ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมหลายคนเกิดมาพร้อมภาวะแทรกซ้อนด้านอื่น ๆ ด้วย ทั้งปัญหาโรคหัวใจ ทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน การมองเห็น การได้ยินรวมถึงสามารถเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ไวกว่าคนปกติ

เด็กบางคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ร่วมกับความผิดปกติดังกล่าวน้อยมาก แต่ในขณะที่คนอื่น ๆ อาจประสบกับภาวะทางสุขภาพที่เป็นบ่อยหลายโรคและจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บุตรของท่านมักต้องเข้ารับการตรวจจากกุมารแพทย์บ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาทางการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเร็วที่สุด หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพของบุตรหลานของคุณให้พูดคุยกับแพทย์ประจำตัวหรือกุมารแพทย์ของบุตรหลานของคุณ

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับดาวน์ซินโดรม มักได้แก่:

ปัญหาโรคหัวใจ

ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กดาวน์ซินโดรมเกิดมาพร้อมกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ชนิดของความบกพร่องของหัวใจที่มักส่งผลต่อเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม คือ โรคผนังกั้นหัวใจรั่วซึ่ง หมายถึงภาวะที่เกิดช่องในกำแพงที่แยกห้องหัวใจออกเป็นสี่ห้อง ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็น "รูรั่วในหัวใจ"

ความผิดปกติดังกล่าวอาจทำให้เกิดการสะสมของเลือดขังอยู่ในห้องหัวใจบางห้องมากเกินไป ซึ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดโลหิตได้ดังเดิม

หากบุตรหลานของคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นดาวน์ซินโดรม พวกเขาจะได้รับการตรวจประเมินเรื่องหัวใจอย่างละเอียดเพื่อตรวจหาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและรับมือโดยเร็วที่สุด หากพบปัญหาก็มักทำการรักษาด้วยการผ่าตัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัญหาโรคทางเดินอาหาร

ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารร่วมด้วย ที่มักพบบ่อยได้แก่ อาการท้องผูก ท้องเดิน และท้องอืดรวมถึงการอุดตันของลำไส้ซึ่งอุดตันและกันไม่ให้อาหารสามารถผ่านจากกระเพาะอาหารเข้าไปในลำไส้ใหญ่ได้เลย

เด็กบางคนยังเป็นโรคแพ้กลูเตน (coeliac disease) ได้อีกด้วยซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้และอาการไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับสารกลูเตนเข้าไปและ เด็กหลายคนอาจเกิดการขย้อนหรือแหวะนม (reflux) ออกมาระหว่างดูดนมหรือหลังจากนั้นไม่นาน

ภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ภาวะไม่มีรูทวารหนักแต่กำเนิด (imperforate anus) หรือลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung's disease) แม้จะเป็นโรคที่พบได้ยากมากในคนทั่วไปก็สามารถพบได้บ่อยในเด็กดาวน์ซินโดรมเช่นกัน

ปัญหาการได้ยิน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักมีปัญหาในการได้ยิน หลายคนมักจะเป็นเพียงชั่วคราว แต่บางคนก็อาจจะเป็นถาวร

ภาวะที่มีน้ำขังอยู่หลังแก้วหู (Glue ear) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของปัญหาการได้ยินแบบชั่วคราวในผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

หากบุตรหลานของคุณมีน้ำขังอยู่หลังแก้วหู พวกเขามักถูกส่งต่อให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก (ENT) เพื่อทำการตรวจประเมินผลต่อไป สำหรับเด็กบางคน ภาวะดังกล่าวสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเล็ก โดยทำการวางท่อระบายขนาดเล็กที่เรียกว่า grommets ในหูเพื่อช่วยระบายของเหลวออกจากหูชั้นกลาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัญหาด้านการมองเห็น

หลายคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมยังมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และมักต้องสวมแว่นตา

ปัญหาสายตาที่พบบ่อย ได้แก่ :

  • สายตาสั้น - ภาพเบลอเมื่อมองภาพไกล
  • สายตายาว - ภาพเบลอเมื่อมองภาพใกล้
  • ตาเหล่
  • การติดเชื้อในตา เช่น โรคตาแดง ม่านตาอักเสบ เปลือกตาอักเสบ
  • ต้อกระจก (cataracts) - เลนส์แก้วตาที่อยู่หลังม่านตาเกิดการขุ่นมัว
  • ตากระตุก (nystagmus) – การที่ลูกตาขยับซ้ายขวาเองอย่างควบคุมไม่ได้
  • โรคกระจกตาย้วย (keratoconus) - ภาวะที่กระจกตาซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของด้านหน้าของลูกตาบางลงและป่องย้วยออกมา
  • โรคต้อหิน (glaucoma) - ความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น

ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

ประมาณหนึ่งในสิบของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่อยู่ในลำคอและมีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญหรืออัตราการใช้พลังงานของร่างกายคุณผ่านการปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่ร่างกาย

ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ของพวกเขามักเป็นชนิดไฮโปไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน อาการของภาวะนี้ ได้แก่:

  • อาการง่วงซึมเนื่องจากขาดพลังงาน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น อ้วนขึ้น
  • การตอบสนองทางร่ายกาย หรือสมองช้าลง

ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มักถูกตรวจพบได้โดยการตรวจเลือด และทำการรักษาด้วยยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายที่ขาดไป

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น บ่อยขึ้น เช่น โรคปอดบวมจากการติดเชื้อ เพราะระบบภูมิคุ้มกันหรือการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายไม่ได้มีพัฒนาการอย่างถูกต้องเหมาะสมเช่นเดียวกับคนทั่วไป

โดยปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทำการฉีดวัคซีนเด็กตามกำหนดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และอาจฉีดวัคซีนอื่นเพิ่มเติมเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี

หากบุตรหลานของคุณมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียก็จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำการรักษา

ภาวะสมองเสื่อม

ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีแนวโน้มในการเกิดภาวะสมองเสื่อมในช่วงวัยที่น้อยกว่าประชากรทั่วไป โดยมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตามเพราะทุกคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมสุดท้ายแล้วก็จะเกิดภาวะสมองเสื่อมเช่นเดียวกันหมด

สัญญาณที่พบได้ของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับความจำระยะสั้น ปัญหาในการทำความเข้าใจ ความสับสน และความมึนงง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/downs-syndrome#complications


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Other health conditions. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/downs-syndrome/other-health-conditions/)
Down Syndrome Clinical Presentation: History, Physical Examination, Complications. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/943216-clinical)
Complications Linked to Down Syndrome. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/down-syndrome/complications-health-problems/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป