ เช่น ไมเกรน กรดไหลย้อน ออฟฟิศซินโดรม กระเพาะอักเสบ ช็อกโกแลตซีสต์ และอื่นๆ ที่มากับสิทธิ์ของผู้ป่วยนอก (OPD) ค่ารักษาจากอุบัติเหตุ และจะได้รับเงินคืนทดแทนให้ กรณีที่ประสบอุบัติเหตุจนสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต

สำหรับโรคทั่วไปที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง โดยเฉพาะหากมีกรรมพันธุ์จากญาติพี่น้อง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง ผู้หญิงอย่างเราก็มีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกัน จึงควรซื้อประกันโรคร้ายเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากประกันสุขภาพผู้หญิงก็จะเป็นการดีมาก

หากค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งไม่ได้สูงมากนัก ควรเลือกซื้อประกันแบบแยกค่าใช้จ่าย โดยเลือกชนิดให้สอดคล้องกับค่าห้องของโรงพยาบาลที่เราจะเข้าใช้บริการจริง จะสามารถช่วยลดค่าเบี้ยประกันให้ถูกลงได้ แต่หากต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมค่ารักษามากที่สุด ให้ซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะคุ้มกว่า

กรณีที่เป็นผู้ป่วยนอกจากการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่ต้องนอนในโรงพยาบาล ควรซื้อประกันแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เพิ่มเติมด้วย เนื่องจากประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองกรณีดังกล่าวนี้

ทั้งนี้ การซื้อประกันสุขภาพผู้หญิงหรือประกันชนิดอื่นๆ จะต้องศึกษาและเปรียบเทียบเงื่อนไขกับผลตอบแทนให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะเบี้ยประกันจะมีความแตกต่างกันไป อีกทั้งยังมีให้เลือกจ่ายแบบราย 1 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยสามารถเลือกให้เหมาะสมกับรายได้ของตัวเอง เพื่อที่จะได้จัดการความเสี่ยงของค่าใช้จ่ายในสุขภาพผู้หญิงได้อย่างคุ้มค่าที่สุด


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Women's Health and the Affordable Care Act: What's Covered. Medscape Education. (https://www.medscape.org/viewarticle/823378_2)
Health Insurance Marketplace - Women's Health. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/women/healthcare/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป