ยา Furosemide

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Furosemide

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Furosemide ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Dirine, Femide, Furetic, Furide, H-Mide, Lasix, Dema, Frusemide, Frusil, Fudirine, Furine 40, Furomed, Furomide, Furozide, Fuseride, Fusesian, Hawkmide, Lasiven, Prosix, T P Furosemide

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Furosemide

ฟูโรซีไมด์ (furosemide) เป็นยากลุ่ม ยาขับปัสสาวะ ยาสำหรับรับประทาน ยาเม็ดประกอบด้วยฟูโรซีไมด์ ขนาด 40 มิลลิกรัม และรูปแบบยาฉีด ขนาด 10 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Furosemide

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ฟูโรซีไมด์ เป็นยาขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียม และคอลไรด์ โดยเฉพาะบริเวณส่วน medullar ของ loop of Henle ขาขึ้น เพิ่มการขับออกของโพแทสเซียมและแอมโมเนีย ลดการขับกรดยูริก เพิ่มการทำงานของเรนิน (renin) นอร์อีพิเนปฟริน (norepinephrine) และความเข้มข้นของอาร์จินีน-วาโสเพรสซิน (arginine-vasopressin) ในพลาสมา

ข้อบ่งใช้ของยา Furosemide

ยาฟูโรซีไมด์ ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการบวมน้ำที่เกี่ยวข้องกับหัวใจล้มเหลว ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 40 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจะลดขนาดเป็น 20 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือ 40 มิลลิกรัม วันเว้นวัน ในบางกรณี อาจให้ขนาด 80 มิลลิกรัม หรือมากกว่า ต่อวันโดยแบ่งรับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ ขนาดเริ่มต้น 20 มิลลิกรัม ค่อยเพิ่มขนาดยาหากจำเป็น

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 40-80 มิลลิกรัม ใช้แบบเดี่ยวหรือร่วมกับยารักษาความดันโลหิตสูงชนิดอื่น

ยาฟูโรซีไมด์ ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการปอดบวมน้ำแบบเฉียบพลัน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 40 มิลลิกรัม ฉีดเข้าช้าๆเป็นเวลา 1-2 นาที หากไม่มีการตอบสนองการขับปัสสาวะออกที่เพียงพอภายใน 1 ชั่วโมง อาจเพิ่มขนาดยาได้เป็น 80 มิลลกรัม โดยฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลา 1-2 นาที

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Furosemide

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Furosemide

  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาฟูโรซีไมด์ และผู้ป่วยที่แพ้ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide)
  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต หรือขับปัสสาวะไม่ได้
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรค addison’s disease
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีของเหลวในร่างกายต่ำ หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเกาท์
  • ยามีความเสี่ยงการเกิดพิษต่อหูหากได้รับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำด้วยอัตราเร็วเกินไป
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต และโรคตับ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Furosemide

อาจก่อให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ความดันต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ผื่นแพ้ยาแบบ Steven-Johnson syndrome ตับอ่อนอักเสบ agranulocytosis thrombocytopenia

ข้อมูลการใช้ยา Furosemide ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category D คือ ไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Furosemide

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Furosemide: medicine to treat high blood pressure (hypertension) and oedema. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/furosemide/)
Furosemide - Side Effects, Dosage, Uses & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/furosemide-oral-tablet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป