มะเร็งสมองและระบบประสาท

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มะเร็งสมองและระบบประสาท

มะเร็งที่สมองและระบบประสาทนั้นเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ มักจะสามารถรักษาให้หายได้

มะเร็งที่สมองและระบบประสาทนั้นมีหลายชนิด และแพทย์ได้ทำการแบ่งกลุ่มตามตำแหน่งของเนื้องอก ชนิดของเซลล์ที่เกี่ยวข้อง และความเร็วในการโตของก้อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างมะเร็งสมองและระบบประสาทที่พบบ่อย

1.Brain Stem Glioma

Brain Stem หรือก้านสมองนั้นอยู่ในบริเวณด้านหลังของสมอง ประกอบด้วยสมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลา ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนวัติของร่างกาย (ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกายเช่นการหายใจ การย่อยอาหาร การขับเหงื่อและการสั่นเป็นต้น)

เนื้องอกที่เกิดขึ้นในบริเวณก้านสมองไม่ว่าส่วนใดนั้นจะเรียกว่า Brain Stem glioma หากเนื้องอกนั้นเกิดที่สมองส่วนพอนส์ จะเรียกว่า pontine gliomas (หรือ diffuse intrinsic pontine gliomas, DIPG) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มนี้และรักษาได้ยากที่สุด เนื้องอกที่บริเวณสมองส่วนกลางและเมดัลลานั้นพบได้น้อยกว่าแต่มักจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า

อาการของผู้ป่วยที่เป็น pontine glioma นั้นอาจจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและแย่ลงอย่างรวดเร็ว อาการดังกล่าวประกอบด้วย 

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ลูกตาด้านหนึ่งหันเข้าด้านใน
  • หนังตาตก หรือใบหน้าซีกหนึ่งนั้นตกลง
  • มีปัญหาด้านการกลืน
  • มีปัญหาในการพูดและเดิน
  • คลื่นไส้และอาเจียน

เนื้องอกที่สมองส่วนกลางนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการที่ตาที่คล้ายคลึงกับ pontine gliomas ร่วมกับอาการปวดหัวและอาเจียน ซึ่งเกิดจากการมีความดันในศีรษะเพิ่มขึ้นจากการที่น้ำไขสันหลังนั้นเกิดการอุดตัน (น้ำไขสันหลังนั้นเป็นน้ำสีใสซึ่งทำหน้าที่นำสารอาหารมายังสมองและไขสันหลัง และช่วยป้องกันอวัยวะดังกล่าว)

เนื้องอกที่สมองส่วนเมดัลลานั้นจะทำให้เกิดปัญหาด้านการกลืนและอาการอ่อนแรงที่แขนขา

เนื่องจากบริเวณก้านสมองนั้นเป็นบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้ยาก ดังนั้นจึงมักจะรักษาด้วยการฉายรังสี (การใช้รังสีเอกซ์ซึ่งมีพลังงานสูงในการฆ่าเซลล์มะเร็ง) และ/หรือการใช้ยาเคมีบำบัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.Ependymoma

Ependymoma นั้นเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ของสมองที่ทำหน้าที่สร้างน้ำไขสันหลัง ส่วนมากมักเกิดในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

Ependymoma สามารถแบ่งกลุ่มได้ตามตำแหน่งที่เกิดและมักจะไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เนื้องอกที่เกิดขึ้นที่สมองส่วนบนนั้นจะเรียกว่า supratentorial ependymomas ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและปวดหัวจากการที่มีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ร่วมกับอาการอ่อนแรงและปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น

โรคนี้สามารถพบได้ที่ไขสันหลังเช่นเดียวกัน เนื้องอกที่เกิดขึ้นที่สมองส่วนหลังนั้นพบได้บ่อยกว่า และจะเรียกว่า infratentorial ependymoma ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและปวดหัว และมีปัญหาในการประสานการทำงานระหว่างอวัยวะต่างๆ

การรักษา Supratentorial ependymoma นั้นอาจจะใช้เพียงการผ่าตัดอย่างเดียวก็ได้ ในขณะที่ infratentorial ependymomas มักจะต้องใช้การรักษาทั้งการผ่าตัด ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง

3.Primitive Neuroectodermal Tumor (PNET)

PNETs นั้นเป็นกลุ่มของเนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ส่วนใดของสมองก็ได้ โดยประกอบด้วย medulloblastoma, posterior fossa PNET, supratentorial PNET และ pineoblastoma ทั้งหมดนี้สามารถแพร่กระจายไปตามน้ำไขสันหลังที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังได้

อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในกลุ่มนี้นั้นมักจะขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน แต่มักจะประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน (โดยเฉพาะในตอนเช้า) จากการที่มีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
  • แขนและขาอ่อนแรง
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น
  • ชัก
  • มีปัญหาด้านการทรงตัวหรือการประสานงานระหว่างอวัยวะ

แม้ว่ามะเร็งกลุ่มนี้นั้นมักจะต้องใช้การรักษาที่รุนแรง (ซึ่งประกอบด้วยทั้งการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง) ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันก็สามารถรักษาผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นโรคนี้ได้

4.Optic pathway glioma

Optic pathway คือบริเวณที่มีการส่งสัญญาณจากตาไปยังสมองว่าตานั้นมองเห็นอย่างไร เนื้องอกที่เกิดขึ้นตามเส้นทางนี้จะเรียกว่า optic pathway glioma

Optic pathway glioma นั้นมักจะพบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า10 ปี ผู้ที่เป็นโรค neurofibromatosis ชนิดที่ 1 (โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดเนื้องอกตามเนื้อเยื่อประสาท) นั้นจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคนี้

อาการที่มักพบในผู้ป่วยโรคนี้คือการค่อยๆ สูญเสียการมองเห็น และเนื่องจากก้อนนั้นโตช้า จึงทำให้ยากต่อการสังเกตในระยะแรกโดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าพวกเขาเห็นอะไร ในผู้ที่มีก้อนโตเร็ว (หรือเมื่อก้อนนั้นมีขนาดใหญ่) นั้นจะทำให้เกิดปัญหาทางการมองเห็นได้เร็วกว่า

เด็กอาจจะเริ่มเอียงศีรษะหรือมีพัฒนาการที่เหมือนจะช้าลงเช่นการซุ่มซ่ามเวลาเดิน มีปัญหาด้านการพูด หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงและ อาจมีภาวะตากระตุก บางครั้งเนื้องอกนั้นอาจจะไปกดต่อมใต้สมองและทำให้เกิดปัญหาด้านการเจริญเติบโต

โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดและอาจจะมีการฉายรังสีร่วมด้วย ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการที่ดีขึ้นหลังการรักษา

5.Astrocytomas

Astrocytomas นั้นเกิดจากเซลล์ที่ชื่อว่า astrocyte สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อยๆ คือ pilocytic astrocytoma (ระดับที่ I), fibrillary astrocytoma (ระดับที่ II), anaplastic astrocytoma (ระดับที่ III) และ glioblastoma multiforme (ระดับที่ IV)

Astrocytoma ในระดับที่ต่ำ (ระดับที่ I และ II) ในเด็กนั้นมีโอกาสรักษาหายได้สูงเพราะมักจะโตช้า ไม่มีการแพร่กระจายละมักจะสามารถตัดออกได้ง่ายยกเว้นว่าจะเกิดที่ตำแหน่งซึ่งผ่าตัดได้ยาก (เช่นที่เส้นประสาทตา) หลังจากการผ่าตัดอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสง

ในขณะที่ Astrocytoma ระดับสูง (ระดับ III และ IV) นั้นมีความรุนแรงมากกว่า ลุกลามมากกว่าและรักษาได้ยากกว่า การรักษามักจะประกอบด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง

ผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง

เด็กที่ได้รับการฉายแสงหรือยาเคมีบำบัดในการรักษาเนื้องอกที่สมองนั้นมักจะมีผลข้างเคียงจากการรักษาเช่นอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อสิ้นสุดการรักษา

นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงระยะยาวจากการรักษาได้เช่นกัน เช่นปัญหาในการเรียน ชัก ปัญหาในการเจริญเติบโต ปัญหาทางการได้ยินและมองเห็น และมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งครั้งที่ 2 สูงขึ้นซึ่งรวมถึงมะเร็งสมองด้วย และเนื่องจากปัญหาเหล่านี้อาจจะตรวจไม่พบจนเมื่อผ่านไปแล้วหลายปี ดังนั้นการตรวจติดตามเป็นประจำและการสังเกตอย่างละเอียดนั้นจึงจะช่วยให้ตรวจพบได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brain tumor: Types, symptoms, and diagnosis. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/315625)
Central Nervous System Cancers. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4124889/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป