ตรวจเบาหวานทำอย่างไร? รู้ลึกทุกขั้นตอน พร้อมวิธีเตรียมตัว

ตรวจก่อน สบายใจก่อน เพราะเบาหวานรักษาไม่หายแต่จะทำลายระบบต่างๆ ของร่างกายทีละน้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ตรวจเบาหวานทำอย่างไร? รู้ลึกทุกขั้นตอน พร้อมวิธีเตรียมตัว

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากพันธุกรรมแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเสี่ยงๆ คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัวจึงไม่ได้รับการรักษาและควบคุมอาการอย่างถูกต้อง  บางรายกว่าจะรู้ตัวก็อาจอาการหนักแล้ว หรือมีภาวะแทรกซ้อน 

ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ทุกคนสามารถดูแลตนเองได้แต่เนิ่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รู้จักโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เพราะมีความผิดปกติเกี่ยวกับอินซูลิน โดยอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินเท่าที่ควร ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปตลอดด้วยการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ งดอาหารที่มีไขมันและแป้งสูงเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ชนิดของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

มักพบในเด็กและในผู้ใหญ่อายุน้อย สาเหตุเกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงมักพบผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกัน โรคเบาหวานชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเท่านั้น

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พบได้มากกว่าเบาหวานชนิดอื่นๆ ในอดีตโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบได้ในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น มักเกิดร่วมกับโรคอ้วน หรือภาวะโภชนาการเกิน เบาหวานชนิดนี้รักษาได้ด้วยยารับประทาน แต่บางรายอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นในหญิงบางรายที่ตั้งครรภ์และมักหายไปได้เองหลังจากคลอด แต่ก็มีบางรายที่พัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลัง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่พบว่า ไม่ใช่เบาหวานขณะตั้งครรภ์แต่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 

ใครบ้างที่ควรตรวจเบาหวาน 

การตรวจคัดกรองเบาหวานนั้นมีประโยชน์เพราะจะช่วยให้พบโรคได้เร็ว ทำให้แพทย์วางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคตได้ดี ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนในกลุ่มต่อไปนี้เข้ารับการตรวจเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวาน

  • หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลดลง
  • กระหายน้ำบ่อยๆ
  • ปัสสาวะมากและบ่อย
  • คันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • อ่อนเพลีย
  • ตาพร่ามัว
  • ติดเชื้อบ่อยๆ
  • เป็นแผลแล้วรักษายาก

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดเบาหวาน

  • มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
  • อายุ 19-44 ปี มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอื่นๆ อย่างน้อย 1 ปัจจัย
  • เด็กอายุ 10-18 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน และมีปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำหนักแรกคลอดน้อย มารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงข้ออื่นๆ
  • มีพ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน
  • หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ 
  • หญิงที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • ผู้ที่อ้วนมากโดยเฉพาะอ้วนลงพุง 
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ 
  • มีลักษณะที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน

ตรวจเบาหวานทำได้กี่วิธี มีการเตรียมตัวอย่างไร

ในการตรวจเบาหวานและภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) แพทย์จะตรวจจากค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting plasma glucose: FPG) หรือค่าระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ในบางกรณีอาจมีการตรวจค่าระดับน้ำตาลกลูโคสที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (Random plasma glucose: RPG) ร่วมด้วย 

การตรวจเบาหวานแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG)

ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร หรือค่า FPG จะช่วยบอกระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ณ เวลาที่ทำการเจาะเลือด ผู้ที่เข้ารับการตรวจนี้จะต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลตรวจมีความแม่นยำ ผลจะแม่นยำที่สุดเมื่ออดอาหารตอนกลางคืนและตรวจเลือดในตอนเช้า แต่หากกระหายก็สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย

การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C)

ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือค่า HbA1C จะช่วยบอกระดับน้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ค่า HbA1C อาจเรียกอีกอย่างว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C) 

ในการตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร แต่หากต้องใช้ค่านี้สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน แพทย์จะพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ และดูว่า มีภาวะโลหิตจางหรือไม่ เพราะค่า HbA1C จะไม่แม่นยำในผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ค่า HbA1C ที่ตรวจได้จะแสดงผลเป็นร้อยละ (%) เช่น HbA1C = 7% เป็นต้น ยิ่งค่า % สูง ยิ่งหมายถึงมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง

การตรวจระดับน้ำตาลที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (RPG)

แพทย์อาจพิจารณาตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือค่า RPG หากผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานและไม่อยากรอเวลาการงดอาหาร เพราะการตรวจนี้ไม่ต้องอดอาหาร และสามารถตรวจได้ทุกเวลาที่ต้องการ

การทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose challenge test)

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ แพทย์อาจใช้การทดสอบนี้เป็นอันดับแรกในการตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยจะให้ดื่มสารละลายกลูโคสเข้มข้น 50 กรัม และเจาะเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง การทดสอบนี้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากผลการตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลกลูโคสสูงอยู่ที่ 135-140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือสูงกว่านั้น จะต้องได้รับการตรวจอีก 1 อย่างเพื่อยืนยัน คือ การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคสซึ่งจะต้องงดอาหารมาก่อน

การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral glucose tolerance test; OGTT)

การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคสจะทำในผู้ที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดครั้งที่ 1 เมื่อคุณมาถึงโรงพยาบาล จากนั้นจะให้ดื่มสารละลายกลูโคสเข้มข้น 100 กรัม และทำการเจาะเลือดซ้ำในชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 หลังจากดื่มสารละลายนี้

หากพบระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงอย่างน้อย 2 ครั้งจากการเจาะเลือดทั้งหมด ได้แก่ หลังอดอาหาร 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง หรือ 3 ชั่วโมงหลังดื่มสารละลาย หมายความว่า คุณเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถใช้การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคสเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนเป็นเบาหวานในคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ได้ด้วย การทดสอบนี้จะช่วยให้ตรวจพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ดีกว่าการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าและทำได้ยากกว่า 

ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไรจึงจะบอกว่า เป็นโรคเบาหวาน หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน

การตรวจเบาหวานแต่ละวิธีจะมีเกณฑ์ในการตัดสินว่า เป็นโรคเบาหวาน หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวานต่างกันไป โดยทั่วไปหากใช้การตรวจชนิดเดียวเพื่อวินิจฉัย จะต้องมีการตรวจซ้ำในวันที่ 2 เพื่อยืนยันผลการตรวจด้วย หรือแพทย์อาจพิจารณาเลือกการตรวจเบาหวานด้วย 2 วิธีควบคู่กันก็ได้

เกณฑ์การตรวจเบาหวานสำหรับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

การวินิจฉัย

ค่าระดับน้ำตาลสะสม (A1C) (%)

ค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร (FPG)

การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (OGTT)

ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลาใดๆ (RPG)

ปกติ

ต่ำกว่า 5.7

น้อยกว่า หรือเท่ากับ 99

น้อยกว่า หรือเท่ากับ 139

 

เป็นภาวะก่อนเป็นเบาหวาน

5.7-6.4

100-125

140-199

 

เป็นโรคเบาหวาน

ตั้งแต่ 6.5 ขึ้นไป

ตั้งแต่ 126 ขึ้นไป

ตั้งแต่ 200 ขึ้นไป

ตั้งแต่ 200 ขึ้นไป

*ค่า FPG, OGTT และ RPG มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคเบาหวานชนิดใด

นอกจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 แล้ว ยังมีโรคเบาหวานอีกชนิดที่พบน้อยมากในเด็กคือ โรคเบาหวานชนิดโมโนเจนิก (Monogenic diabetes) ซึ่งมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ หรือแม่ หรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเฉพาะบุคคลก็ได้ ซึ่งอาจทำให้สับสนกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้

แม้ว่าการทดสอบต่างๆ ข้างต้นจะช่วยยืนยันว่า เป็นโรคเบาหวาน แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า คุณเป็นโรคเบาหวานชนิดใด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพราะการรักษาโรคเบาหวานจะขึ้นกับชนิดของโรคเบาหวานที่เป็น 

การตรวจหาว่า เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือไม่ แพทย์จะตรวจหาสารออโต้แอนติบอดี้ (Autoantibodies) ในร่างกาย สารนี้เป็นสารภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย (ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง) เนื่องจากมีสารออโต้แอนติบอดี้หลายชนิดที่มีความจำเพาะกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ไม่จำเพาะกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และชนิดโมโนเจนิก

กรณีที่คุณเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณควรได้รับการตรวจเบาหวานซ้ำใน 6-12 สัปดาห์หลังจากคลอดลูกแล้ว เพื่อดูว่า เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือไม่ 

ตรวจเบาหวานที่ไหนได้บ้าง?

ปัจจุบันสถานพยาบาลหลายแห่งมีบริการตรวจเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คลินิก หรือแม้แต่สถานอนามัยใกล้บ้านคุณ แต่เพื่อความแน่ใจควรโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นราคา หรือวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ เพราะสถานพยาบาลบางแห่งอาจไม่มีบริการตรวจเบาหวานครบทุกวิธี

เปรียบเทียบราคาตรวจเบาหวานแต่ละโรงพยาบาล

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
มิตรไมตรีคลินิก
(ตรวจเบาหวานขั้นพื้นฐาน)
รพ.กรุงเทพ รพ.เทพธาธินทร์







(เบาหวาน เบาใจ)
รพ.พญาไท
(คัดกรองเบาหวาน
ดาวน์ซินโดรม และธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์)
ซักประวัติและตรวจร่างกาย - ตรวจเลือดอย่างละเอียดสำหรับฝากครรภ์ครั้งแรก 11 รายการ







- พบแพทย์ตลอดการตั้งครรภ์ (ไม่เกิน 12 ครั้ง)







- ตรวจความเสี่ยงดาวน์ซินโดรม (Quadruple test)







- ตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย (Hb Typing)







- ตรวจสุขภาพแม่ตั้งครรภ์







- ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Nonstress test (NST)







- อัลตร้าซาวด์ 2D US, OB (3ครั้ง)







- อัลตร้าซาวน์ทารกในครรภ์ (Anomaly)







- รับวิตามิน/ยาบำรุง







- ฉีดวัคซีนบาดทะยัก 2 เข็ม







- เจาะเลือดตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์







- ตรวจโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อเฝ้าระวังภาวะเบาหวาน
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c)
ตรวจระดับไขมันในเลือด







(Triglyceride, Cholesterol, HDL, LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ (ALT)
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ







(Micro Albumin in Urine)
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
เอ็กซเรย์ปอด (CXR)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง (ABI)
ตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย







(Body Composition)
ราคา 699 3,700 4,200 28,000

*ราคาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง และอาจยังไม่รวมค่าแพทย์ หรือค่ายา

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมโรคได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันเป็นอันตรายต่อชีวิตตามมา ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ตาบอด ไตเสื่อม ปลายประสาทถูกทำลาย ดังนั้นหากตรวจพบเร็ว ยิ่งมีโอกาสรับการรักษาเร็วเท่านั้น  


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The American Academy of Family Physicians, Diabetes Mellitus: Screening and Diagnosis (https://www.aafp.org/afp/2016/0115/p103.html), 15 January 2016
Michael Dansinger, Type 2 Diabetes Screening (https://www.webmd.com/diabetes/type-2-diabetes-screening#2)
American Diabetes Association Diabetes Care, Screening for Diabetes (https://care.diabetesjournals.org/content/25/suppl_1/s21), January 2002

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)