กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ภกญ. สุภาดา ฟองอาภา เภสัชกรหญิง
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ภกญ. สุภาดา ฟองอาภา เภสัชกรหญิง

Clonazepam (โคลนาซีแพม)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ยา Clonazepam (โคลนาซีแพม) เป็นยากันชักชนิดหนึ่ง (Anticonvulsant) ที่ใช้สำหรับป้องกันและควบคุมอาการชัก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาคลายกังวล (Anxiolytic) และรักษาอาการตื่นตระหนก (Panic attacks) โดยจะออกฤทธิ์ไปทำให้สมองและระบบประสาทสงบมากขึ้น 

ยา Clonazepam จัดเป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) หนึ่งในกลุ่มยานอนหลับและยาคลายเครียดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีผลข้างเคียงน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ริโวทริล (Rivotril®), โคลนาริล (Clonaril®), โพวานิล (Povanil®), คอนวอลซิล (Convolsil®), พรีนาร์พริล (Prenarpil®) และ โคลโนพิน (Klonopin®)

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Clonazepam

ยาเม็ดรับประทาน (Tablet) มี 3 ขนาด ประกอบด้วยโคลนาซีแพมขนาด 0.5, และ 2 มิลลิกรัม

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 4 ลำดับที่ 11 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 โดย ห้ามมิให้มีการขายเว้นแต่ได้รับอนุญาต ยกเว้นกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง สาขาทันตกรรม ขายให้แก่เฉพาะคนไข้ของตน

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Clonazepam

  • ยา Clonazepam มีฤทธิ์ลดการส่งกระแสประสาทในมอเตอร์คอร์เทกซ์ (Motor cortex) ซึ่งช่วยหยุดการขัดขวาง (Spike) ของคลื่นสมองในโรคลมชัก ชนิดเหม่อ (Absence seizure)
  • มีความเชื่อว่ากลไกการออกฤทธิ์ของยา Clonazepam เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเพิ่มการทำงานของกาบา (GABA) ในทางคลินิก
  • ยา Clonazepam ใช้รักษาโรคลมชักเฉพาะที่ (Focal epilepsy) และลมชักทั้งตัว (Generalized seizure)

ข้อบ่งใช้ของยา Clonazepam ในการรักษาอาการต่างๆ

ข้อบ่งใช้ในการรักษาอาการชักชนิดภาวะชักต่อเนื่อง (Status Epilepticus: SE) แบบฉุกเฉิน

  • ใช้ยา Clonazepam ชนิดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 1 มิลลิกรัม ครั้งเดียว ฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ โดยไม่ฉีดในอัตราเร็วเกินกว่า 2 มิลลิกรัมต่อนาที อาจให้ยาซ้ำหลังจากให้ยาครั้งแรกหากจำเป็น ขนาดยาสูงสุดคือ 20 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะแพนิก (Panic)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ใช้ยา Clonazepam ชนิดยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 0.25 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 0.5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 4 มิลลิกรัม หรือตามแพทย์สั่ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคลมชัก

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่

  • ขนาดเริ่มต้น 1 มิลลิกรัม ก่อนนอน เป็นเวลา 4 วัน ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาในช่วง 2-4 สัปดาห์
  • ขนาดยาในการควบคุมคือ 4-8 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 20 มิลลิกรัม

ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  • ขนาดเริ่มต้น 0.5 มิลลิกรัม ก่อนนอนเป็นเวลา 4 วัน

ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หรือน้ำหนักต่ำกว่า 30 กิโลกรัม

  • ขนาดเริ่มต้น 0.01-0.03 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 0.2 มิลลิกรัมต่อวัน
  • แบ่งให้ยา 2-3 ครั้งต่อวัน อาจเพิ่มขนาดยาได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 0.25-0.5 มิลลิกรัมต่อสามวัน จนกว่าจะสามารถควบคุมอาการชักได้
  • ขนาดยาในการควบคุม 0.1-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Clonazepam

  • หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ด โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน
  • ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานเม็ดถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Clonazepam

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือปัญหาปอดอื่นๆ
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG)
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Sleep apnea)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยต้อหินมุมเปิด
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคผีดูดเลือด หรือที่เรียกว่า โรคโพรพีเรีย (Porphyria)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติเสพติดแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย
  • ยานี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความคิดฆ่าตัวตาย
  • ไม่แนะนำให้หยุดยานี้ทันที
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Clonazepam

  • อาจก่อให้เกิดอาการเซ มึนงง ง่วงซึม มีปัญหาด้านพฤติกรรม การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนอ่อนแรง
  • ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ อาการซึมเศร้า ความคิดฆ่าตัวตาย

การได้รับยา Clonazepam เกินขนาด

  • หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Clonazepam เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง หรือแม้ยังไม่มีอาการ ให้รีบเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันที โทร 1669
  • อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่ ง่วงนอนอย่างรุนแรง สับสน หมดสติ หายใจลำบาก ปฏิกิริยาการตอบสนองช้าลง หรือลดลง

การใช้ยา Clonazepam ร่วมกับยาอื่น

ยา Clonazepam อาจเกิดปฏิกิริยาเมื่อใช้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ 

  • แอลกอฮอล์
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ยานอนหลับ
  • ยาในกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น บิวพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine)
  • ยาที่มีฤทธิ์เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 บางชนิด (Selected CYP3A4 inducers)
  • ยาที่ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 อย่างแรง (Strong CYP3A4 inhibitors)
  • ยาโคลซาปีน (Clozapine)
  • ยาฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) เป็นยาในกลุ่มยากันชัก
  • ยาไพรมิโดน (Primidone) เป็นยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการชัก
  • ยาที่ใช้รักษาอาการผิดปกติของอารมณ์ ได้แก่ MAOIs, ยารักษาอาการซึมเศร้า TCAs และ Phenothaizides
  • ยาไซเมทิดีน (Cimetidine)

หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้อยู่ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ รวมถึงรายการยาอื่นๆ อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิด ที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อมูลการใช้ยา Clonazepam ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Pregnancy Category D* คือ ไม่แนะนำการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

ห้ามใช้ยาในสตรีให้นมบุตร เนื่องจากยาสามารถผ่านจากน้ำนมแม่สู่ทารกได้

คำเตือนในการใช้ยา Clonazepam

การรับประทานยา Clonazepam ร่วมกับยาในกลุ่มโอปิออยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก รวมถึงการเสียชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว แพทย์จะให้คุณรับประทานยา Clonazepam ในขนาดยาต่ำที่สุดที่ยังให้ผลการรักษาที่ดีกับคุณ และให้รับประทานเป็นเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่ หายใจช้า หายใจตื้น เวียนศีรษะผิดปกติ ง่วงนอนอย่างรุนแรง เวียนศีรษะอย่างรุนแรง และตื่นนอนยาก

ข้อมูลการเก็บรักษายา Clonazepam

  • ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ห่างจากแสงแดด และความชื้น
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
  • เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุ หรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก

หมายเหตุ: *Pregnancy Category D: การศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ พบว่ามีหลักฐานที่แสดงว่ายามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ ของทารกในครรภ์ แต่อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น ยาที่ใช้ในภาวะช่วยชีวิต หรือยาที่ใช้รักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่มียาอื่นที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ)


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
PRODUCT MONOGRAPH RIVOTRIL® clonazepam 0.5 mg and 2 mg Tablets (https://www.rochecanada.com/content/dam/rochexx/roche-ca/products/ConsumerInformation/MonographsandPublicAdvisories/Rivotril/Rivotril_PM_CIE.pdf), 18 มกราคม 2018
Clonazepan oral tablet (https://www.healthline.com/health/clonazepam-oral-tablet#take-as-directed Medically reviewed by University of Illinois-Chicago, Drug Information Group on February 12, 2018 — Written by University of Illinois-Chicago, Drug Information Group), 12 กุมภาพันธ์ 2018
ตารางแสดงการแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ประทศไทย (http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/List_of_Narcotic/PHYCHO_list_25.04.2019.pdf), 25 เมษายน 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)