ความหมายของอาการทางออกกระเพาะอาหารอุดกั้น
เป็นการอุดกั้นของทางออกของกระเพาะอาหารส่วนไพโลรัส ในระยะแรกการอุดกั้นจะเป็นแบบชั่วคราว และหายไประหว่างได้รับการรักษา ซึ่งทำให้การอักเสบและการบวมยุบลง การตีบแคบจะเกิดอย่างถาวรเมื่อเกิดแผลซ้ำทำให้การแยกของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเกิดเป็นพังผืดในที่สุด มีการหดรั้งจนรูเปิดระหว่างกระเพาะอาหารและดูโอดีนัมแคบลงอาหารจะผ่านไปยังลำไส้ไม่ได้
สาเหตุของอาการทางออกกระเพาะอาหารอุดกั้นคืออะไร?
เกิดจากเป็นแผลเปปติกเรื้อรังบริเวณกระเพาะอาหารส่วนไพโลรัส
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อทางออกของกระเพาะอาหารถูกอุดกั้น ทำให้อาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารยืดขยายและหนาตัวขึ้น กระเพาะอาหารจะถูกกระตุ้นให้บีบตัวเพิ่มขึ้น อาหารไม่สามารถผ่านไปยังลำไส้ได้จึงขย้อนกลับมายังหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเศษอาหารซึ่งจะไม่มีน้ำดีปน มีผลทำให้น้ำหนักลด อ่อนเพลียจากการสูญเสียเกลือแร่ ขาดน้ำ เสียสมดุลอิเล็กโทรไลต์ ผู้ป่วยจะมีอาการไม่อยากอาหาร ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ไม่รู้สึกตัว อาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ไตอาจเสียหน้าที่ และมีปริมาณยูเรียในเลือดเพิ่มขึ้น
อาการของทางออกกระเพาะอาหารอุดกั้นคืออะไร?
ท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย อาเจียนเป็นเศษอาหารไม่มีน้ำดีปนได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารจากซ้ายไปขวาได้ชัดเจน เมื่อไส่สายลงในกระเพาะอาหาร จะดูดได้น้ำย่อยมากกว่า 100 มิลลิลิตรหรือเป็นลิตร
การวินิจฉัยโรค
มีประวัติท้องอืดอาเจียนเป็นเศษอาหารที่ไม่มีน้ำดีปน ถ่ายภาพรังสีหน้าท้อง โดยให้ผู้ป้ายกลืนแป้งแบเรียม และถ่ายภาพรังสีช่องท้องจะเห็นกระเพาะอาหารยืดขยายและรูเปิดสู่ลำไส้ตีบแคบลง
การรักษาทางออกกระเพาะอาหารอุดกั้นคืออะไร?
โดยการผ่าตัดภายหลังจากแก้ไขภาวะขาดน้ำ ภาวะไม่สมดุลเกลือแร่ และสวนล้างเอาเศษอาหารและน้ำย่อยที่คั่งค้างอยู่ภายในกระเพาะอาหารออกแล้ว นิยมทำผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วน (Partial gastrectomy) ตัดประสาทเวกัสเพื่อเป็นการรักษาโรคแผลเปปติกร่วมกับการทำผ่าตัดตกแต่งทางออกส่วนที่แคบให้กว้างขึ้น (pyloroplasty) หรือตัดประสาทเวกัส เพื่อลดการกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดมากร่วมกับการทำทางระบายออกจากกระเพาะอาหารให้ด้วย (Vagotomy with drainage) งดน้ำงดอาหาร และ Retained nasogastric tube เพื่อระบายน้ำย่อยและสิ่งขับหลั่งจากกระเพาะอาหารออก ต่อมาค่อยๆ ให้รับประทานอาหารทางปากทีละน้อย
การพยาบาล
ดูแลให้กระเพาะอาหารและลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงเพียงพอ ฟังเสียงจากเคลื่อนไหวของลำไส้ ประเมินอาการปวดท้อง ท้องอืด อาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้าท้องแข็งเกร็ง ป้องกันการอักเสบติดเชื้อในช่องท้อง โดยให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปาก ใส่สายสวนจากจมูกลงสู่กระเพาะอาหารเพื่อระบายสิ่งที่คั่งค้างในกระเพาะอาหารออกให้มากที่สุด วัดสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง ติดตามผลการตรวจเม็ดเลือดขาว (WBC) ในเลือด และให้ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่โดยสังเกตอาการอ่อนเพลีย ซึม ไม่มีแรง สับสน ผิวหนังแห้งความตึงตัวเสียไป กระหายน้ำ บันทึกจำนวนน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ติดตามผลการตรวจอิเล็กโทรไลต์ในเลือด หากผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากได้แล้วแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่น ๆ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊ส ให้ผู้ป่วยพยายามเรอหรือผายลม ให้ยาแก้ปวด ดูแลให้ผู้ป่วยทุเลาจากอาการปวดท้องและท้องอืดโดยเปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วยบ่อย ๆ ให้ลุกนั่งและเดินทันทีที่ทำได้ หลีกเลี่ยงการไอ การยกของหนัก การเบ่งถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ฟังเสียงลำไส้บีบตัวเพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้ ให้ยาระบายเพื่อป้องกันท้องผูก
อาการเรอไม่หายสักทีตลอดเวลา6เดือนคะ