กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry Correction)

หน้าอกสองข้างไม่เท่ากันเป็นเรื่องปกติ แต่หากขนาดและรูปร่างของหน้าอกต่างกันมากเกินไป การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันก็เป็นทางเลือกที่น่าพิจารณา
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 22 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry Correction)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันช่วยให้ผู้ที่เต้านมสองข้างมีขนาดและรูปร่างต่างกันมากๆ มีรูปร่างที่สมส่วนขึ้น หาเสื้อผ้าสวมใส่ง่ายขึ้น
  • การแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน คือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขขนาดและรูปร่างของเต้านมที่มองเห็นได้ชัด วิธีผ่าตัดมีทั้งเสริมเต้า ลดขนาดทรวงอก หรือยกกระชับเต้านมข้างที่หย่อนคล้อยให้เข้าสู่ตำแหน่งที่ต้องการ
  • แม้ว่าการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกจะปลอดภัย แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น เกิดแผลเป็นที่มองเห็นชัด พังผืดรัดเต้านมเทียม อาจทำให้เต้านมเสียรูปทรงและแข็งขึ้น
  • ก่อนผ่าตัดแก้ไขหน้าอก จำเป็นต้องศึกษา หาข้อมูล เตรียมตัวอย่างดี เพื่อช่วยให้ฟื้นตัวไว แผลหายไวขึ้น
  • ดูแพ็กเกจเสริมหน้าอก แก้หน้าอกได้ที่นี่

เกี่ยวกับการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

การแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry Correction) คือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความแตกต่างของขนาดและรูปร่างของเต้านมที่มองเห็นได้ชัด วิธีผ่าตัดมีทั้งเสริมเต้านมข้างที่เล็กกว่าให้ใหญ่เท่าอีกข้าง ลดขนาดทรวงอกข้างที่ใหญ่กว่าให้มีขนาดเล็กเท่าข้างที่เหลือ หรือยกกระชับเต้านมข้างที่หย่อนคล้อยให้เข้าสู่ตำแหน่งที่ต้องการ

ประโยชน์ของการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันช่วยให้ผู้ที่เต้านมสองข้างมีขนาดและรูปร่างต่างกันมากๆ เช่น 1 คัปขึ้นไป มีรูปร่างที่สมส่วนขึ้น หาเสื้อผ้าสวมใส่ง่ายขึ้น และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สิ่งสำคัญที่ควรทราบก่อนตัดสินใจรับการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

  • การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันจะช่วยแก้ไขความแตกต่างของเต้านมได้ ทำให้เต้านมทั้งสองข้างมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันน้อยลงจากเดิม ณ ขณะที่ทำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ขนาดหรือรูปร่างของหน้าอกก็สามารถเปลี่ยนไปได้อีก จึงอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำภายหลัง
  • ในผู้รับการผ่าตัดที่ทรวงอกใหญ่ ผลการผ่าตัดจะอยู่ได้ไม่นานนัก เนื่องจากมีแนวโน้มที่ทรวงอกจะขยายใหญ่ขึ้นได้อีก
  • ในเด็กยังไม่โตเต็มที่ หรือผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่งคลอด หรือให้นมบุตร ทรวงอกจะยังมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างได้อีก ดังนั้นศัลยแพทย์มักแนะนำให้รอจนกว่าทรวงอกจะพัฒนาเต็มที่ หรือมีขนาดและรูปร่างคงที่เสียก่อน
  • ยังมีทางเลือกอื่นที่สามารถช่วยให้ทรวงอกเข้ารูปได้ เช่น ใส่ชุดชั้นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หรือออกกำลังกายเน้นเฉพาะส่วน

ยาที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

ระหว่างผ่าตัดยกกระชับหน้าท้อง มักมีการให้ยาสลบระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General Anaesthesia) หรือยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (Local Anaesthesia) การใช้ยาระงับความรู้สึกสมัยใหม่นั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและวิสัญญีแพทย์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับยาทุกชนิดที่คุณใช้อยู่หรือเคยใช้ รวมไปถึงอาการแพ้ที่คุณอาจมี ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่แจ้งแก่แพทย์นั้นเป็นข้อมูลล่าสุด

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

โดยทั่วไป การผ่าตัดสมัยใหม่นั้นปลอดภัย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • แผลติดเชื้อ
  • มีของเหลวคั่งในบริเวณที่ผ่าตัด
  • เกิดแผลเป็นที่มองเห็นชัด รวมไปถึงแผลเป็นแบบคีลอยด์ (Keloid) และแผลเป็นโตนูน (Hypertrophic Scar) ที่มีลักษณะนูน แดง และหนา เกิดขึ้นเหนือแผลผ่าตัดที่หายสนิทแล้ว สามารถก่อให้เกิดอาการคัน รำคาญ แผลลักษณะนี้สามารถก่อให้เกิดอาการคัน รำคาญ และไม่น่ามอง แต่ไม่อันตรายต่อสุขภาพ
  • เกิดอาการแพ้วัสดุเย็บแผล เทปปิดแผล โลชัน หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ
  • สีผิวเปลี่ยนแปลง โดยอาจเปลี่ยนเพียงชั่วคราวหรือถาวร
  • เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวตายและกลายเป็นก้อนแข็ง
  • ยอดอกและปานนมเสียหายเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
  • การรับความรู้สึกของทรวงอกและยอดอกไม่เหมือนเดิม
  • เกิดอาการชาเฉพาะส่วน โดยอาจเป็นแค่ชั่วคราวหรือถาวร
  • ผิวหนังเหนือเต้านมเทียมเหี่ยวย่น
  • เกิดอาการพังผืดรัดเต้านมเทียม (Capsular Contracture) หรือเนื้อเยื่อพังผืดที่มีลักษณะแข็งก่อตัวขึ้นรอบๆ วัสดุเสริมเต้านม ทำให้เต้านมเสียรูปทรงและความนิ่ม
  • ขนาดเต้านมเทียมไม่พอดี
  • เต้านมเทียมแตกหรือรั่ว อาจส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรังแบบแกรนูโลมา (Granuloma)
  • แคลเซียมพอกตัวในพังผืดที่เกาะรอบๆ เต้านมเทียม
  • ให้นมบุตรยาก และปริมาณน้ำนมน้อยลง
  • ตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mamography) ได้ยากขึ้น เพราะเต้านมเทียมไปบดบังเนื้อเยื่อเต้านม (และเนื้องอก)
  • ความเสี่ยงจากการใช้ยาสลบและยาชา เช่น อาการแพ้ หรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น หัวใจวาย
  • เกิดลิ่มเลือดในหลอดดำลึกที่ขา (ภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน) ซึ่งอาจเดินทางไปยังปอด (โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด) หรือสมองจนอันตรายต่อชีวิตได้

การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

ไม่มีหลักฐานว่าการเสริมทรวงอกนั้นเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรศึกษาการคลำตรวจก้อนเนื้อบริเวณทรวงอก และรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ โดยเฉพาะหากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งอยู่แล้ว จะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

สิ่งที่ต้องทำก่อนเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำมีดังนี้

  • เตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงที่สุดเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวไว
  • เพิ่มหรือลดน้ำหนักตัวให้เหมาะสม (Optimal Weight)
  • ปรึกษาศัลยแพทย์เกี่ยวกับยาประจำตัว เพราะอาจต้องหยุดยาบางชนิด
  • หยุดสูบบุหรี่
  • หยุดกินยาบางตัว เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แอสไพรินและยาอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแอสไพริน นอกจากนี้คุณอาจจะถูกขอให้หยุดกินสารที่เป็นธรรมชาติบำบัด เช่น กระเทียม แปะก๊วย โสม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดและอาการชา ขึ้นอยู่กับแพทย์แนะนำ
  • ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมตามศัลยแพทย์สั่ง เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (ECG)
  • เตรียมบริเวณสำหรับพักฟื้นภายในบ้านไว้ ซึ่งส่วนนี้อาจรวมถึงหมอน ถุงน้ำแข็ง เครื่องวัดอุณหภูมิ และโทรศัพท์ที่เอื้อมถึงได้ง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเตรียมการให้ญาติหรือเพื่อนมาขับรถไปรับไปส่งระหว่างบ้านกับโรงพยาบาลหรือคลีนิก ควรจะมีคนอยู่กับคุณอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังจากที่คุณกลับไปพักที่บ้าน


การพักฟื้นหลังผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

การผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันสามารถทำได้ทั้งในคลีนิคและโรงพยาบาล ระยะเวลาพักฟื้นขึ้นอยู่กับลักษณะเดิมของทรวงอก ความซับซ้อนของการผ่าตัด และอายุของผู้รับการผ่าตัด บางกรณีนอนพักเพียง 2-3 ชั่วโมงก็กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ หรือบ้างอาจต้องนอนค้างที่สถานพยาบาล 1-2 คืน

ลักษณะแผลเป็นหลังผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

เมื่อผ่านการผ่าตัด ก็เป็นปกติที่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ อย่างไรก็ตามศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามทำให้แผลนั้นเล็กที่สุด และสังเกตเห็นได้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยส่วนใหญ่แผลจะถูกซ่อนไว้ที่บริเวณรอยพับใต้ราวนม รักแร้ หรือปานนม หากได้รับการดูแลเป็นอย่างดี แผลเป็นเหล่านี้อาจจางหายไปตามเวลาและแทบสังเกตไม่เห็นเมื่อเวลาผ่านไป

ค่าใช้จ่ายสำหรับการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากัน

ค่าผ่าตัดแก้ไขทรวงอกไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับลักษณะเดิมของทรวงอก ความแตกต่างของเต้านมสองข้างว่ามากน้อยเพียงใด รวมถึงสถานที่ผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้น และประสบการณ์ของศัลยแพทย์ ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและค้างในโรงพยาบาล 1 คืนอยู่ที่ประมาณ 60,000-150,000 บาท


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ron BS et al., Correction of Small Volume Breast Asymmetry Using Deep Parenchymal Resection and Identical Silicone Implants: An Early Experience, Aesthetic Surgery Journal, Volume 35, Issue 4, 1 May 2015
Namnoum JD et al., Primary breast augmentation clinical trial outcomes stratified by surgical incision, anatomical placement and implant device type, J Plast Reconstr Aesthet Surg. 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%

อ่านเพิ่ม
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง การรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้

อ่านเพิ่ม
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี
รักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร มีกี่วิธี

รวมข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด และคำถามหลังการผ่าตัด การดูแลตนเอง

อ่านเพิ่ม