ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

การรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพอง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ไม่ใช่ว่าคนเป็นโรคหลอดเลือดโป่งพองทุกคนจะต้องผ่าตัดหรือรักษาแบบเชิงรุก (aggressive treatment)

หลอดเลือดโป่งพองที่มีขนาดเล็กและไม่แสดงอาการใดๆอาจไม่จำเป็นต้องรักษาเลย หลอดเลือดโป่งพองขนาดใหญ่หรือรั่วจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้มันเจริญเติบโตไปมากกว่านี้และไม่ให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลง หลอดเลือดโป่งพองที่แตกต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาโดยการเฝ้าระวัง

คนที่เป็นโรคหลอดเลือดโป่งพองแต่ไม่แสดงอาการอาจต้องใช้วิธีติดตามอย่างใกล้ชิดและรอบคอบ โดยวิเคราะห์จากภาพ (จากการเอ็กซเรย์ อัลตราซาวน์ ทำCT หรือMRI) เป็นระยะๆ ถ้าหลอดเลือดโป่งพองโตขึ้นเป็นอย่างมากหรือเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษา

ยารักษาโรค

เพราะความดันโลหิตสูงอาจทำให้หลอดเลือดที่โป่งพองอ่อนแอลง ทั้งยังเสี่ยงที่จะรั่วหรือแตกมากขึ้น การใช้ยาความดันโลหิตตามแพทย์สั่งจึงเป็นเรื่องสำคัญ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด (โดยเฉพาะยาลดความดันกลุ่ม calcium channel blocker และกลุ่ม beta blockers) จะช่วยให้ผนังหลอดเลือดผ่อนคลาย ลดความเสี่ยงต่อการแตกของหลอดเลือด

การผ่าตัดหลอดเลือดสมองโป่งพอง

หลอดเลือดสมองโป่งพองอาจรักษาได้ด้วยกระบวนการใส่คลิปหนีบที่บริเวณฐานของเส้นเลือดโป่งพอง ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลเข้าไปในเส้นเลือดที่โป่งพองและป้องกันไม่ให้เส้นเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ลวดแพลทตินัมจะถูกส่งผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดแดงในร่างกายเพื่อให้เข้าไปขดอยู่ภายในหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง เข้าไปปิดกันการไหลเวียนเลือดและไม่ให้หลอดเลือดที่โป่งพองนั้นขยายตัว Flow diverters เป็นอุปกรณ์ที่นำทางการไหลเวียนเลือดผ่านเส้นเลือดแดง เข้าไปติดอยู่ที่หลอดเลือดโป่งพอง เป็นผลให้หลอดเลือดโป่งพองนั้นถูกปิดกั้น ถ้าหลอดเลือดสมองโป่งพองเกิดแตกขึ้นมา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการผ่าตัดเอาเลือดออกจากกะโหลกหรือเอาของเหลวส่วนเกิน(ที่มาจากการแตกของเส้นเลือด)ออกจากสมอง

การผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกหรือช่องท้องโป่งพอง

การผ่าตัดเพื่อรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่มีขนาดใหญ่ รั่ว หรือแตก มีอยู่ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่:

การผ่าตัดแบบเปิด (Open repair): แพทย์จะผ่าเป็นรอยขนาดใหญ่แล้วเอาหลอดเลือดที่โป่งพองและส่วนของเส้นเลือดแดงใหญ่ออก จากนั้นจะเอาหลอดเลือดเทียมขนาดยาวที่เรียกว่า graft มาใส่แทนที่

การใส่ท่อขดลวด (Endovascular stenting): หลอดเลือดเทียมที่ยังแฟบอยู่จะถูกส่งผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดแดงในร่างกายไปยังบริเวณที่หลอดเลือดแดงโป่งพอง เมื่อไปถึงบริเวณเป้าหมายแล้ว หลอดเลือดเทียมนี้จะขยายใหญ่ขึ้นให้สามารถอยู่ภายในหลอดเลือดแดงใหญ่ได้พอดี

เลือดจะสามารถไหลผ่านหลอดเลือดเทียมนี้ไปได้โดยไม่ไหลเข้าไปในหลอดเลือดที่โป่งพองได้อีกต่อไป

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
อาการ
อาการ
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)