ไข้หวัด (cold) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่จมูก คอ โพรงจมูก และทางเดินหายใจส่วนต้น หวัดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดและมักจะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์
อาการหลักของหวัดคือ:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สำหรับอาการที่รุนแรงนั้นมีทั้งไข้สูง ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ กระนั้นอาการเหล่านี้มักจะเป็นผลมาจากไข้หวัดใหญ่เสียมากกว่า
สิ่งที่คุณสามารถทำได้
ยังไม่มีวิธีรักษาหวัด แต่คุณก็สามารถดูแลตนเองได้ง่าย ๆ ที่บ้านดังนี้: พักผ่อน ดื่มน้ำให้มาก และทานอาหารให้ถูกหลักสุขภาพ ทานยาแก้ปวดต่าง ๆ เช่นพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนเพื่อลดไข้หรือความไม่สบายตัวลง ใช้สเปรย์หรือยาเม็ดแก้คัดจมูกเพื่อบรรเทาอาการจมูกตัน ลองวิธีกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ และอมลูกอมเมนทอล
ยาแก้ปวดกับยาแก้คัดจมูกหลายตัวสามารถซื้อได้จากร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาเหล่านี้สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุแล้วและผู้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัย แต่อาจไม่เหมาะกับเด็กทารก เด็กเล็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และผู้ที่กำลังใช้ยาบางประเภท ซึ่งคุณสามารถปรึกษาเภสัชกรได้หากไม่มั่นใจว่าคุณอยู่ในกลุ่มต้องห้ามหรือไม่
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
หากคุณหรือลูกคุณเป็นหวัด ก็ไม่จำเป็นต้องพาไปพบแพทย์เพราะหวัดส่วนมากจะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์
คุณควรไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อ:
- อาการของคุณเป็นต่อเนื่องนานกว่าสามอาทิตย์
- อาการของคุณทรุดลงกะทันหัน
- คุณหายใจลำบาก
- คุณเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากหวัด อย่างเช่นปวดหน้าอก หรือไอเอาเมือกเหนียวปนเลือดออกมา
อีกทั้งควรไปพบแพทย์หากว่าเด็กทารกหรือผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีภาวะเจ็บป่วยระยะยาวอย่างโรคปอดเกิดป่วยเป็นหวัดอยู่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หวัดแพร่กระจายได้อย่างไร?
โดยทั่วไปนั้น ผู้ป่วยหวัดจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ช่วงไม่กี่วันแรกที่แสดงอาการ ไปจนกว่าอาการทั้งหมดจะหายไป หมายความว่าผู้ป่วยส่วนมากจะแพร่เชื้อได้เป็นเวลาประมาณสองสัปดาห์
คุณสามารถรับเชื้อไข้หวัดได้จาก:
การสัมผัสสิ่งของหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนละอองสารคัดหลั่งและเอามือเปื้อนเชื้อไปสัมผัสใบหน้า จมูก หรือดวงตาของตนเอง
สัมผัสผิวหนังผู้ป่วยที่มีละอองสารคัดหลั่งอยู่ และเอามือเปื้อนเชื้อไปสัมผัสใบหน้า จมูก หรือดวงตาของตนเอง
สูดหายใจนำละอองของเหลวที่มีเชื้อไวรัสหวัดที่ปล่อยออกมาจากผู้ป่วยจากการจามหรือไอเข้าไป
ไข้หวัดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมากในกลุ่มคนที่ต้องสัมผัสร่างกายกัน อย่างเช่นครอบครัว และเด็กวัยเรียน อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นหวัดมากในช่วงฤดูหนาวซึ่งยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
จำนวนเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดไข้หวัดได้มีหลายชนิด ดังนั้นคุณสามารถป่วยเป็นหวัดจากเชื้อไวรัสหนึ่งตัว และกลับมาเป็นหวัดจากเชื้อไวรัสอีกตัวก็เป็นได้
คุณสามารถหยุดการแพร่ระบาดของไข้หวัดได้อย่างไร?
คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนง่าย ๆ ต่อไปนี้เพื่อช่วยป้องกันการระบาดของไข้หวัดได้:
- ล้างมือบ่อยครั้ง โดยเฉพาะก่อนสัมผัสจมูกหรือปากตนเอง และก่อนหยิบจับอาหาร
- จามและไอใส่กระดาษชำระ เพื่อป้องกันละอองที่เต็มไปด้วยไวรัสเข้าสู่อากาศ ซึ่งคุณต้องทิ้งกระดาษชำระนั้นทิ้งทันทีและล้างมือให้สะอาด
- ไม่ใช้ถ้วย ชาม จาน และอุปกรณ์ช้อนส้อมร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือของเล่นร่วมกับผู้ป่วย
มีคำแนะนำว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน C สังกะสี และสารสกัดจากกระเทียมสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อไข้หวัดได้ แต่หลักฐานที่มีก็ยังคงนับว่าไม่แน่นหนาพอ
อาการของไข้หวัด
อาการของไข้หวัดมักจะเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อไม่กี่วัน ดังนี้:
ส่วนอาการที่พบได้ไม่บ่อยของไข้หวัดคือ:
- มีไข้สูงประมาณ 37-39 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ
- ปวดหู: การปวดหูรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ประสาทรับรสกับกลิ่นหาย
- ระคายเคืองดวงตาเล็กน้อย
- รู้สึกถึงแรงดันในหูและใบหน้า
อาการเหล่านี้มักจะทรุดลงมากระหว่างวันแรกถึงวันที่สาม ก่อนจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเด็กที่มีอายุมากกับผู้ใหญ่มักจะมีอาการเหล่านี้คงอยู่ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ส่วนอาการไออาจจะคงอยู่นานประมาณสองหรือสามสัปดาห์
ไข้หวัดมักจะคงอยู่นานในเด็กที่อายุน้อยกว่าห้าปี หรือประมาณ 10 ถึง 14 วัน
ไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่?
เป็นการยากที่จะจำแนกว่าคุณป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ที่ร้ายแรงกว่านั้นเนื่องจากอาการต่าง ๆ มีความคล้ายกันมาก โดยความแตกต่างที่สังเกตได้มีดังนี้:
อาการของไข้หวัดใหญ่:
- เกิดขึ้นเร็วกว่า
- มักจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อ
- ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขณะดำเนินกิจกรรมตามปรกติ
อาการของไข้หวัด:
- ค่อย ๆ เกิดขึ้น
- มักจะส่งผลกับจมูกและลำคอของคุณ
- มีความรุนแรงน้อยทำให้คุณสามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปมาได้ดีพอจะทำงานต่อไป
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ไข้หวัดมักจะมีอายุสั้นและไม่รุนแรง ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ คุณสามารถทานยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาอาการอื่น ๆ และพักผ่อนให้มาก ๆ ที่บ้านของคุณก็เพียงพอต่อการรักษาหวัดให้หายดีแล้ว
คุณสามารถปรึกษาเภสัชกรหากต้องการคำแนะนำดูแลไข้หวัดที่บ้าน และคุณควรไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อ: อาการต่าง ๆ ยาวนานเกินกว่าสามสัปดาห์ อาการทรุดลงกะทันหัน คุณหายใจลำบาก คุณเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัด เช่นปวดหน้าอก หรือไอเอาเสมหะปนเลือดออกมา
คุณควรไปพบแพทย์หากว่าคุณกังวลกับอาการป่วยของลูกหรือผู้สูงอายุ หรือคุณมีภาวะสุขภาพระยะยาวอยู่ก่อนเช่นโรคปอด
การรักษาไข้หวัด
คุณสามารถจัดการกับอาการต่าง ๆ ของไข้หวัดได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ ซึ่งคุณควรจะเห็นผลภายใน 7 ถึง 10 วัน
คำแนะนำทั่วไป
ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไปจากเหงื่อและน้ำมูก
ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันต่ำ กากใยอาหารสูง รวมไปถึงผักและผลไม้สด
คุณอาจไม่อยากอาหารระหว่างที่มีไข้หวัด ซึ่งนับว่าเป็นอาการปรกติและควรจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ห้ามฝืนรับประทานอาหารเมื่อคุณไม่หิว
คุณสามารถทดลองยาและการรักษาต่อไปนี้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของคุณได้
ยาจากร้านขายยา
ยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการของไข้หวัดมีดังนี้:
- ยาแก้ปวด: อย่างเช่นพาราเซตตมอล และอิบูโพรเฟน ซึ่งช่วยลดปวดและไข้ได้
- ยาแก้คัดจมูก: ซึ่งช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกหรือจมูกตัน
- ยาลดไข้: เป็นยาที่มีส่วนผสมของยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูก
ยาเหล่านี้วางจำหน่ายตามร้านขายยาและสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ นับว่าเป็นกลุ่มยาที่ปลอดภัยต่อเด็กและผู้ใหญ่ แต่ก็อาจมีข้อจำกัดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางชนิด และผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาบางอย่างอยู่บ้าง
ก่อนใช้ยาให้อ่านคำแนะนำที่ฉลากยาทุกครั้งเพื่อหาปริมาณและขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ หากไม่มั่นใจว่ายาที่ใช้เหมาะกับลูกของคุณหรือไม่ คุณควรทำการปรึกษากับเภสัชกรก่อน
ยาแก้ปวด
พาราเซตตมอล และอิบูโพรเฟนสามารถบรรเทาอาการไข้และลดปวดได้ ยาแอสไพรินเองก็มีฤทธิ์เหมือนกันแต่มักไม่แนะนำกับการรักษาไข้หวัดธรรมดา และไม่ควรใช้แอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
หากลูกของคุณมีไข้หวัด ให้ใช้พาราเซตตามอลกับอิบูโพรเฟนในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่วงอายุผู้ใช้ (ยาน้ำ) และต้องอ่านคำแนะนำที่ฉลากยาก่อนใช้ทุกครั้ง
การใช้ยาพาราเซตตมอลและอิบูโพรเฟนพร้อมกันเพื่อบรรเทาไข้หวัดไม่เป็นที่แนะนำ และหากเป็นเด็กที่ใช้ยาสองประเภทพร้อมกันจะเป็นเรื่องไม่ปลอดภัย
พาราเซตตามอลและอิบูโพรเฟนมีส่วนผสมของยาแก้หวัดอยู่เล็กน้อย หากคุณต้องการใช้ยาแก้ปวดและยาลดไข้ ควรอ่านคำแนะนำของฉลากยาหรือสอบถามกับเภสัชกรก่อนเพื่อเลี่ยงการใช้ยาในขนาดที่สูงเกินพอดี
หากคุณกำลังตั้งครรภ์ พาราเซตตามอลจะเป็นยาที่ดีที่สุดในการรักษาอาการปวดและไข้ระดับอ่อนไปจนถึงปานกลาง
ยาแก้คัดจมูก
ยาแก้คัดจมูกเป็นได้ทั้งยาทาน ยาหยด หรือยาพ่นเข้ารูจมูก ยากลุ่มนี้จะช่วยทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้นด้วยการลดอาการบวมภายช่องจมูก
กระนั้นยากลุ่มนี้จะได้ผลเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และหากคุณใช้ยาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งอาทิตย์อาจทำให้อาการจมูกตันทรุดลงกว่าเดิมได้
ยาแก้คัดจมูกไม่แนะนำสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีนอกจากว่าแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ใช้ อีกทั้งยาแก้คัดจมูกก็ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือกำลังเข้ารับการรักษาบางประเภท
การรักษาอื่น ๆ
- การกลั้วคอและลูกอมเมนทอล ผู้ป่วยไข้หวัดบางรายจะสังเกตว่าการกลั้วคอด้วยน้ำเกลือและอมลูกอมเมนทอลสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและจมูกตันได้
- วาโปรับ ยาวาโปรับสามารถใช้กับเด็กเล็กและทารกให้พวกเขาหายใจสะดวกขึ้นได้ โดยการทาบริเวณหน้าอกและแผ่นหลังของพวกเขา แต่ห้ามทาบริเวณจมูกเพราะจะก่อความระคายเคืองและทำให้พวกเขาหายใจยากขึ้น
- น้ำเกลือล้างจมูก น้ำเกลือล้างจมูกที่เป็นยาหยดเข้าจมูกนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกในเด็กเล็กและทารกได้
- อาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ มีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีระหว่างช่วงที่เริ่มมีอาการไข้หวัดจะช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวจากหวัดให้เร็วขึ้น และยังช่วยลดความรุนแรงของอาการต่าง ๆ ได้
อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลักฐานมาสนับสนุนค่อนข้างน้อยว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน C จะมีประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว
การรักษาที่ไม่แนะนำ
การรักษาต่อไปนี้มักไม่แนะนำให้ใช้จัดการกับไข้หวัดเนื่องมาจากว่ายังขาดหลักฐานว่าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่น่าอภิรมย์มากมาย: การใช้ยาต้านฮิสตามีน ไซรัปและการรักษาสำหรับแก้ไอ การใช้ยาปฏิชีวนะ: เป็นยาที่ใช้ต้านแบคทีเรีย (ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส) การใช้ยาทางเลือก (complementary and alternative medicine - CAM) เช่นสมุนไพรเอกไคนาเชียกับยาสมุนไพรจีน
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด
ไข้หวัดมักจะหายไปโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา แต่อย่างไรก็ตามการติดเชื้อนี้ก็สามารถลุกลามเข้าไปในหน้าอก หู หรือโพรงจมูกของคุณได้
ภาวะไซนัสอักเสบเป็นการติดเชื้อที่โพรงอากาศภายในกระดูกแก้มและหน้าผากของคุณ โดยจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยไข้หวัดทั้งผู้ใหญ่และเด็กโตประมาณ 1 คนจากทุก ๆ 50 คน
อาการของไซนัสอักเสบมีดังนี้: กดเจ็บและเจ็บปวดรอบจมูก ดวงตา และหน้าผาก (ปวดศีรษะจากไซนัส) จมูกตันและคัดจมูก มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
กรณีส่วนมากอาการของไซนัสอักเสบจะหายไปเองโดยไม่จำต้องรับการรักษาใด ๆ แต่คุณควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการของภาวะนี้ยาวนานกว่าหนึ่งสัปดาห์และไม่ดีขึ้น หรือมีอาการทรุดลง
2.การติดเชื้อของหูชั้นกลาง
ภาวะหูชั้นกลางติดเชื้อเกิดขึ้นกับผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่าห้าปีประมาณหนึ่งจากห้าคน อาการของภาวะนี้มีดังนี้: ปวดหูรุนแรง มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ เช่นอาเจียนและหมดเรี่ยวแรง การได้ยินพร่องลง
ภาวะติดเชื้อภายในหูชั้นกลางส่วนมากจะหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ และการรักษาที่มีมักดำเนินการกับเด็กที่ประสบกับการติดเชื้อที่หูชั้นกลางซ้ำ ๆ เท่านั้น
3.การติดเชื้อในอก
ภาวะติดเชื้อในอกอย่างภาวะหลอดลมอักเสบและปอดบวมสามารถเกิดขึ้นหลังจากไข้หวัดได้เนื่องจากยังเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแออยู่อาการของภาวะติดเชื้อในอกมีทั้งอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ และหายใจสั้นภาวะติดเชื้อในอกที่ไม่รุนแรงจะหายเองภายในไม่กี่สัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ แต่คุณควรไปพบแพทย์หากว่า:
- อาการไอของคุณรุนแรง
- คุณมีไข้สูง
- คุณรู้สึกสับสนงุนงง
- คุณมีอาการเจ็บปวดในหน้าอก
- เสมหะของคุณปนเลือด
- คุณมีอาการต่าง ๆ ยาวนานกว่าสามสัปดาห์
ในกรณีนี้ คุณอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียภายในหน้าอกทำให้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
4.ไข้หวัดในเด็ก
เด็กเล็กสามารถเป็นหวัดได้บ่อยครั้งเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังคงพัฒนาอยู่ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณเป็นกังวลทุกครั้งเมื่อลูกน้อยล้มป่วย กระนั้นส่วนมากไข้หวัดมักจะไม่รุนแรงและจะหายไปเองภายในสองสัปดาห์
รายการต่อไปนี้คือคำถามที่พ่อแม่มักสอบถามเกี่ยวกับภาวะไข้หวัดของเด็ก
ไข้หวัดของลูกรุนแรงหรือไม่?
ไข้หวัดเป็นภาวะที่มักจะไม่รุนแรง กระนั้นเด็กเล็กก็อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมมากขึ้นได้ เช่นการติดเชื้อในหู
บางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาร้ายแรงอย่างภาวะปอดบวมขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องคอยดูแลควบคุมไข้หวัดของลูกน้อย
อะไรคือความแตกต่างระหว่างไข้หวัดของเด็กและผู้ใหญ่?
เด็กมักเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่สามารถป่วยเป็นไข้หวัดได้สองถึงสี่ครั้งต่อปี ส่วนเด็กจะสามารถป่วยได้ตั้งแต่ 8 ถึง 12 ครั้งต่อปี
อาการของไข้หวัดในกลุ่มคนทั้งสองจะคล้ายกันมากอย่างการมีจมูกตัน จาม และอาจมีไข้สูง
ไข้หวัดของเด็กส่วนมากจะหายเองโดยไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ แต่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าผู้ใหญ่
บางครั้งเด็กอาจจะประสบกับการติดเชื้อเล็กน้อยหลาย ๆ ครั้งภายในช่วงระยะเวลาห่างกันไม่มากจึงทำให้คุณรู้สึกว่าพวกเขาป่วยนานกว่าปกติ
คุณควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณควรไปพบแพทย์เมื่อ:
ลูกของคุณอายุต่ำกว่าสามเดือนและมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอายุระหว่างสามถึงหกเดือนและมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
อาการของลูกยาวนานกว่าสามอาทิตย์
ลูกมีอาการปวดหน้าอกหรือไอมีเสมหะปนเลือดออกมา: ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียในหน้าอกที่ต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ลูกมีอาการหายใจลำบาก: ซึ่งต้องพาพวกเขาไปพบแพทย์ในทันที
พวกเขามีหรืออาจมีอาการปวดหูรุนแรง (เด็กทารกที่มีอาการปวดหูจะชอบขยี้หูของพวกเขาและดูฉุนเฉียว): ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในหูที่ต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
พวกเขาเริ่มมีอาการที่น่าเป็นห่วงต่าง ๆ
เหตุใดแพทย์ผู้ดูแลจึงไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ?
ยาปฏิชีวนะมีเพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย ส่วนไข้หวัดเกิดมาจากเชื้อไวรัสทำให้ไข้หวัดไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
การใช้ยาปฏิชีวนะมากไปจะทำให้เชื้อดื้อยา และทำให้การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น
แพทย์มักจะจ่ายยาปฏิชีวนะแก่เด็กเมื่อพวกเขาเริ่มมีสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียนอกจากไข้หวัด
คุณสามารถทำอะไรเพื่อช่วยลูกของคุณได้บ้าง?
คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยลูกรับมือกับอาการของไข้หวัด:
ดูแลให้ลูกพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ : ถ้าไม่ใช่น้ำธรรมดาก็ควรเป็นน้ำอุ่น ๆ
หากพวกเขามีอาการคัดจมูก คุณสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ด้วยการยกศีรษะพวกเขาขึ้นสูงด้วยการยกปลายเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น หรือใช้หมอนหนุนใต้ผ้าปูเตียงส่วนบนขึ้น (คุณไม่ควรสอดอะไรใต้ผ้าปูเตียงของเด็กที่อายุต่ำกว่าหนึ่งปี)
ยาพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนชนิดน้ำสามารถช่วยบรรเทาไข้และความไม่สบายเนื้อสบายตัวได้: แต่ต้องอ่านฉลากยาก่อนทุกครั้ง และห้ามให้ยาแอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
หากพวกเขามีอาการคัดจมูก จัดให้พวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้นเพื่อทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
จัดห้องของพวกเขาให้มีอากาศถ่ายเทและมีอุณหภูมิที่อยู่สบายที่สุด และห้ามทำให้ร่างกายพวกเขาร้อนเกินไปด้วยการเปลี่ยนไปใช้ผ้าห่มบางเบาแทนผ้านวม เป็นต้น
ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำหากว่าคุณไม่มั่นใจในวิธีการดูแลลูกของคุณ หรือสอบถามยาที่เหมาะสมกับพวกเขา