คลอสทริเดียม ดิฟิซายล์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คลอสทริเดียม ดิฟิซายล์

คลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile) หรือที่รู้จักในชื่อ C.difficile หรือ C.diff คือเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลกับลำไส้และทำให้ท้องร่วง

การติดเชื้อตัวนี้ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่เพิ่งผ่านการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อตัวนี้ให้แก่ผู้อื่นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การติดเชื้อ C.difficile จะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว และบางครั้งก็ก่อให้เกิดปัญหาที่ลำไส้อีกด้วย การรักษาการติดเชื้อประเภทนี้มักรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอีกคอร์ส

อาการของการติดเชื้อคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์

อาการของคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์มักจะเริ่มขึ้นเมื่อคุณกำลังใช้ยาปฏิชีวนะหรือเพิ่งสิ้นสุดการใช้ยากลุ่มดังกล่าวมาเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์

อาการที่พบได้มากคือ:

  • ท้องร่วงเป็นน้ำ บางครั้งอาจปนเลือดด้วย
  • ปวดท้องมาก
  • รู้สึกไม่สบาย
  • เกิดสัญญาณของการขาดน้ำ เช่นปากแห้ง ปวดศีรษะ และปัสสาวะน้อยกว่าปรกติ
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ไม่อยากอาหาร

ในบางกรณีก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน เช่นความเสียหายที่ลำไส้ใหญ่ หรือภาวะขาดน้ำรุนแรงที่ก่อให้เกิดอาการง่วงนอน สับสน หัวใจเต้นเร็ว และหมดสติ

ผู้ใดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์มากที่สุด?

คลอสทริเดียม ดิฟิซายล์มักจะเกิดกับผู้ที่:

  • เข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (ประเภทที่ต้านแบคทีเรียหลายชนิด) กำลังใช้ยาปฏิชีวนะพร้อมกันหลายประเภท หรือกำลังใช้ยาปฏิชีวนะในระยะยาว
  • เพิ่งออกมาจากสถานพยาบาลหลังจากต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน
  • มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่นโรคโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease - IBD) มะเร็ง หรือโรคไต
  • มีระบบภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอที่เกิดจากโรคต่าง ๆ อย่างเบาหวาน หรือเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาอย่างการบำบัดเคมี หรือการใช้ยาสเตียรอยด์
  • กำลังใช้ยาที่เรียกว่า proton pump inhibitor (PPI) เพื่อลดปริมาณการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร
  • เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดระบบย่อยอาหาร

การติดเชื้อ C.difficile หลายกรณีมักจะเกิดกับผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะและอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอื่น อย่างเช่นตามโรงพยาบาล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตามก็มีหลักการควบคุมการติดเชื้อที่เคร่งครัดที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ ซึ่งมีหลักฐานว่าสถานที่ที่ไม่มีหลักการควบคุมดังกล่าวจะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่ามาก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ให้พบแพทย์ทันทีที่เกิดการติดเชื้อ C.difficile ขึ้นเนื่องจากเชื้อตัวนี้จะทำให้คนรอบข้างคุณมีความเสี่ยงไปด้วย

  • ให้ไปพบแพทย์ทันทีที่: คุณมีอาการท้องร่วงต่อเนื่องหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะมาซักระยะ
  • คุณถ่ายปนเลือด
  • คุณมีอาการท้องร่วงและปวดท้องรุนแรง มีไข้สูง หัวใจเต้นแรง หรือเป็นลม
  • คุณมีอาการของภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างเช่นสับสน ง่วงนอน ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะเลย

ท้องร่วงมักเป็นอาการที่เกิดจากหลาย ๆ โรค และเป็นผลข้างเคียงปกติของยาปฏิชีวนะ ดังนั้นการที่คุณท้องร่วงไม่ได้หมายความว่าคุณจะติดเชื้อ C.difficile แต่อย่างใด

แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับการตรวจอุจจาระเพื่อยืนยันการมีอยู่ของเชื้อ C.difficile อีกทั้งอาจมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับความรุนแรงของการติดเชื้อที่มี และบางครั้งคุณอาจต้องเข้าตรวจหรือสแกนที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจหาความเสียหายที่ลำไส้ใหญ่ของคุณ

การรักษาคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์

แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าคุณจำต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือไม่ แปลว่าหากอาการของคุณไม่รุนแรง คุณก็สามารถรักษาได้เองที่บ้าน

หากคุณต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล คุณจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดี่ยวเพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษา C.difficile มีดังนี้:

  • หยุดใช้ยาปฏิชีวนะที่คาดว่าเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ หากเป็นไปได้การทำเช่นนี้ก็สามารถรักษาการติดเชื้อได้ (ในกรณีที่ติดเชื้อไม่รุนแรง)
  • ทานยาปฏิชีวนะสำหรับ 10-14 วันที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.difficile
  • กรณีน้อยที่ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อกำจัดลำไส้ส่วนที่เสียหายออก

การติดเชื้อ C.difficile มักจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดี ผู้ป่วยส่วนมากจะฟื้นตัวภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสที่อาการจะกลับมาอีกโดยมีความเสี่ยงที่ 1 ใน 5 ซึ่งต้องดำเนินการรักษาซ้ำอีกครั้ง

การดูแลตนเองที่บ้าน

หากคุณมีอาการไม่รุนแรง คุณก็สามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์เพื่อบรรเทาและป้องกันการลุกลามของเชื้อดังนี้:

  • พยายามใช้ยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่กำหนดแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีแล้วก็ตาม
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และทานอาหารที่ง่าย ๆ เมื่อรู้สึกหิวอย่างเช่นซุป ข้าว ขนมปัง เป็นต้น
  • หากมีอาการปวดท้องหรือมีไข้ให้ทานยาพาราเซตตามอล
  • ห้ามทานยารักษาอาการท้องร่วงเพราะจะหยุดไม่ให้เชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดออกจากร่างกาย
  • ล้างมือกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคบ่อย ๆ
  • หยุดอยู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการท้องร่วงครั้งสุดท้าย

คุณสามารถติดเชื้อคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ได้อย่างไร?

C.difficile ถูกพบในระบบย่อยอาหารของผู้ใหญ่สุขภาพดี 1 จาก 30 คน เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มักจะอยู่ในลำไส้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ อยู่แล้วเพราะจะมีแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ คอยควบคุมอยู่

ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะจะทำให้สมดุลแบคทีเรียในลำไส้ถูกรบกวนจนทำให้เชื้อ C.difficile เพิ่มจำนวนขึ้นและผลิตกรดที่ทำให้มนุษย์ไม่สบายออกมา

หากเกิดเช่นนี้ขึ้น C.difficile จะแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ง่ายขึ้นเพราะแบคทีเรียชนิดนี้จะออกจากร่างกายพร้อมการขับถ่ายเหลวของผู้ป่วย

เมื่อออกจากร่างกายแล้ว แบคทีเรีย C.difficile จะเปลี่ยนไปเป็นสปอร์ที่สามารถรอดชีวิตอยู่บนมือ สิ่งของ พื้นผิว และเสื้อผ้าได้เป็นเวลานานนอกจากสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้จะถูกทำความสะอาด และเชื้อเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์คนอื่นทางปาก

ผู้ป่วยติดเชื้อ C.difficile มักจะเป็นตัวพาหะไปเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังจากอาการต่าง ๆ หายไป

คุณสามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ได้อย่างไร?

เชื้อ C.difficile สามารถแพร่กระจายได้ง่ายมาก คุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการปรับใช้หลักการดูแลสุขอนามัยง่าย ๆ ตามบ้านและตามสถานพยาบาล ดังนี้:

  • หยุดอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังจากหายจากอาการต่าง ๆ
  • ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร ควรใช้สบู่น้ำแทนสบู่ก้อน
  • ชะล้างพื้นผิวที่ปนเปื้อนให้สะอาด เช่นสุขภัณฑ์ ด้ามจับหัวล้าง สวิตช์ไฟ และด้ามจับประตู
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดร่วมกับผู้อื่น
  • ซักเสื้อผ้าและผ้าปูที่ปนเปื้อนแยกจากผ้าอื่น ๆ ภายใต้อุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เมื่อเข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ควรทำความเข้าใจข้อปฏิบัติการเยี่ยมผู้ป่วย เลี่ยงการพาเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีไปด้วย และล้างมือด้วยสบู่เหลวกับน้ำทุกครั้งก่อนและหลังเข้าสู่ห้องผู้ป่วย พยายามไม่ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือเพราะมักไม่ได้ผลกับเชื้อ C.difficile เท่าไรนัก
  • เลี่ยงการไปโรงพยาบาลหากคุณมีอาการท้องร่วงและรู้สึกไม่สบาย

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Clostridium difficile. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/c-difficile/)
C. diff (C. difficile Colitis): Symptoms, Treatment & Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/clostridium_difficile_colitis/article.htm)
What is C. diff?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cdiff/what-is.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป