ภาวะขาดน้ำ อันตรายแค่ไหน? อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะขาดน้ำ อันตรายแค่ไหน? อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์?


ภาวะขาดน้ำ คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบไหลเวียนรวมถึงอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ทางเดินอาหาร เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึงสองในสามส่วน ซึ่งน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด ซึ่งไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ รวมถึงทำหน้าที่รักษาสมดุลเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติ นอกจากนี้น้ำในร่างกายยังต้องสมดุลกับสภาวะเกลือแร่ด้วย

สัญญาณเตือนระยะแรกของภาวะขาดน้ำมีดังนี้

  • รู้สึกกระหายน้ำและมึนงง
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะออกน้อย มีสีเข้ม และกลิ่นแรง

สำหรับเด็กทารกที่มีภาวะขาดน้ำ จะมีอาการดังนี้

  • เกิดจุดบุ๋มบนกระหม่อมหน้า
  • เมื่อร้องไห้มีน้ำตาไหลออกน้อย หรือไม่มีเลย
  • ปัสสาวะใส่ผ้าอ้อมน้อยลง
  • ง่วงนอน

โดยอาการของภาวะขาดน้ำขึ้นอยู่กับความรุนแรง หากรุนแรงมากก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

สาเหตุของภาวะขาดน้ำ

สาเหตุของภาวะขาดน้ำที่พบบ่อยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. การสูญเสียน้ำ โดยอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • สูญเสียน้ำทางปัสสาวะ เช่น ภาวะเบาหวานที่ทำให้มีการปัสสาวะมากผิดปกติจากน้ำตาลในเลือดสูง การใช้ยาขับปัสสาวะ
  • สูญเสียน้ำทางทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง หรืออาเจียนในปริมาณมาก
  • สูญเสียน้ำทางเหงื่อ จากการออกกำลังกาย หรือจากการมีไข้สูง  

2. การได้รับน้ำเข้าร่างกายไม่เพียงพอ หรือดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยกว่าร่างกายต้องการ

ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำบ้าง?

ไม่ว่าใครก็สามารถประสบกับภาวะขาดน้ำได้ แต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ได้แก่

เด็กทารก  เนื่องจากมีน้ำหนักน้อย และมีความอ่อนไหวต่อภาวะขาดน้ำ แม้จะสูญเสียน้ำในปริมาณที่น้อยก็ตาม

ผู้สูงอายุ:  เนื่องจากมีความตื่นตัวน้อยต่อการดูแลตนเองด้วยการดื่มน้ำมากๆ

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพระยะยาว: เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือติดแอลกอฮอล์

นักกีฬา:  คนกลุ่มนี้จะมีการสูญเสียน้ำในรูปแบบของเหงื่อในปริมาณมากเนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการของภาวะขาดน้ำต่อเนื่อง แม้จะดื่มน้ำในปริมาณมากแล้ว หรือในกรณีที่ลูกหรือเด็กทารกเกิดภาวะขาดน้ำ หากแพทย์คาดการณ์ว่าคุณอยู่ในภาวะขาดน้ำ คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ เพื่อดูสมดุลของเกลือแร่ (โซเดียมและโพแทสเซียม) ในร่างกาย

ให้ติดต่อเรียกแพทย์หรือโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • กระหายน้ำรุนแรง
  • รู้สึกอ่อนเพลียผิดปรกติ หรือสับสน
  • ไม่ปัสสาวะเลยเป็นเวลาแปดชั่วโมงขึ้นไป
  • หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว
  • วิงเวียนศีรษะเมื่อลุกขึ้นยืน และอาการยังคงอยู่เป็นเวลาหลายวินาที

คุณควรติดต่อแพทย์ทันทีหากลูกของคุณมีอาการท้องร่วงหกครั้งหรือมากกว่าในช่วง 24 ชั่วโมง หรืออาเจียนสามครั้งหรือมากกว่าภายในเวลา 24 ชั่วโมง

อาการของภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำสามารถเกิดขึ้นอย่างไม่รุนแรง ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรงมากได้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักร่างกายที่เสียไปเนื่องจากการหายไปของของเหลว

สัญญาณเตือนคือความกระหายน้ำและปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ร่างกายพยายามสื่อถึงความต้องการน้ำและบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำนั่นเอง

อาการอื่น ๆ ของภาวะขาดน้ำมีดังนี้:

  • วิงเวียนหรือมึนศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • เหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย
  • ปาก ตา และริมฝีปากแห้ง
  • ปัสสาวะน้อยผิดปกติ (น้อยกว่าสามถึงสี่ครั้งต่อวัน)

ภาวะขาดน้ำสามารถทำให้หมดเรี่ยวแรงได้ ซึ่งสาเหตุหลักคือภาวะเพลียแดด สามารถแก้ไขได้โดยการดื่มน้ำให้มาก

หากว่าคุณประสบกับปัญหานี้ต่อเนื่องหรือเรื้อรัง จะส่งผลไปยังการทำงานของไตและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต อีกทั้งยังส่งผลต่อความเสียหายของกล้ามเนื้อและท้องผูกได้อีกด้วย

ภาวะขาดน้ำรุนแรง

หากปล่อยให้เกิดภาวะขาดน้ำเป็นเวลานาน อาจพัฒนาจนกลายเป็นภาวะร้ายแรงได้ จนนับเป็นเหตุฉุกเฉินซึ่งต้องเข้ารับการรักษาในทันที โดยคุณต้องรีบติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากแพทย์หรือโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือสับสน และคุณคาดว่าอาจเป็นเพราะการขาดน้ำ
  • วิงเวียนขณะลุกขึ้นยืนและอาการวิงเวียนยังคงอยู่นานกว่าปกติ
  • ไม่ปัสสาวะเป็นเวลาแปดชั่วโมง
  • ชีพจรเบา
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • มีอาการชัก
  • มีระดับความรู้สึกตัวน้อยลง หรือเริ่มซึม

หากไม่รีบทำการรักษาภาวะขาดน้ำรุนแรง จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ซึ่งระดับของความรุนแรงนี้จำต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับสารน้ำทางเส้นเลือด

การรักษาภาวะขาดน้ำ

วิธีรักษาภาวะขาดน้ำที่ดีที่สุดคือการเติมน้ำเข้าร่างกายด้วยการดื่มน้ำมากๆ ซึ่งควรจะเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้เจือจาง การดื่มน้ำหวานจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่สูญเสียไปได้ ส่วนการรับประทานขนมคบเคี้ยวเค็มๆ จะสามารถชดเชยเกลือที่หายไปได้

เด็กเล็ก

หากว่าลูกน้อยของคุณขาดน้ำ คุณต้องพาพวกเขาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยแพทย์จะสามารถจัดการรักษาตามความเหมาะสมไปตามกรณี คุณต้องคอยป้อนนมให้เด็กดื่ม ซึ่งจะดีที่สุดหากคุณป้อนให้พวกเขาดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง แทนการให้พวกเขาดื่มหมดภายในครั้งเดียว

ห้ามเจือจางนมผงลงด้วยการเติมน้ำ และเด็กที่สามารถรับประทานอาหารแข็งได้แล้วหรือเด็กที่สามารถดื่มนมผงได้แล้วสามารถดื่มน้ำเปล่าเพิ่มได้

ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำผลไม้แก่เด็ก โดยเฉพาะหากพวกเขาท้องร่วงอยู่ เพราะว่าอาจทำให้อาการแย่ลงได้

คุณสามารถให้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) แก่เด็กได้ด้วยการหยดเข้าปากทีละน้อย ร่วมกับการให้อาหารพวกเขาตามปกติ (น้ำนม นมผง หรือน้ำเปล่า) การทำเช่นนี้จะช่วยชดเชยทั้งของเหลว เกลือ และน้ำตาลที่หายไปได้

เด็กและทารก

เด็กและทารกที่ประสบกับภาวะขาดน้ำไม่ควรดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากน้ำที่เพิ่มเข้าไปอาจไปเจือจางระดับแร่ธาตุในร่างกายที่ต่ำอยู่แล้วให้ลดลงไปอีก ซึ่งจะทำให้อาการทรุดลง คุณควรให้น้ำผลไม้เจือจางหรือ ORS แบบพิเศษแก่พวกเขาแทน

ถ้าคุณหรือลูกของคุณไม่สามารถดื่มน้ำได้เนื่องจากมีการอาเจียนต่อเนื่อง ให้ใช้วิธีจิบน้ำทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สำหรับเด็กเล็ก คุณสามารถใช้ช้อนหรือหลอดฉีดยาในการป้อนได้

ผงน้ำตาลเกลือแร่

เมื่อคุณประสบกับภาวะขาดน้ำ คุณจะเสียน้ำตาลกับเกลือไปพร้อมกับน้ำ การดื่มน้ำเข้าไปจะช่วยให้คุณปรับสมดุลของเหลวในร่างกายให้กลับไปสู่สภาวะปกติ โดยคุณควรผสมสารละลายที่เป็นส่วนผสมของโพแทสเซียม เกลือโซเดียม และกลูโคสเข้าไปด้วย

ตามท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นผงน้ำตาลเกลือแร่มากมายที่คุณหรือลูกสามารถใช้ได้ โดยคุณสามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดได้

การป้องกันภาวะขาดน้ำ

คุณควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยปกติแล้วคนทั่วไปต้องการน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 8 แก้วน้ำมาตรฐาน โดยขึ้นกับสภาวะร่างกายและสภาพแวดล้อมด้วย หากวันที่มีอากาศร้อนหรือต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน รวมถึงการออกกำลังกายที่มีการสูญเสียเหงื่อ จะต้องดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ

อาการที่ไม่รุนแรงจะบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำและน้ำผลไม้เจือจางมากๆ และหากจำเป็นคุณสามารถหาซื้อผงเกลือแร่ละลายน้ำ (ORS) มาใช้ได้ คุณสามารถสังเกตสัญญาณเตือนภาวะขาดน้ำได้ด้วยการสังเกตสีของปัสสาวะว่าเข้มหรือไม่


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.นพ.ธเนศ ชัยสถาผล ภาควิชาอายุรศาสตร์, อันตรายภาวะขาดน้ำ (http://www.si.mahidol.ac.th/th...)
William Blahd, MD, What is Dehydration? What Causes It? (https://www.webmd.com/a-to-z-g...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)