กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เปรียบเทียบ ประเภทของบุหรี่ บุหรี่ ซิก้าร์ บุหรี่ไฟฟ้า

ซิการ์ บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ จริงหรือ?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 13 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เปรียบเทียบ ประเภทของบุหรี่ บุหรี่ ซิก้าร์ บุหรี่ไฟฟ้า

อย่างที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ผู้สูบบุหรี่หลายคน จึงพยายามมองหา วิธีเลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ซึ่งมีทั้งวิธีหักดิบ ไม่สูบเลย ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยาก จึงพยายามมองหาตัวเลือกอื่นๆ หรือประเภทของบุหรี่ ชนิดต่างๆ ที่คิดว่าน่าจะช่วยทดแทนการสูบบุหรี่ได้และเป็นอันตรายน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปสูบซิการ์ หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน แต่จริงๆ แล้ว 2 ตัวเลือกนี้อันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่จริงหรือ วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้ว

ประเภทของบุหรี่ ซิการ์ บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ จริงหรือ?

หากเทียบจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซิการ์ และบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ผู้ที่สูบบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะนิยมสูดควันเข้าปอด ในขณะที่การสูบซิการ์ 75% ของผู้สูบมักอมควันไว้ในปาก จากพฤติกรรมนี้คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าการสูบซิการ์น่าจะส่งผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่า แต่จริงๆ แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากงานวิจัยในปี 2010 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ R. Graham Barr แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระบุว่า การสูดควันยาสูบไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ซึ่งผลการวิจัยโดยแบบสอบถามและการตรวจปอด พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย แต่สูบซิการ์ คะแนนการทดสอบการทดสอบการทำงานของปอดต่ำกว่าเกณฑ์และมีโอกาสที่จะเกิดการอุดตันของอากาศมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง เท่า

นอกจากนี้ปริมาณใบยาสูบและปริมาณของสารพิษในซิการ์ ยังมากกว่าบุหรี่หลายเท่า โดยปริมาณยาสูบในบุหรี่ขนาดมาตรฐานมีน้อยกว่า 1 กรัม ส่วนซิการ์มีหลายขนาด โดยมีปริมาณยาสูบตั้งแต่ 1 – 20 กรัม

ทั้งนี้ยังพบอีกว่าในซิการ์มีไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสูงมาก และยังมีปริมาณทาร์ หรือน้ำมันดินในปริมาณที่สูงกว่าบุหรี่ รวมทั้งมีสารพิษจากการเผาไหม้สูงกว่าด้วย เนื่องจากห่อซิการ์มีรูพรุนน้อยกว่า ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เท่าบุหรี่ (การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ต้องใช้อากาศ) ส่งผลให้ควันซิการ์มีปริมาณสารพิษเข้มข้นกว่าควันบุหรี่นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการสูบด้วยเช่นกัน เพราะผู้สูบซิการ์มักสูบไม่บ่อย ขณะที่ผู้สูบบุหรี่จัดๆ อาจสูบบ่อยถึงวันละ 30-40 มวนเลยทีเดียว

จากข้อมูลนี้อาจสรุปได้ว่า แม้จะสูบซิการ์ไม่บ่อย แต่ด้วยปริมาณของสารพิษที่มากกว่าบุหรี่หลายเท่า (ต่อการสูบ 1 ครั้ง) ซิการ์ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายไม่แพ้บุหรี่เช่นกัน

หลังจากทราบข้อมูลระหว่างบุหรี่ธรรมดากับซิการ์ไปแล้ว ลองมาดู รายละเอียดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งหลายคนคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการสูบบุหรี่กันบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้น คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าไอของบุหรี่ไฟฟ้ามีแค่ไอน้ำกับนิโคติน แต่จากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ยังมีสารอื่นๆ อีกมาก เช่น สารโพรพิลีนไกลคอล เมนทอล ไซโคลเฮกซานอล ไตรอะซิติน อนุพันธ์เบนซีน ตะกั่ว และสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม สารหนู และแคดเมียม

และงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า แม้ว่าไอของบุหรี่ไฟฟ้าจะมีสารพิษน้อยกว่าเมื่อเทียบกับควันบุหรี่ (โดยบุหรี่ทั่วไปประกอบไปด้วยสารพิษมากกว่า 7,000 ชนิด) แต่สารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็ก จึงสามารถเข้าสู่ปอดได้ลึกกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเซลล์ทางเดินหายใจในปอดและปอดส่วนลึกแน่นอน ซึ่งความเป็นพิษนั้นยังขึ้นอยู่กับปริมาณของเหลวและการแต่งกลิ่นที่แตกต่างกันด้วย

นอกจากนี้จากงานวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ Michael Blaha ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Johns Hopkins Ciccarone Center for the Prevention of Heart Disease ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าก็ทำให้เกิดการเสพติด ไม่ต่างจากบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติด ซึ่งสารนิโคตินนี้เองก็เป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจด้วย ที่สำคัญยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณสารพิษมากน้อยเพียงใด และมีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป

จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่า การสูบบุหรี่ ไม่ว่าประเภทของบุหรี่จะเป็นแบบใด ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งนั้น ทางที่ดีควรพยายามลดการสูบลง โดยปัจจุบันมีวิธีการเลิกบุหรี่มากมาย ที่หลายๆ คนทำตามแล้วสำเร็จ ลองทำตามกันดู เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของตัวเองและเพื่อคนที่คุณรัก


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO (2014), Electronic nicotine delivery systems: FCTC/COP/6/10 Rev.1 (PDF), Moscow: World Health Organization, Conference of the Parties to the WHO Framework Convention on Tobacco Control, Sixth session, 13–18 October 2014
Sullum, Jacob (27 August 2015), "Wacky British Idea: Why Not Tell The Truth About E-Cigarettes?", Forbes
Reuters Health. Cigar, pipe smoking may raise lung disease risk, too. https://www.reuters.com/article/us-pipe-smoking/cigar-pipe-smoking-may-raise-lung-disease-risk-too-idUSTRE61F4HG20100216. 17 February 2010.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป