กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาหารคลายร้อน ผลไม้ น้ำผลไม้ หาทานง่าย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารคลายร้อน ผลไม้ น้ำผลไม้ หาทานง่าย

อากาศสุดร้อนในเมืองไทย นับวันยิ่งแย่ไปใหญ่ หากได้อยู่ในห้องแอร์ยังพอว่า แต่หากต้องอยู่ข้างนอกถึงมีลมก็ยังอบอ้าวอยู่ดี บางครั้งจึงอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และไม่อยากรับประทานอะไรเลย หากเป็นแบบนี้คงไม่ดีแน่ จึงต้องหาอาหารที่แสนอร่อยเหมาะสำหรับอากาศร้อนๆเพื่อมาช่วยลดอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้

อาหารคลายร้อน มีอะไรบ้าง?

สลัดผัก

เมนูเบาๆอย่างสลัดผักที่ประกอบไปด้วย ผักสดเย็น ๆ ที่ช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี และหากเพิ่มผลไม้สดตามฤดูกาลเข้ามาช่วยเพิ่มรสชาติและวิตามิน ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันไม่ให้เกิดไข้หวัดเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง แถมยังเป็นเมนูลดน้ำหนักสำหรับสาวๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แตงโม

แตงโม กับ หน้าร้อน ดูจะเป็นสิ่งเข้ากันที่สุด เพราะแตงโมลูกกลมๆรีๆ เนื้อข้างในหวานฉ่ำนี้ ช่างหวานเย็นชื่นใจจริงๆเพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 95% เมื่อรับประทานแล้วร่างกายก็จะชุ่มชื่นจากน้ำข้างในแตงโม ยิ่งนำไปแช่ตู้เย็น ก็จะยิ่งเย็นสุดขั้วเข้าไปใหญ่ คลายร้อนได้อย่างดี

แคนตาลูป

ผลไม้ตระกูลแตงอย่าง แคนตาลูป มีน้ำเป็นส่วนประกอบไม่น้อย เมื่อนำไปแช่เย็นๆก็สามารถนำมารับประทานดับร้อนได้ดีเช่นกัน หรือหากจะนำเนื้อไปปั่นเป็นน้ำแคนตาลูปใส่น้ำแข็งสักนิดก็ดื่มแก้กระหายคลายร้อนได้อย่างดี

น้ำกระเจี๊ยบ

น้ำกระเจี๊ยบหวาน ๆ เย็น ๆ เปรี้ยวนิดๆช่วยช่วยดับกระหายคลายร้อน และยังช่วยรักษาอาการร้อนในภายในช่องปากได้อย่างดี เพียงแต่เติมน้ำตาลเพิ่มมากเกินไป เพราะเดี๋ยวโรคอ้วนจะมาเยือนได้

น้ำมะพร้าว

หน้าร้อนถ้าได้รับประทานน้ำมะพร้าวเย็นๆก็จะคลายร้อนได้อย่างอัศจรรย์ เพราะมะพร้าวเป็นยาเย็น กินแล้วช่วยดับร้อน แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ปวดศีรษะ ลดอุณหภูมิในร่างกายได้ และหากเป็นไข้ตัวร้อนแล้วดื่มน้ำมะพร้าว ก็จะสามารถช่วยให้ความร้อนทุเลาลง ทั้งอร่อยทั้งมีประโยชน์จริงๆ

น้ำเก๊กฮวย

ร้อนๆแบบนี้บางคนคิดถึง น้ำเก๊กฮวยเย็นๆขึ้นมาเลย ด้วยสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น อาการครั่นเนื้อครั่นตัวจากอากาศร้อนจะลดลง ซึ่งหากเป็นไปได้หาซื้อดอกเก๊กฮวยแห้งมาเก็บไว้ ร้อนเมื่อไรก็หยิบมาต้มชงแช่เย็นดื่มได้เลยก็ดีเหมือนกัน

ฟักเขียว

ฟักเขียว เมื่อใส่ในแกงจืดซดร้อนๆก็ชื่นใจไม่น้อย เนื่องจากฟักเขียวจะช่วยให้ร่างกายเย็นลง เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยแก้ร้อนใน คอแห้ง ทำให้ชุ่มคอ ใช้ขับเสมหะแก้ไอ แก้หวัดร้อนได้อย่างดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผักโขม

เมื่ออากาศร้อน ร่างกายเสียเหงื่อก็จะสูญเสียธาตุแมกนีเซียมไปด้วย แต่หากได้รับประทานผักโขมและผักสีเขียวใมาก ๆ ก็จะได้แมกนีเซียมสูง และยังมีลูติน อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคอยช่วยปกป้องผิวพรรณและสายตาไม่ให้ถูกรังสีจากแสงแดดทำอันตราย

พริกไทย

พริกไทยถึงแม้จะมีรสชาติเผ็ดร้อนแต่ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการขับเหงื่อออกจากร่างกายได้ และเมื่อเหงื่อระเหยออกจากผิว จึงทำให้เกิดความรู้สึกเย็นสบายกับร่างกายได้อย่างน่าเหลือเชื่อ อีกทั้งยังมีวิตามินซีที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

ข้าวแช่

เมนูชาววัง อย่างข้าวแช่อาจหาทานได้ไม่ง่ายมากนักในปัจจุบัน แต่หากรับประทานแล้วจะต้องชื่นใจและเอร็ดอร่อย อีกทั้งเมื่อรับประทานคู่กับเครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น พริกหยวกยัดไส้ หรือปลาหวาน เมนูนี้จึงช่วยให้ความสดชื่นหอมอร่อยได้ในวันที่อบอ้าวได้อย่างดี

หากรับประทานอาหารตามเมนูเหล่านี้แล้วยังไม่หายร้อนก็อาจปรับเปลี่ยนลุกไปอาบน้ำ หรือไปเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า ผึ่งแอร์เย็น ๆ ก็คงจะดีไม่น้อย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The top 20 most hydrating foods. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325958)
19 Water-Rich Foods That Help You Stay Hydrated. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/19-hydrating-foods)
Dehydrated? These 7 Foods Will Satisfy Your Thirst and Hunger. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/dehydrated-these-7-foods-will-satisfy-your-thirst-and-hunger/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป