สาเหตุที่แน่ชัดของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดคิดว่าเป็นผลมาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติไปชั่วคราว ซึ่งส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาท สารเคมีและหลอดเลือดภายในสมอง
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าว แต่อาจเป็นไปได้ว่ายีนของคุณทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการของไมเกรนจากสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการบางอย่างได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการของไมเกรน
มีปัจจัยหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้มีอาการของไมเกรน ได้แก่ ฮอร์โมน, อารมณ์, สภาพร่างกาย, อาหาร, สภาพแวดล้อม และการใช้ยาบางชนิด
ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้มีความแตกต่างกันแล้วแต่คน การบันทึกไดอารี่อาจช่วยให้คุณรู้ได้ว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการอย่างแท้จริง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ผู้หญิงบางรายจะมีอาการปวดศีรษะไมเกรนระหว่างช่วงเวลาของการมีประจำเดือน นั่นเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)
ไมเกรนชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่าง 2 วันก่อนมีประจำเดือนไปจนถึง 3 วันหลังมีประจำเดือน ผู้หญิงบางรายจะมีอาการของไมเกรนเฉพาะช่วงเวลาดังกล่าว เราเรียกว่า pure menstrual migraine อย่างไรก็ตามผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วงเวลาอื่นๆ ด้วย ซึ่งเรียกว่า menstrual related migraine
ผู้หญิงหลายรายพบว่าการมีอาการไมเกรนของพวกเขาดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (menopause) แม้ว่าบางครั้งวัยหมดประจำเดือนอาจกระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะไมเกรนหรือทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนแย่ลงได้ในผู้หญิงบางรายก็ตาม
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนด้านอารมณ์
- ความเครียด
- ความวิตกกังวล
- ความตึงเครียด
- ภาวะช็อก
- ซึมเศร้า
- ความตื่นเต้น
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนด้านร่างกาย
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- คุณภาพการนอนหลับไม่ดี
- การทำงานเป็นกะ
- การมีท่าทางที่ไม่เหมาะสม
- ความตึงที่คอหรือหัวไหล่
- อาการอ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน (Jet lag)
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycaemia)
- การออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง (หากคุณไม่เคยทำมันมาก่อน)
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนด้านอาหาร
- การข้ามมื้ออาหาร รับประทานอาหารช้า หรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- การขาดน้ำ
- แอลกอฮอล์
- สารปรุงแต่งอาหารที่มีส่วนประกอบของไทรามีน (tyramine)
- ผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
- อาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต และชีส
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนด้านสิ่งแวดล้อม
- แสงจ้า
- หน้าจอที่มีการเคลื่อนไหวไปมา เช่น หน้าจอโทรทัศน์ หน้าจอคอมพิวเตอร์
- การสูบบุหรี่ หรือ อยู่ในห้องที่มีควันบุหรี่
- เสียงดัง
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของความชื้น หรืออุณหภูมิหนาวจัด
- กลิ่นรุนแรง
- อากาศไม่ถ่ายเท อากาศอบอ้าว
การใช้ยาบางชนิดกระตุ้นให้มีอาการไมเกรน
- ยานอนหลับบางชนิด
- ยาคุมกำเนิดรับประทานชนิดฮอร์โมนรวม (combined contraceptive pill)
- ฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy; HRT) ฮอร์โมนนี้บางครั้งถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการที่สัมพันธ์กับการหมดประจำเดือน
การวินิจฉัยไมเกรน
ยังไม่มีวิธีการตรวจเฉพาะเพื่อการวินิจฉัยไมเกรน เพื่อให้การวินิจฉัยไมเกรนมีความแม่นยำ แพทย์จะวิเคราะห์รูปแบบการมีอาการปวดศีรษะไมเกรนซ้ำของคุณร่วมกับอาการที่คุณเป็นร่วมด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การเกิดไมเกรนไม่สามารถคาดเดาได้ บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอื่นๆ การวินิจฉัยอย่างแม่นยำบางครั้งอาจต้องใช้เวลา
การไปพบแพทย์เพื่อตรวจไมเกรน
เมื่อไปพบแพทย์เป็นครั้งแรก แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจการมองเห็น การทำงานประสานงานกันของร่างกาย การตอบสนองต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งการตรวจเหล่านี้จะช่วยแยกโรคบางชนิดซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นออกไปได้
แพทย์อาจถามเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะของคุณ ถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะดังนี้:
- ปวดศีรษะที่ด้านใดด้านหนึ่ง
- ปวดเป็นจังหวะ
- อาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการทำกิจกรรมประจำวัน
- อาการปวดแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีอาการปวดร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการปวดร่วมกับมีความไวต่อเสียงรบกวนและแสง (เสียงและแสงทำให้อาการแย่ลง)
ไมเกรนไดอารี่
เพื่อช่วยในการวินิจฉัย สิ่งที่เป็นประโยชน์คือการบันทึกไดอารี่ไมเกรนของคุณเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยจดบันทึกข้อมูลดังนี้:
- วันที่มีอาการ
- เวลาที่มีอาการ
- คุณกำลังทำอะไรอยู่ขณะที่เริ่มมีอาการไมเกรน
- มีอาการของไมเกรนนานเพียงใด
- มีอาการอะไรบ้าง
- ได้รับประทานยาอะไรหรือไม่ระหว่างที่มีอาการ
การรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไปเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมไมเกรนจึงรักษาได้ยากขึ้น เราเรียกว่า โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (analgesic overuse headache)
ดังนั้นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ยาที่ใช้คือยาอะไร ใช้ยาบ่อยแค่ไหน คุณไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดมากกว่า 10 วันในแต่ละเดือนเป็นระยะเวลานาน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สำหรับผู้หญิงการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอบประจำเดือนอาจเป็นประโยชน์ ได้แก่ เริ่มมีรอบประจำเดือนเมื่อไร ซึ่งจะช่วยให้แพทย์หาได้ว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นบ้าง
การส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์ที่ดูแลรักษาคุณอาจตัดสินใจส่งต่อคุณไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา (แพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคทางสมองและระบบประสาท) เพื่อรับการตรวจและรักษาเพิ่มเติม ในกรณีดังนี้:
- การวินิจฉัยโรคไม่ชัดเจน
- คุณมีอาการของไมเกรนตั้งแต่ 15 วันขึ้นไปใน 1 หนึ่ง (ไมเกรนเรื้อรัง)
- การรักษาไม่สามารถช่วยควบคุมอาการให้คุณได้
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/migraine#causes
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/migraine#diagnosis