ผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปีมีความเสี่ยงมากที่สุดในการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองโป่งพอง ในขณะที่ผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองสูงที่สุด
หลอดเลือดโป่งพองเป็นจุดที่เส้นเลือดแดงมีความอ่อนแอโดยมักจะเกิดกับเส้นเลือดแดงในสมิงหรือในเส้นเลือดแดงใหญ่ของร่างกายเช่นเส้นเลือดแดงใหญ่ (aorta) ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองนั้นสามารถเกิดขึ้นภายในช่องอกหรือภายในช่องท้องก็ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้มักจะไม่รู้ว่าตนเป็น อย่างไรก็ตาม หากหลอดเลือดมีการโตขึ้นมากเกินไป ผนังของเส้นเลือดแดงอาจจะบางขึ้นจนเริ่มมีเลือดไหลออกนอกผนังเส้นเลือด หรือออกไปยังเนื้อเยื่อหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ จุดที่เกิดการโป่งพองนี้เป็นจุดที่อ่อนแอมากและอาจเกิดการแตกได้ หากเส้นเลือดสมองที่มีการโป่งพองเกิดการแตก จะทำให้มีบริเวณบางส่วนของสมองที่ไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยงมากเพียงพอ และเมื่อสมองไม่ได้รับเลือด (และออกซิเจน) ที่มากเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาในกรณีอื่นๆ การที่เกิดการสะสมของเลือดที่ไหลออกนอกเส้นเลือดที่โป่งพองที่สมองอาจไปกดบริเวณต่างๆ ของสมอง ทำให้เกิดการทำลายเนื้อสมองได้ในขณะที่หากเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองเกิดมีเลือดไหลออกด้านนอกหรือเกิดการแตกออกจะทำให้เกิดเลือดออกอย่างรุนแรง ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างทันที
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ใครเสี่ยงเกิดหลอดเลือดโป่งพองบ้าง?
ในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ที่มีเส้นเลือดโป่งพองที่สมองคิดเป็น 1 คนในทุกๆ 50 คน แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่เคยมีอาการหรือเกิดปัญหาขึ้นก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 27,000 คนต่อปีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการที่เส้นเลือดสมองที่โป่งพองเกิดการแตกออก และมีผู้ที่เสียชีวิจากเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองประมาณ 14,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ 75% เกิดจากเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองในช่องท้อง ผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพองมากที่สุด ในขณะที่ผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากที่สุด
กลุ่มอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงโป่งพองก็คือผู้ที่
- สูบบุหรี่
- มีประวัติครอบครัวที่มีเส้นเลือดโป่งพอง
- มีความดันโลหิตสูง
- มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
- เป็นกลุ่มอาการ Marfan (เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)
- เนโรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษา
- มีการติดเชื้อ
- เกิดอุบัติเหตุ
อาการแสดงของการมีเส้นเลือดโป่งพอง
บางครั้งการที่เส้นเลือดมีการโป่งพองมากอาจทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาทหรือเนื้อเยื่อข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือสูญเสียการทำงานอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วการมีเส้นเลือดโป่งพองนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าเริ่มมีเลือดออกหรือกำลังจะแตก อาการแสดงนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับตำแหน่งที่มีเส้นเลือดโป่งพอง เช่นปวดมาก (ปวดหัวรุนแรง ปวดตึบๆ หรือปวดขึ้นฉับพลันที่ท้อง ทรวงอก และ/หรือหลัง) เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน และหมดสติ
การวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพอง
การวินิจฉัยภาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเกี่ยวกับโรคอื่น การตรวจที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้ได้อาจประกอบด้วยการทำเอกซเรย์ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการใส่สารทึบรังสีเพื่อให้มองเห็นเส้นเลือดแดง
การรักษาภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
เส้นเลือดโป่งพองขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ต้องติดตามว่ามีการโตขึ้นหรือไม่ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการใช้ยาเพื่อช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดเพื่อลดโอกาสที่บริเวณที่โป่งพองจะเกิดการแตกออก เส้นเลือดโป่งพองที่สมองอาจสามารถรักษาได้โดยการใส่คลิปตัวเล็กๆ เข้าไปยังบริเวณที่มีการโป่งพอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดเข้าไปยังบริเวณนั้นและทำให้โป่งพองมากขึ้น เส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีการโป่งพองที่มีขนาดใหญ่ หรือเริ่มมีเลือดออกเข้ามายังผนังของเส้นเลือดแดงอาจจะต้องใช้การผ่าตัดรักษา การผ่าตัดอาจทำผ่านแผลผ่าตัดเปิดหรือโดยการใส่เครื่องมือผ่านเส้นเลือดเข้าไปยังบริเวณที่โป่งพองก็ได้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ