เด็กทารกแรกเกิดชอบมองอะไรมากที่สุด

เด็กทารกก็มีสิ่งที่ชอบมองและจับจ้องเช่นกัน อ่านพฤติกรรมการมอง การสังเกตของเด็กทารก
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เด็กทารกแรกเกิดชอบมองอะไรมากที่สุด

เคยสงสัยไหมว่าเด็กทารกแรกเกิดเขาสามารถมองเห็นได้ไกลแค่ไหน และเด็กทารกชอบมองอะไรเป็นพิเศษ เรามีผลการวิจัยที่จะบอกได้ว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถมองเห็นได้แค่ไหน และพวกเขาชอบมองอะไร

หลังจากที่ทารกได้คลอดออกมาแล้ว โดยปกติเด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะ 8-12 นิ้ว และสามารถจ้องมองสิ่งต่างๆ ค้างได้นานประมาณ 4-10 วินาที แต่การพัฒนาของการมองเห็นของลูกนั้นจะสามารถลำดับขั้นได้ดังนี้

ทารกแรกเกิดสามารถจดจำหน้าพ่อแม่ได้ภายใน 4 วันหลังคลอด พออายุ 1 เดือน เด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ และมือเริ่มจะขยับเอื้อมไปสัมผัสกับวัตถุที่มองเห็น เมื่อทารกอายุ 3 เดือนเริ่มแยกแยะระยะใกล้ไกลได้และจะสามารถปรับการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือน

คำถามยอดฮิต - เด็กทารกชอบมองอะไรมากที่สุด

มีผลการวิจัยจาก Dr. Robert Fantz (1961) และ Dr. Renée  Baillargeon (1991)  
นักวิจัยด้านพฤติกรรมทารก ท่านได้ศึกษาเรื่องเด็กทารกชอบมองอะไรและได้ทดสอบจนได้ผลที่น่าสนใจดังนี้

  1. เด็กทารกชอบมองใบหน้าของพ่อแม่ที่แสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน เพราะเวลาที่เด็กทารกมองนั้น เด็กจะมองจ้องที่ดวงตาของพ่อและแม่ เพราะรอยยิ้มและแววตาที่อ่อนโยนของพ่อแม่นั้นสร้างความอบอุ่นใจให้กับทารก
  2. เด็กทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่งๆ
  3. เด็กทารกชอบมองวัตถุที่มีสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำตัดกับสีขาว
  4. เด็กทารกชอบมองวัตถุ 3 มิติมากกว่า 2 มิติ

เราจะส่งเสริมพัฒนาระบบการมองเห็นของลูกได้อย่างไร

เทคนิคง่ายๆ ที่พ่อแม่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้มีดังนี้

  1. พยายามมองที่หน้าลูกบ่อยๆ เพราะดวงตาของคนจะมีขนาดกลมและมีการตัดกันที่ชัดเจนระหว่างตาขาวและตาดำ และที่สำคัญคือดวงตาสามารถกลอกไปมาได้
  2. เปลี่ยนตำแหน่งที่ลูกนอนบ้าง เพื่อให้ทารกได้เห็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
  3. หาภาพใบหน้าพ่อแม่มาวางไว้ใกล้ๆ ที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกได้เห็นและจดจำหน้าได้เร็วขึ้น
  4. แขวนวัตถุประเภท 3 มิติ เช่น โมบายไม้ นกกระดาษ ฯลฯ ในจุดที่เด็กทารกสามารถมองเห็นและเอื้อมมือหยิบได้
  5. พยายามเล่นกับลูกบ่อยๆ อาจจะให้ลูกมองตัวเองในกระจกพร้อมกับพูดคุยกับลูกไปด้วย

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พญ.นัยนา ณีศะนันท์, คู่มือสําหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี (http://www.thaipediatrics.org/...)
Margaret Harris and George Butterworth 2002, Developmental Psychology: A Student's Handbook (https://books.google.co.th/boo...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)