ค่าความสามารถพิเศษของเลือดระหว่างผู้มีสุขภาพดีและผู้มีสุขภาพผิดปกติย่อมต่างกันโดย ตัวเลขความแตกต่างนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงอาจนำมาใช้บ่งชี้ความมีโรคซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจควรทราบอีกเรื่องหนึ่ง
ESR
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (erythrocyte sedimentation rate, ESR) ด้วยการนำเลือดที่ได้มาจากการดูดของหลอดและเข็ม (syringe) โสดๆร้อนๆ ใส่ลงในหลอดรับเลือด (lavender-top tube) แล้วค่อยนับเวลาว่าใน 1 ชั่วโมงจะมีเม็ดเลือดแดงตกตะกอนอยู่สูงขึ้นมากี่มิลลิเมตร
อัตราความสูงของการตกตะกอนที่ต่างกันจะช่วยชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของโรคหรือการอักเสบหรือการขาดเลือดของเนื้อเยื่อจนเนื้อตายไปบางส่วน (tissue necrosis or infarction)
คำอธิบายอย่างสรุป
- อัตรา ESR นี้ เป็นการแสดงค่าอย่างหยาบๆ (nonspefic test) ไม่อาจเจาะจง อวัยวะของการเกิดโรค หรือไม่อาจใช้เป็นข้อวินิจฉัยจริงจังหรือแท้จริงใดๆ ได้ แต่แม้กระนั้น ก็นับว่าเป็นเครื่องช่วยบ่งชี้ในชั้นต้นที่ง่ายต่อการเตรียมการให้ทราบความผิดปกติของร่างกายที่ไม่ยุ่งยากและประหยัด
- โดยธรรมดาในเม็ดเลือดแดงจะมีโปรตีน ที่อยู่ในเฮโมโกลบินจำนวนหนึ่ง โปรตีนส่วนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงมีน้ำหนักมากกว่าพลาสมา จึงทำให้มันค่อยๆ ตกตะกอนจมลงสู่ก้นหลอดทดลอง (lavender-top tube) ทั้งนี้ในคนที่มีสุขภาพดีก็จะมีอัตราความเร็วที่ทำให้มีความสูงของการตกตะกอนจำนวนหนึ่ง แต่ในคนที่เป็นโรคบางชนิดจะมีผลทำให้เพิ่มโปรตีนขึ้นในกระแสเลือด ในการนี้ ค่า ESR จึงย่อมสูงกว่าปกติเมื่อเทียบกับมาตรฐานของผู้มีสุขภาพปกติ
ค่าปกติของ ESR
- ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป (หน่วย: มม./ชั่วโมง)
- ชาย ESR : ≤ 15 mm/hr
- หญิง ESR : ≤ 20 mm/hr
- เด็ก ESR : ≤ 10 mm/hr
ค่าผิดปกติ
- ในทางน้อยถือว่าไม่ผิดปกติ
- ในทางมากอาจแสดงผลว่า
- อาจกำลังเกิดโรคไตบางโรคเช่น โรคไตอักเสบ (nephritis) โรคไตเสื่อม (nephrosis)
- อาจกำลังเกิดโรคมะเร็งเกี่ยวกับเม็ดเลือด
- อาจกำลังเป็นโรคจากเชื้อแบคทีเรียเช่น ซิฟิลิสปอดบวม ฯลฯ
- อาจเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเช่น ไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis) เป็นไข้จากการปวดข้อ (rheumatic fever)
- อาจเป็นโรคที่มีโปรตีนล้นเกินในกระแสเลือด เช่น โรคไฟบริโนเจนมากเกิน (hyperfibrinogenemia) โรคโกลบูรินมากเกิน (macroglobulinemia)
- อาจเป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรน้อย จึงตกตะกอนลงมาอย่างรวดเร็ว
- ข้อพึงระวังในโรคโลหิตจางบางชนิด ก็อาจทำให้ได้ค่า ESR ต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดเป็นเคียว (sickle cell anemia)
Reticulocyte count
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงซึ่งเติบโตอย่างไม่เต็มที่แต่ได้หลุดเข้ามาอยู่ในกระแสเลือดว่ามีจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์
Reticulum (กรีก) = ตาข่าย, จุด
Cyte = เซลล์
คำอธิบายอย่างสรุป
- Reticulocyte คือเม็ดเลือดแดงวัยรุ่นซึ่งมีร่องรอยของนิวเคลียสเหลือเป็นจุดสีม่วงอมน้ำเงินติดอยู่ (มองด้วยกล้องขยายจะเห็นคล้ายตาข่าย) มันจึงมีคุณสมบัติยังไม่พร้อมที่จะเข้ามาทำหน้าที่เหมือนเม็ดเลือดแดงทั่วไปในกระแสเลือด
- การที่มี Reticulocyte เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าเกณฑ์ปกติจึงแสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดการผลิตเม็ดเลือดแดงหรือร่างกายอาจมีการสูญเสียเลือดซึ่งอาจมีความต้องการออกซิเจนมากผิดปกติจึงต้องเร่งส่ง Reticulocyte เข้าสู่กระแสเลือดรวมทั้งอาจแสดงว่ากำลังเกิดโรคโลหิตจาง
ค่าปกติของ Reticulocyte Count
- ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป
Reticulocyte Count : 0.5 - 2.0% ของ RBC
ค่าปกติ
ในทางน้อยอาจแสดงผลว่า
- อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่ขาดกรดฟอลิก จนทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง(pernicious anemia)
- อาจเกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- อาจเกิดโรคโลหิตจางเพราะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia)
- อาจได้รับการฉายรังสีบำบัดหรือรับเคมีบำบัด
- อาจกำลังเป็นโรคมะเร็ง (melignancy)
- อาจเกิดโรคไขกระดูกล้มเหลว (bone marrow failure)
ในทางมากอาจแสดงผลว่า
- เม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายจากเหตุต่างๆ เช่น จากระบบภูมิคุ้มกันหรือจากโรคของเฮโมโกลบินหรือจากโรคม้ามโต
- อาจเกิดการตกเลือด (hemorrhage) เช่น ริดสีดวงทวาร ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาจึงทำให้ไขกระดูกต้องรีบผลิตเม็ดเลือดจนมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ต้องถูกผลักดันให้ออกมาสู่กระแสเลือดก่อนเวลาและวัยอันควร
- การตอบสนองต่อการรักษาอาการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือฟอเลต อาจกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงให้มีมากเกินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จึงมีผลอาจทำให้เม็ดเลือดแดงวัยรุ่นหลุดเข้ามาสู่กระแสเลือดมากกว่าและเร็วกว่าปกติก็ได้
Inclusion Body
วัตถุประสงค์เพื่อจะทราบว่าในกระแสเลือดได้มีเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติซึ่งเป็นชนิดที่มี. น้ำเงินเข้มติดอยู่ภายในเนื้อเม็ดเลือดแดงบางเม็ดบ้างหรือไม่ หรือถ้ามีมีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์
คำอธิบายอย่างสรุป
- คำว่า "Inclusion Body" มีความหมายว่าเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังมีส่วนของนิวเคลียส (คือ ribosomes) ติดค้างหลงเหลืออยู่ทำให้เห็นเป็นจุดสีน้ำเงินคล้ำ
- โดยธรรมดาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่แล้วจะไม่มีนิวเคลียสโดยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าเม็ดเลือดแดงย่อมจะไม่มีสถานภาพเป็นเซลล์นอกจากเม็ดเลือดแดงจะไม่มีนิวเคลียสแล้วมันยังแบ่งตัวเองก็ไม่ได้ฉะนั้นการเรียกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เป็นเซลล์จึงเป็นการใช้โดยอนุโลมเท่านั้นเองแล้วในกรณีที่นิวเคลียส (ขณะเป็นวัยรุ่นจำเป็นต้องมี) ยังเหลืออยู่จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Basophillic strippling" (เม็ดเลือดแดงวัยรุ่นแต้มสี)
- การปรากฏจุดในเม็ดเลือดแดงอันเป็นความผิดปกตินี้ นอกจากเกิดจากนิวเคลียสส่งเหลือแล้วก็อาจเกิดจากร่างกายได้รับสารโลหะเป็นพิษบางชนิดเช่น ตะกั่วหรือขาดสารอาหารบางอย่างรวมทั้งอาจเกิดจากความบกพร่องของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดก็ได้ หรือความบกพร่องของการทำหน้าที่ของม้ามก็ได้
- Inclusion Body ในคนสุขภาพปกติ ไม่ควรปรากฏให้เห็นดังนั้นจำนวนเปอร์เซ็นต์อันเป็นค่าปกติจึงไม่มีกำหนดไว้
สรุปว่ามีค่ามากกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใดก็ย่อมแสดงถึงความร้ายแรงของโรคมากขึ้นเท่านั้นและเมื่อนั้น
Heinz bodies
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบว่าในกระแสเลือดมีเม็ดเลือดแดงที่มีจุดคล้ายกับ Inclusion Body แต่มีขนาดใหญ่กว่าและออกสีม่วงใสปรากฏบ้างหรือไม่? หรือมีกี่เปอร์เซ็นต์?
คำอธิบายอย่างสรุป
- Heinz bodies เกิดจาก
- การขาดเอนไซม์ G-6 PD
- ค่าฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแต่ละเม็ดไม่เท่ากัน
- อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดธาราซีเมีย(thalassemia)
- อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า กำลังเกิดโรคโลหิตจางชนิดภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง (autoimmune hemoglobin anemia)
- ในร่างกายคนที่มีสุขภาพปกติจึงไม่ควรมี Heinz bodies ในกระแสเลือดและโดยเหตุเหตุนี้จึงไม่มีการกำหนดค่าปกติของ Heinz bodies ไว้แต่อย่างใด
ค่าปกติ 0%
G-6 PD.....IU/100 ml.RBC
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบค่าเอนไซม์ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase ที่เรียกสั้นๆ ว่า "G-6 PD" มีจำนวนต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์หรือไม่เพียงใด? ในกรณีที่ต่ำกว่าเกณฑ์ก็จะมีศัพท์เรียกว่า "G-6 PD deficiency"
คำอธิบายอย่างสรุป
- G-6 PD เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญกลูโคสและช่วยปกป้องเม็ดเลือดแดงขณะใช้ยาต่อสู้กับเชื้อโรคเพื่อการรักษา
- ในกรณีที่เกิดการขาดเอนไซม์ G-6 PD ที่เรียกว่า "G-6 PD deficiency" อาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือพร้อมกันดังนี้
- อาจทำให้เลือดในร่างกายเกิดการตกตะกอนของเฮโมโกลบิน
- อาจทำให้ผนังของเม็ดเลือดแดงเกิดการเปลี่ยนแปลง
- อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกซึ่งร้ายแรงมาก/น้อยแล้วแต่กรณี
- เหตุที่มักก่อให้เกิด G-6 PD deficiency ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักก็คือพันธุกรรมอันเป็นการถ่ายทอดจากมารดานับเป็นโรคโลหิตจางจากเหตุพันธุกรรม (congenital hemolytic anemia) โลกนี้จึงอาบน้ำว่าเป็นโรคประจำตัวที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้และอาจกำเริบขึ้นในกรณีร่างกายได้รับยาที่เพิ่มออกซิเจน (oxidizing drugs) ซึ่งมีผลอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
กลุ่มยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและตกตะกอน
ในกลุ่มผู้ยู่ในสภาวะ G-6 PD deficiency
Acetanilid Antimalarials Antipyretics Ascorbic acid Dapsone |
Methylene blue Nalidixic acid Phenacetin Phenazopyridine Primaquine |
Quinidine Sulfa Sulfonamides Thiazide diuretics TOBUTamide Vitamin K |
- อาการของเด็ก (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) ของผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็น G-6 PD deficiency อาจแสดงอาการให้เห็นดังนี้
- ผิวหนังซีด หากเป็นคนผิวดำ ต้องให้อ้าปากเพื่อเห็นความผิดปกติ
- แสดงอาการเหนื่อยอย่างมาก
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจสั้นและถี่
- ดีซ่าน (jaundice) แสดงอาการผิวหนังและนัยน์ตาเหลือง
- ม้ามโต
- น้ำปัสสาวะจะออกสีชา
- ค่าเอนไซม์ G-6 PD อาจแสดงได้ 2 วิธีคือ 1) เป็นจำนวน I.U. (international unit) ต่อน้ำหนัก 1 กรัม ของเฮโมโกลบิน หรือ 2) เป็นจำนวน I.U. ต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง
ตัวเลขค่าเอนไซม์ปกติของ G-6 PD ที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้
- 4.3 – 11.8 I.U. ต่อกรัมของเฮโมโกลบิน
- 146 – 376 I.U. per 1012 RBC
ตามข้อ 5ข้างต้น อาจเขียนอยู่ในรูปใหม่ได้ดังนี้
146 – 376 I.U./1012 RBC = IU/RBC
= IU/RBC
= IU
100 ล้าน RBC
= IU
100 ml. RBC
= 0.0146 – 0.0376 IU/100 ml. RBC
ค่าปกติของเอนไซม์ G-6 PD
- ให้ยึดถือตามค่าที่แสดงไว้ในใบรายงานผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติ (คำนวณได้จากข้อ 6)
G-6 PD enzyme : 0.0146 – 0.0376 IU/100 ml.RBC |
ค่าผิดปกติ
1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
- เป็น G-6 PD deficiency แน่ๆ ยิ่งหากมีอาการตามข้อ 4. ร่วมด้วย
- อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกง่าย (hemolytic anemia)
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
- อาจเกิดโรคโลหิตจางอย่างร้ายแรงชนิดขาดวิตามิน บี 12 (pernicious anemia)
- อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโต (megaloblastic anemia)
- อาจเกิดการสูญเสียเลือดแห่งใดแห่งหนึ่ง
- อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
- อาจมีปัญหาโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)
- Malaria
วัตถุประสงค์
เพื่อทราบว่ามีเชื้อโรคไข้มาลาเรีย (Malaria parasites) ได้ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย และอยู่ในกระแสเลือดบ้างหรือไม่ เพียงใด?
คำอธิบายอย่างสรุป
- เชื้อมาลาเรียในกลุ่ม Plasmodium จะเข้าสู่ร่างกายได้ก็แต่โดยผ่านทางพาหะ คือยุงก้นปล่องตัวเมียที่มาจ่อกัดดูดเลือดและปล่อยเชื้อโรคมาลาเรียไว้ผ่านทางน้ำลายของยุง
- เชื้อมาลาเรียจะไปขยายพันธุ์เจริญเติบโตฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดแดงอันเป็นการทำลายเม็ดเลือดแดงที่นับว่าก่ออันตรายต่อตัวผู้รับเชื้อโรคอย่างร้ายแรงแต่เชื้อมาลาเรียนี้ จะไม่ติดต่อกันระหว่างคนกับคนต้องมียุงมากัดเท่านั้น
- เม็ดเลือดแดงที่แตกสลายเพราะเชื้อมาลาเรียจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายจึงทำให้เซลล์ทั้งหลายไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำหน้าที่ของตนได้รวมทั้งไม่อาจรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้จึงเกิดอาการหนาวสั่นหรือที่เรียกว่าไข้จับสั่นรวมทั้งเกิดอาการอ่อนเพลีย
- การตรวจอาจกระทำได้ด้วยวิธีใช้เลือดฉาบกระจก (blood smear) แล้วสองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยเจ้าหน้าที่เทคนิคแพทย์ซึ่งจะยืนยันได้ว่าเม็ดเลือดแดงถูกเชื้อมาลาเรียโจมตีหรือไม่
- สรุปว่าผู้รับการตรวจเลือกจะทราบแต่เพียงว่ามีเชื้อมาลาเรียหรือไม่มีเท่านั้น
ค่าปกติ จึงไม่ได้กำหนดไว้
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)