อายุของยา

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อายุของยา

ยาเกือบทุกชนิดมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน ยาที่เก็บไว้นานเกินไป หรือถูกแสงแดด หรือถูกความร้อนหรือถูกความชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สารเคมีในยาเปลี่ยนแปลง มีผลทำให้ฤทธิ์ยาลดลงหรือยาหมดฤทธิ์ การใช้ยาที่หมดอายุ ไม่เพียงแต่ใช้รักษาไม่ได้ผลเท่านั้น ยายังเป็นเสมือนสารพิษ ดังนั้นผู้ที่ได้รับยาหมดอายุจึงอาจถึงแก่ความตายได้ การตรวจดูวันหมดอายุของยาและลักษณะยาหมดอายุจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก 

ลักษณะยาที่หมดอายุ จำแนกเป็นประเภทต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ยาปฎิชีวนะ
    • Gentamicin เป็นยาฉีด ปกติจะเป็นน้ำใส ไม่มีสี หากน้ำยาขุ่นหรือเปลี่ยนสีไปจากเดิม แสดงว่ายาหมดอายุ
    • Penicillin G Sodium เป็นยาฉีดชนิดผง ปกติเมื่อผสมน้ำจะได้น้ำยาใส ไม่มีสี ดังนั้นหากผสมยาแล้วได้น้ำยาขุ่น หรือมีตะกอน แสดงว่ายาหมดอายุ
    • Penicillin V เป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน หากเก็บไว้นานๆ หรือถูกแสงแดดมากๆ จะพบว่าสีของยาเปลี่ยนแปลง แสดงว่ายาเสื่อมหรือหมดอายุ
    • Tetracyclin ผงยาบรรจุอยู่ในแคปซูล หากแกะแคปซูลออกแล้ว พบว่าผงยาเป็นสีเหลืองเข้มหรือคล้ำ หรือดำ (ปกติผงยาเป็นสีเหลือง) แสดงว่ายานั้นหมดอายุ
  2. ยาเม็ด ยาเม็ดไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดธรรมดาหรือยาเม็ดเคลือบ หากมีสีเปลี่ยนไปจากเดิมหรือเปียกชื้น หรือเม็ดยาแตกหักไม่ครบเม็ด ไม่ควรนำมาใช้ เพราะยาจะออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ หรืออาจได้รับพิษจากยาง่ายขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    • Aspirin หากเปียกชื้น หรือสีเปลี่ยนไป อาจทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารได้ง่ายกว่าปกติ
    • Nitroglycerin หากเก็บยานี้ไว้นาน หรือถูกแสงแดด ทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ จะพบว่าเมื่ออมยาแล้วจะไม่รู้สึกซ่าๆ ที่โคนลิ้น ดังนั้นหลังจากให้ผู้ป่วยอมยาใต้ลิ้นแล้ว ควรถามผู้ป่วยทุกครั้งว่ารู้สึกซ่าๆ ที่โคนลิ้นหรือไม่ หากอมแล้วไม่รู้สึกซ่าๆ ที่โคนลิ้น แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพ
  3. ยาน้ำ ยาน้ำอาจเป็นยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาขับเสมหะ ยาน้ำวิตามิน ยาเหล่านี้มีสีแตกต่างกัน เช่น สีเขียว สีส้ม สีเหลือง เป็นต้น ดังนั้น จึงสังเกตได้ง่าย โดยสังเกตจากสีของยา เมื่อใดที่ยามีสีเปลี่ยนไปจากเดิม หรือตกตะกอน แสดงว่ายาเหล่านั้นหมดอายุ
    • สำหรับยาน้ำแขวนตะกอน (Suspensions) เช่น ยาลดกรด ยาแก้ท้องเสีย ยาช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น หากเขย่าแล้วตะกอนไม่กระจายตัว แสดงว่ายาหมดอายุ
    • สำหรับยาน้ำแขวนละออง (Emulsions) เช่น ยาระบายที่มีน้ำมันผสม เป็นต้น หากเขย่าแล้วมีการแยกชั้นของน้ำกับน้ำมัน ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อไป
  4. ยาฉีด ยาฉีดต่างๆ หากเก็บไว้นานจะหมดอายุและเกิดอันตรายได้เช่นกัน Sodium nitroprusside ยานี้เสื่อมคุณภาพได้ง่ายมากเมื่อถูกแสงแดดหรือเก็บไว้นานและเมื่อยานี้เสื่อมคุณภาพ สารเคมีของยาจะเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ซึ่งมีอันตรายมากต่อร่างกาย ทำให้ตายได้ในเวลารวดเร็ว ดังนั้นการใช้ยานี้จึงต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก ตั้งแต่การเตรียมยา ผงยาจะต้องเก็บไว้ในช่องเย็นแข็ง (Freezer) เมื่อผสมยาในสารน้ำเพื่อหยดเข้าหลอดเลือดดำ ขวดน้ำเกลือและสายน้ำเหลือจะต้องหุ้มผ้าไม่ให้ถูกแสงแดด ยาที่ผสมแล้วจะต้องใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง หากใช้ไม่หมดต้องทิ้งและการใช้ยานี้กับผู้ป่วยมักจะใช้ไม่เกิน 3 วัน ถ้าเกินกว่านี้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับพิษจากไซยาไนด์ได้
  5. ยาหยอดตา ยาหยอดตาทุกชนิด เมื่อเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ในที่เย็น (4 องศาเซลเซียส) และใช้ภายใน 1 เดือน หากใช้ไม่หมดต้องทิ้งเพราะยาเมื่อทำให้เกิดอันตรายได้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ยาหยอดตาของผู้ป่วยคนไหนก็ใช้กับผู้ป่วยคนนั้นคนเดียว ไม่ควรใช้ร่วมกันเพราะอาจเกิดการติดเชื้อข้ามถึงกันได้

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 medications that can cause problems in older age. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/5-medications-that-can-cause-problems-in-older-age)
How old do you have to be to buy medicine?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/childrens-health/what-age-can-children-buy-over-the-counter-otc-medicines/)
How Age Increases the Risk for Medication Side Effects. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/age-increases-risk-for-medication-side-effects-1123957)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป