กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Dichlorphenamide (ไดโคลเฟนาไมด์)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ไดโคลเฟนาไมด์ (Diclophenamide) เป็นยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คาร์บอนิกแอนไฮเดรส (Carbonic anhydrase inhibitor; เอนไซม์ที่เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นไบคาร์บอเนตไอออน และกรดคาร์บอนิก) มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะอัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemic periodic paralysis) หรือโพแทสเซียมในเลือดสูงเกิน (Hyperkalemic periodic paralysis) โดยโรคดังกล่าวมีสาเหตุจากการทำงานของช่องไอออนที่ผิดปกติบนเซลล์ ทำให้การแลกเปลี่ยนไอออนผิดปกติ ส่งผลไปสู่การส่งสัญญาณของระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยพบร่วมกับระดับของโพแทสเซียมที่ผิดปกติ และอาการจะหายไปเมื่อระดับโพแทสเซียมเข้าสู่ระดับปกติ อาการอาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรังได้ นอกจากนี้แล้วยายังมีข้อบ่งใช้ในการรักษาต้อหินมุมเปิดเช่นกัน เนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์ที่สามารถลดระดับความดันในลูกตาได้

กลไกการออกฤทธิ์ของยาในการรักษาภาวะอัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดผิดปกตินั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สำหรับการรักษาโรคต้อหินมีหลักฐานสนับสนุนว่า ยากลุ่มต้านการทำงานของเอนไซม์คาร์บอนิกแอนไฮเดรส ทำงานโดยลดการหลั่งของน้ำในช่องลูกตา (Aqueous humor)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาไดโคลเฟนาไมด์ได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้ดังกล่าว และมีวางจำหน่ายในต่างประเทศโดยใช้ชื่อการค้า Keveyis® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม สำหรับประเทศไทยยังไม่มีตัวยาไดโคลเฟนาไมด์วางจำหน่ายในท้องตลาด

ข้อบ่งใช้ของยา Dichlorphenamide

  • รักษาภาวะอัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดผิดปกติ
  • โรคต้อหินมุมเปิด

ขนาดและวิธีการใช้ยา Dichlorphenamide

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะอัมพาตเป็นระยะจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำหรือสูงเกิน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาดเริ่มต้น 50 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง จากนั้นให้ปรับขนาดยาตามผลการรักษาและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยาโดยให้ติดตามอาการทุกสัปดาห์ (หรืออาจน้อยกว่า 1 สัปดาห์หากยังพบว่าผู้ป่วยแสดงอาการของโรคอยู่) ขนาดการใช้ยาสูงสุด คือ 200 มิลลิกรัม โดยหลังจากอาการของผู้ป่วยเริ่มคงที่หลังให้ยา ให้ประเมินอาการอีกทุกๆ 2 เดือน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาต้อหินมุมเปิด  ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบเม็ดรับประทาน ขนาดยาเริ่มต้น 100 – 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น ปรับขนาดยาระยะคงการรักษาเป็น 25-50 มิลลิกรัม วันละ 3 หรือ 4 ครั้ง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา Dichlorphenamide 

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไดคลอเฟนาไมด์ ได้แก่ 

  • ท้องผูก 
  • ภาวะความผิดปกติของการรับประทานอาหารโดยทำให้อยากรับประทานอาหารน้อยลง (anorexia
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • น้ำหนักตัวลดลง 
  • ปัสสาวะบ่อย 
  • นิ่วในไต 
  • ปวดศีรษะ 
  • อ่อนแรง 
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ 
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 
  • ง่วงซึม ซึมเศร้า 
  • สับสน มึนงง 
  • รู้สึกเหมือนมีของแหลมทิ่มบริเวณมือ เท้า ลิ้น (paresthesia) จากการกดทับของระบบประสาท  

ข้อควรระวังของการใช้ยา Dichlorphenamide

  • ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category B ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ยาค่อนข้างมีควรปลอดภัยกับทารกในครรภ์
  • ยังไม่มีข้อมูลการใช้ยานี้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร จึงควรพิจารณาใช้ยาเมื่อพิจารณาแล้วว่าจะเกิดประโยชน์จากการใช้ยามากกว่าความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจได้รับ
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยา หรือมีการแพ้ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจระดับรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับบกพร่อง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) ในขนาดสูง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ภาวะบกพร่องของพฤติกรรมการกิน (Anorexia) หายใจเร็ว ซึม และอาการโคม่า ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย (Metabolic acidosis) 
  • ยานี้อาจทำให้ระดับของโพแทเซียมในกระแสเลือดต่ำ เมื่อใช้ไดคอลเฟนาไมด์ร่วมกันกับยาขับปัสสาวะกลุ่มไทอะไซด์ (Thiazide) ยาระบาย (Laxative) ยาต้านเชื้อรา ยากลุ่มเพนนิซิลลิน (Penicillin) และทีโอฟิลลีน (Theophylline)
  • ควรมีการติดตามระดับโพแทสเซียมและไบคาร์บอเนตในผู้ป่วยเป็นระยะ ระหว่างที่ใช้ยานี้ในการรักษา

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
RxList, KEVEYIS® (dichlorphenamide) (https://www.rxlist.com/keveyis-drug.htm#description), 2019.
MPR The right dose of information, KEVEYIS® (https://www.empr.com/drug/keveyis/), 2019.
Carl P. Weiner, Drugs for Pregnant and Lactating Women, ELSEVIER, page 213-214, 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)