กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาหารสำหรับคนเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาหารสำหรับคนเป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาหารไฟเบอร์สูงจะช่วยป้องกันโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบได้จริงหรือ

สำหรับคนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ การป้องกันการอักเสบที่แสนจะเจ็บปวดของ diverticula (ถุงเล็กๆ ที่ก่อตัวขึ้นในระบบทางเดินอาหาร) นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงการเกิดการอักเสบที่แน่ชัด แพทย์บางท่านก็เชื่อว่าการทานอาหารไฟเบอร์สูงอาจช่วยได้

ไฟเบอร์กับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าสาเหตุแรกๆ ของการเกิด diverticula คือ การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำเกินไป การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้คนในทวีปแอฟริกาและเอเชียซึ่งทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นปกติอยู่แล้วนั้น แทบจะไม่ได้รับการบาดเจ็บจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่เลย ไฟเบอร์หรือวัตถุดิบที่เป็นพืชมีบทบาทสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร การทำให้อุจจาระนิ่มและช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ได้ราบรื่นมากกว่า

การขาดไฟเบอร์จะทำให้มีอาการท้องผูก ซึ่งทำให้อุจจาระแข็งขึ้นและเคลื่อนผ่านได้ลำบากกว่า ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่มีความเครียด และเนื่องจากปกติแล้ว diverticula จะก่อตัวขึ้นในบริเวณที่กล้ามเนื้อทางเดินอาหารมีความรัดหรืออ่อนแอ อาการท้องผูกอาจพัฒนาส่วนของ diverticula มากขึ้นไปอีกก็เป็นได้เพราะการท้องผูกทำให้เกิดความดันขึ้นในลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ diverticula ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ได้ ทำให้มีอาการเจ็บป่วยที่เรียกกันว่า ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

อาหารสำหรับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

จากงานวิจัยหลายๆ ที่กล่าวว่า การทานอาหารไฟเบอร์สูงมากเกินไปก็ทำให้เกิดโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ได้เพราะไฟเบอร์เหล่านั้นไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานหนักขึ้น ปริมาณอาหารมีไฟเบอร์ที่เหมาะสมคือ 20 ถึง 30 กรัมต่อวัน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทที่คุณได้รับตามธรรมชาติจากอาหารที่คุณรับประทาน นั่นคือ

  • เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (soluble fiber)
  • เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำไม่ได้ (insoluble fiber)

Soluble fiber เป็นเส้นใยที่ละลายในน้ำได้ สร้างเมือกที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนและมีขนาดใหญ่ ทำให้อุจจาระเลื่อนผ่านลำไส้ไปได้อย่างง่ายดาย ส่วน Insoluble fiber จะช่วยขับของเสียผ่านระบบทางเดินอาหารโดยการดูดซึมน้ำและเพิ่มปริมาณของอุจจาระ อาหารที่มีพืชผักต่างๆ เป็นส่วนประกอบหลักส่วนใหญ่นั้นมีทั้งเส้นใยอาหารแบบที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ แต่ถึงอย่างนั้น อาหารบางชนิดก็มีเส้นใยบางชนิดมากกว่า

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับเส้นใยอาหารทั้งสองชนิดอย่างเพียงพอ คุณควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและเต็มไปด้วยไฟเบอร์ ได้แก่

  • ซีเรียล : ข้าวสาลีหยองและรำข้าวโพด
  • ธัญพืช : กากรำข้าว (bran flakes) พาสตาแบบโฮลวีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง
  • ขนมอบ : มัฟฟินรำข้าว ขนมปังธัญพืช
  • ถั่ว : ถั่วลันเตาแห้ง ถั่วเลนทิล (lentils) ถั่วดำ ถั่วลิมา (lima beans)
  • ผัก : อาร์ติโชค (artichokes) ถั่ว บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี แครอท
  • ผลไม้ : ราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ อะโวคาโด ลูกแพร์ แอปเปิ้ล(มีเปลือก)
  • ผลไม้แห้ง : ลูกพรุน ลูกเกด
  • ถั่วและเมล็ดพืช : ถั่วลิสง ข้าวโพดคั่ว

เพราะอาหารที่มีไฟเบอร์สูงมีวิตามินและสารอาหารอื่นๆ มากมาย อาหารประเภทนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่คุณจะได้รับไฟเบอร์จากการทานอาหาร แต่ถ้าการต้องจำกัดอาหารการกินทำให้คุณไม่ได้รับไฟเบอร์ที่จำเป็นต่อร่างกายของคุณแล้วล่ะก็ แพทย์อาจให้คุณทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไฟเบอร์แทน

ไซเลียม (Psyllium) ซึ่งมีอยู่ในยาระบายอย่างเมตามูซิลหรือคอนซิล เป็นไฟเบอร์อีกหนึ่งชนิด ซึ่งยาชนิดนี้จะขายเป็นผงหรือน้ำ เป็นเม็ด แค็ปซูล หรือแผ่นเวเฟอร์ โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเมทิลเซลลูโลส (Methylcellulose) เป็นหลัก อย่าง Citrucel จะขายในแบบเป็นผงหรือเม็ด

เป็นเวลาหลายมีแล้วที่แพทย์ได้แนะนำให้คนที่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบหยุดกินถั่ว เมล็ดพืช หรือป็อปคอร์น เพราะเชื่อว่าอาหารเหล่านี้จะไปบล็อกช่องของ diverticula และไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของถุงผนังลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยก็ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นแต่อย่างใดว่าการกินอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มความเสี่ยงให้กับการเกิดโรคดังกล่าว และแพทย์ก็ไม่ได้แนะนำให้หยุดกินอาหารที่ว่าอีกต่อไป

การป้องกันโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่

ยังมีวิธีการอีกมากมายที่ช่วยให้คุณมีระบบย่อยอาหารที่ดีและป้องกันการก่อาตัวของ diverticula ในลำไส้ได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสีแดงที่มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันเพราะจะทำให้ลำไส้อุดตันและส่งผลให้อาการถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบแย่ลงได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • เลิกสูบบุหรี่ (สิงห์นักสูบเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAID  
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • รักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  • ตอบสนองต่อลำไส้

การใช้ยาประเภท NSAIDs อย่างแอสไพริน นาพร็อกซิล และอิบูโพรเฟ่น มีส่วนต่อการมีเลือดออกของ diverticular น้ำ คือ สิ่งที่จำเป็นต่อการทานอาหารไฟเบอร์สูงเพื่อช่วยให้อาหารดังกล่าวทำงานได้อย่างเหมาะสม ถ้าคุณไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ คุณอาจจะท้องผูกเอาได้ ท้ายที่สุด การอั้นอุจจาระก็ทำให้อุจจาระแข็งและเพิ่มความตึงเครียดต่อกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เป็นโรคลำไส้ใหญ่ได้นั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diverticular disease and diverticulitis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/Diverticular-disease-and-diverticulitis/)
Diverticulitis Diet: What to Eat for Better Management. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-to-eat-for-diverticulosis-1944730)
Diverticulitis: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/152995)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป