การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนผึ้งต่อย

ถูกผึ้งต่อยจะเกิดอาการอะไรขึ้นบ้าง มีวิธีการปฐมพยาบาลอย่างไร ต้องไปพบแพทย์หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนผึ้งต่อย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผึ้ง เป็นแมลงที่หากต่อยใส่ผิวหนังมนุษ ก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเหล็กในของผึ้งจะมีพิษที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ลมพิษ ลิ้น และคอบวม คลื่นไส้อาเจียน หมดสติ และเสียชีวิต
  • ผู้ที่ถูกผึ้งต่อยไม่ได้หมายความว่า จะมีอาการแพ้รุนแรงทุกคน ซึ่งคนที่ไม่ได้แพ้เหล็กในผึ้ง ให้รีบนำเหล็กในซึ่งฝังอยู่ในผิวหนังออกโดยเร็ว ล้างแผลให้สะอาด
  • น้ำส้มสายชู ว่านหางจระเข้ เสลกพังพอน คือ หนึ่งในเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือคุณอาจหายาต้านการอักเสบ หรือยาแอสไพริดบดน้ำเพื่อรับประทานลดอาการปวด
  • ปากกาบรรจุยาแก้แพ้ฉุกเฉินอย่าง อีพิเพน ซึ่งใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงสามารถใช้รักษาอาการแพ้เหล็กในผึ้งได้ และเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอีกครั้ง
  • คุณสามารถป้องกันการถูกผึ้งต่อยได้ โดยไม่เดินเท้าเปล่า ไม่อยู่ใกล้รังผึ้ง ไม่ฉีดน้ำหอมที่มีกลิ่นหอมหวาน ไม่เปิดหน้าต่างทิ้งไว้ แต่หากคุณถูกผึ้งต่อย ก็ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อป้องกันอาการแพ้เหล็กในผึ้ง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

เป็นที่รู้กันว่า ผึ้ง เป็นหนึ่งในแมลงที่ก่ออันตรายให้กับผู้ที่ถูกกัดต่อยได้ โดยอาการหลังถูกต่อยจะส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณจึงควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลหลังถูกผึ้งต่อยเอาไว้ 

เพื่อที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น คุณจะได้รู้ว่า ควรทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากพิษเหล็กในของผึ้งได้ และไปพบแพทย์ได้ทันเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการที่เกิดจากผึ้งต่อย

คนส่วนใหญ่ที่โดนผึ้งต่อย อาจมีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน ผิวบวม และแดงขึ้น เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอุ่น มีอาการคันที่บริเวณโดนต่อย แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น และจะหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน

แต่ในทางกลับกัน หากผู้ที่โดนผึ้งต่อยแพ้พิษจากเหล็กในของผึ้ง หรือถูกต่อยหลายตำแหน่ง ก็อาจถึงขั้นทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ประเภทหนึ่ง

โดยปกติ เมื่อถูกผึ้งต่อย เหล็กในของผึ้งจะปักอยู่ที่ผิวหนังของคุณ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผึ้งตัวนั้นตาย แต่สำหรับตัวต่อ แตน หรือแมลงมีพิษอื่นๆ ที่ไม่ได้ปล่อยเหล็กในออกมาพร้อมกับการต่อย จึงสามารถต่อยได้อีกหลายครั้ง

ผู้ที่มีอาการแพ้พิษจากเหล็กในของผึ้งอย่างรุนแรง (Severe Allergic Reaction) อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

หากคุณมีอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังผึ้งต่อย ให้เรียกรถฉุกเฉิน หรือติดต่อโรงพยาบาลโดยทันที เพื่อป้องกันปฏิกิริยาแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylactic Shock) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

การปฐมพยาบาลเมื่อโดนผึ้งต่อย

หากคุณไม่ได้แพ้ผึ้ง ก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ให้รีบนำเหล็กในที่ฝังอยู่ออกมาทันที โดยใช้ปลายเล็บ หรือขอบบัตรแข็งๆ เขี่ยออกมาแล้วใช้แหนบดึง ยิ่งนำเหล็กในออกได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดปริมาณสารพิษที่ปล่อยออกสู่ผิวของคุณให้น้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากนั้นให้ล้างบริเวณที่โดนต่อยด้วยสบู่ และน้ำสะอาด แล้วประคบเย็นเพื่อลดการดูดซึมของพิษเข้าสู่ร่างกาย และลดอาการบวม 

คุณอาจรับประทานยาต้านการอักเสบ เช่น Ibuprofen, diclofenac, mefenamic Acid เพื่อลดอาการบวมแดง หรือรักษาอาการคัน และผื่นแดงด้วยครีมไฮโดรคอร์ติโซน และโลชั่นคาลาไมน์ (Calamine) เพิ่มเติมได้

นอกจากนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ให้พยายามอย่าเกา หรือขูดบริเวณแผลที่โดนต่อย เพราะอาจทำให้เชื้อโรคจากเล็บ หรือผิวหนังเข้าไปที่แผล ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคัน บวม และแดงมากขึ้น

นอกจากการปฐมพยาบาลทางการแพทย์แล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่เป็นภูมิปัญญาสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งคุณสามารถนำมาทดลองใช้ได้เมื่อโดนผึ้งต่อย เช่น

  • น้ำส้มสายชู: แช่บริเวณที่โดนผึ้งต่อยลงในน้ำส้มสายชูอย่างน้อย 15 นาที หรือแช่ผ้าพันแผลในน้ำส้มสายชู แล้วนำไปพันในบริเวณที่โดนผึ้งต่อยก็ได้เช่นกัน
  • ยาแอสไพรินบดผสมน้ำ: เป็นหนึ่งในวิธีปฐมพยาบาลที่เป็นที่นิยมสำหรับการลดความเจ็บปวด และอาการบวมของผึ้งต่อย นำเม็ดยาแอสไพรินบดกับน้ำป้ายลงบนผิวหนังที่โดนผึ้งต่อย
  • สมุนไพรและน้ำมัน: สมุนไพรเหล่านี้มีคุณสมบัติในการสมานบาดแผล และอาจช่วยบรรเทาอาการปวดจากผึ้งต่อยได้ เช่น
    • ว่านหางจระเข้: ให้ตัดใบ และบีบเจลจากใบลงบนบริเวณที่โดนต่อยโดยตรง
    • ทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil): ก่อนอื่นให้คุณเจือจางน้ำมันทรีออยล์ด้วยน้ำมันทาตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก แล้วนำไปทาบริเวณที่โดนต่อย
    • เสลดพังพอนตัวเมีย (Clinacanthus Nutans): ใช้ใบสดตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผล หรือป้ายด้วยขี้ผึ้งเพื่อใช้บรรเทาอาการอักเสบ

แต่ถ้ามีอาการคัน และบวมรุนแรง ให้รับประทานยาแก้แพ้ เช่น Benadryl เพื่อช่วยบรรเทาอาการ 

ซึ่งหากเคยมีอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรงหลังจากที่เคยถูกผึ้งต่อยในอดีต คุณจำเป็นจะต้องพกยาแก้แพ้ฉุกเฉินซึ่งบรรจุยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) เอาไว้ มีลักษณะเป็นปากกาซึ่งเรียกได้อีกชื่อว่า "อีพิเพน (EpiPen)"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากโดนผึ้งต่อย เมื่อใดควรเข้าพบแพทย์

หากคุณมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน เช่น หายใจลำบาก เป็นลมพิษ หรือเวียนศีรษะ ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลมารับ แต่อย่าพยายามขับรถไปที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง เพราะพิษจากเหล็กในจะทำให้คุณไม่มีสติเพียงพอในการขับรถยนต์

และถึงแม้คุณได้ใช้ยา EpiPen ภายหลังจากโดนผึ้งต่อยแล้ว และอาการดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอีกครั้ง

วิธีการป้องกันการถูกผึ้งต่อย

หากคุณจะไปเดินป่า หรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ ควรทำตามวิธีต่างๆ เหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงของการถูกผึ้งต่อย

  • ไม่เดินเท้าเปล่า
  • ไม่ยุ่งกับรังผึ้ง
  • ไม่ใส่น้ำหอมที่มีกลิ่นหอมหวาน
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผม หรือผิวพรรณที่มีกลิ่นหอมหวาน
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสเกินไป 
  • คลุมปิดอาหารของคุณ
  • ไม่ขับรถเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ตลอดเวลา

ผึ้งเป็นแมลงอันตรายที่คุณอยู่ให้ห่างไว้จะดีที่สุด นอกจากนี้ หากคุณเห็นผึ้งที่บินตอมแก้วใส่น้ำหวานตามร้านขายน้ำ ก็ควรยืนให้ห่าง และควรเปลี่ยนไปอุดหนุนร้านขายน้ำร้านอื่นที่ชงน้ำสะอาด ไม่มีผึ้งบินตอมแทนเพื่อความปลอดภัย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jenna Fletcher, Eight home remedies for bee stings (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322907.php), 29 August 2018
Annette McDermott, Home Remedies for Bee Stings: What Works? (https://www.healthline.com/health/outdoor-health/home-remedies-for-bee-stings#other-treatments), 18 November 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป