โรคเลือดออกในสมอง

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคเลือดออกในสมอง

โรคเลือดออกในสมอง หรือ ภาวะเลือดออกในสมอง(Cerebral Hemorrhage) เป็นภาวะที่มีเลือดออกภายในเนื้อสมอง ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ฉีกขาดจนทำให้มีเลือดไหลไปยังเนื้อเยื่อหรือเนื้อสมองบริเวณใกล้เคียง ทำให้เลือดที่ไหลไปนั้นกดทับเนื้อเยื่อ หรือเกิดการจับตัวเป็นก้อนไปอุดตันหลอดเลือดและเนื้อเยื่อสมองส่วนต่างๆ จนทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ ไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการทำงานและเกิดภาวะพิการ ทุพพลภาพตามมา หรือ อาจเป็นเหตุให้สมองไม่สามารถทำงานได้จนส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

อาการและอาการแสดง

อาการและอาการแสดงของผู้ที่มีภาวะเลือดออกในสมองมี 2 ลักษณะ คือ อาการแบบเฉียบพลัน และ อาการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีอาการที่สังเกตและตรวจพบได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1.  อาการแบบเฉียบพลัน

ได้แก่ อาการปวดศีรษะรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ตาพร่ามัว ความสามารถในการมองเห็นลดลง   มีอาการชักโดยที่ไม่มีประวัติโรคลมชักมาก่อน  คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันที สูญเสียการทรงตัวและไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ สับสน เพ้อ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก ไปจนถึงหมดสติไม่รู้สึกตัว

2.  อาการแบบค่อยเป็นค่อยไป  

ผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตพบอาการผิดปกติ  แขนขาเริ่มอ่อนแรง มีอาการเวียนศีรษะ มีอาการชา หรือ ปวดตามร่างกายคล้ายโดนเข็มทิ่ม มือสั่น กลืนลำบาก และการรับรู้รสอาหารแปลกไปจากปกติ  มีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

อาการดังกล่าว แตกต่างในแต่ละบุคคลและใช้ระยะเวลาในการแสดง อาการแตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายมีอาการทันที  บางรายมีอาการค่อยๆ เป็นและใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เช่น แขนขาอ่อนแรงลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถเดินได้จึงมาโรงพยาบาล เป็นต้น  ดังนั้น  การตรวจร่างกายและการซักประวัติเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ญาติและบุคคลใกล้ชิดต้องช่วยกันสังเกตและให้ข้อมูลแพทย์ให้มากที่สุด

สาเหตุของภาวะเลือดออกในสมอง

สาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองนั้นมีหลายสาเหตุ  ได้แก่

  1. การได้รับอุบัติเหตุ สมองถูกกระทบกระเทือน  ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ การถูกทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
  2. ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอเปราะบางและแตกง่าย
  3. โรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะสมองตีบตัน จนเป็นเหตุให้เส้นเลือดสมองแตก เมื่อเส้นเลือดหรือหลอดเลือดในสมองตีบตัน เช่น จากภาวะไขมันในเลือดสูง ร่วมกับ ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ต้องใช้แรดันในการส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ หลอดเลือดสมองส่วนที่เปราะบางบางแห่งไม่สามารถทนต่อแรงดันเลือดที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกและ เกิดเลือดออกในสมองตามมา
  4. ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral aneurysm) หรือ หลอดเลือดสมองเกิดกระเปาะเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดไหลวนในกระเปาะไปอุดตันเส้นเลือดสมองได้
  5. ภาวะผิดปกติในสมอง เช่น ก้อนเนื้องอกเบียดกดเนื้อสมอง หลอดเลือดสมองผิดปกติ เช่น รอยต่อระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงผิดปกติ
  6. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เลือดแข็งตัวช้าจากยา สารเสพติด  การป่วยเป็นโรคตับทำให้เลือดแข็งตัวช้า เลือดออกง่าย

การวินิจฉัยหาสาเหตุร่วมกับ การซักประวัติและตรวจร่างกายนั้น มีความจำเป็นและสำคัญอย่างมากที่ต้องวินิจฉัยโรคให้ได้เร็วที่สุด เพราะหากตรวจพบได้เร็วและทำการรักษาทันที โอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิตและฟื้นตัวได้เร็วจะมีโอกาสสูงขึ้น ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ดังนี้

การรักษาและการป้องกันภาวะเลือดออกในสมอง

การรักษาหลังผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยให้เร็วที่สุด ยิ่งจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต และป้องกันการสูญเสียได้มากที่สุด  การรักษาเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะเลือดออกในสมอง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อระบายเลือดและของเหลวออกจากเนื้อสมอง

ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกการผ่าตัด และเลือกวิธีการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งเลือดที่ออก สาเหตุ ปริมาณเลือดที่ออก ถ้าเลือดที่ออกเป็นเพียงจุดเล็กๆ ไม่ใช่ตำแหน่งที่สำคัญของสมองและไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง อาจใช้การรักษาด้วยยาเพื่อละลายลิ่มเลือด และ ยาช่วยลดภาวะสมองบวม ร่วมกับการตรวจติดตามด้วยวิธี CT scan สมองเป็นระยะ

ดังนั้น การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองที่สำคัญที่สุด คือ การประเมินอาการ ค้นหาสาเหตุ แล้วทำการรักษาให้เร็วที่สุด เพราะการรักษาสมองให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ นั้น สามารถทำได้โดยจะต้องวินิจฉัยอาการและทำการผ่าตัดรักษาภายใน 3 ชั่วโมงแรกที่มีอาการปรากฏชัดเจน จึงจะมีโอกาสช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและหายกลับสู่ภาวะปกติได้มากที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองจะต้องดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติหลอดเลือดสมองโป่งพอง ผู้ที่มีภาวะ เลือดแข็งตัวผิดปกติ เป็นต้น      


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brain hemorrhage: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317080)
Brain Hemorrhage Symptoms, Treatment, Causes & Survival Rates. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/brain_hemorrhage/article.htm)
Brain Hemorrhage (Bleeding): Causes, Symptoms, Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/brain/brain-hemorrhage-bleeding-causes-symptoms-treatments#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)