กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สถิติของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง

โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งพบได้บ่อยกว่าที่คุณคิด
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สถิติของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง

หากคุณเพิ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder: BPD) คุณอาจรู้สึกตกตะลึง หวาดกลัว และโดดเดี่ยว 

แต่โรคนี้พบได้บ่อยกว่าที่คุณคิด การเรียนรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรค รวมถึงความชุกทางสถิติอาจทำให้คุณรู้สึกมีความกล้าที่จะมองหาความช่วยเหลือจากการรักษาและกลุ่มที่ให้การสนับสนุน และต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและข้อมูลทางตัวเลขเกี่ยวกับโรคนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความชุกของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง

การศึกษาเร็ว ๆ นี้ในสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า 1.6% ของประชากรเป็นโรคนี้

ตัวเลขอาจจะดูน้อย แต่หากคุณพิจารณาว่า สหรัฐอเมริกากว้างใหญ่แค่ไหน คุณอาจระลึกได้ว่า 1.6% ก็หมายถึง คนจำนวนมากทีเดียว กล่าวคือมีคนที่เป็นโรคนี้มากกว่าสี่ล้านคนในอเมริกาเท่านั้น 

จำนวนผู้เป็นโรคนี้ทั้งหมดยังไม่รู้แน่ชัดเหมือนในโรคอื่นๆ แต่ที่จริงแล้วโรคนี้สามารถพบได้บ่อยกว่าความเจ็บป่วยเช่นโรคจิตเภท (Schizophrenia) เสียอีก

ความแตกต่างระหว่างเพศในโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง

ผู้หญิงมีแนวโน้มจะถูกวินิจฉัยเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย ที่จริงแล้ว ประมาณ 75% ของผู้ที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคนี้เป็นผู้หญิง นั่นคืออัตราส่วนระหว่างหญิงต่อชายที่ถูกวินิจฉัยด้วยโรคนี้จะเป็น 3:1 

ผู้ศึกษาวิจัยยังไม่ทราบว่าทำไมจึงมีความแตกต่างนี้ อาจเป็นได้ว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งได้มากกว่า ผู้หญิงอาจมีแนวโน้มจะติดตามรักษามากกว่า หรืออาจมีอคติทางเพศในการวินิจฉัย 

เช่น ผู้ชายที่มาด้วยอาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งอาจมีแนวโน้มจะถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นภาวะอื่น เช่นโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (post-traumatic stress disorder) หรือโรคซึมเศร้า (major depressive disorder)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งกับสถิติของการฆ่าตัวตาย

ข้อมูลบางอย่างทางสถิติที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง มาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งและการฆ่าตัวตาย ประมาณ 70% ของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความพยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 

ยิ่งไปกว่านั้น 8-10% ของผู้ป่วยจะฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ซึ่งมากกว่า 50 เท่าของอัตราการฆ่าตัวตายในประชากรปกติ

สาเหตุที่อัตราการฆ่าตัวตายสูงนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งไม่ทราบว่าจะไปรับการรักษาได้ที่ใด หรืออาจถูกวินิจฉัยผิดพลาดและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งและการวินิจฉัยผิดพลาด

แม้ว่า 1.6% จะเป็นตัวเลขของผู้เป็นโรคนี้ที่ถูกบันทึกไว้ แต่ความชุกที่แท้จริงอาจจะมากกว่านั้น ในการศึกษาเร็ว ๆ นี้ กว่า 40% ของผู้ที่เป็นโรคนี้เคยถูกวินิจฉัยผิดพลาดเป็นโรคอื่น เช่น โรคไบโพล่าร์ หรือโรคซึมเศร้า ความเจ็บป่วยเหล่านี้มักถูกอ้างถึงบ่อยกว่า เนื่องจากเป็นที่รู้จักกันมากกว่าและรักษาทางยาได้ง่ายกว่า

โดยถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่เป็นโรคโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งจะมีโรค หรือภาวะอื่นร่วมด้วย ในความเป็นจริงแล้วผู้เป็นโรคนี้มากถึง 20% ถูกพบว่ามีโรคไบโพล่าร์ร่วมด้วย ซึ่งทำให้การวินิจฉัยและการรักษายากกว่าการรักษาโรคเพียงโรคเดียว

สถิติทางการพยากรณ์โรค

ข่าวดีคือ แม้ว่าโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งจะเป็นความผิดปกติทางจิตที่รุนแรง แต่ไม่ได้เลวร้ายขนาดการต้องโทษตลอดชีวิต การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพยากรณ์โรคสำหรับโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งไม่ได้แย่เท่าที่คิด 

กว่าครึ่งของผู้ที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่งจะมีอาการไม่ถึงเกณฑ์การวินิจฉัยในอีกสองปีต่อมา และในอีกสิบปีต่อมา 88% ของผู้ป่วยที่เคยถูกวินิจฉัยจะไม่มีอาการที่เข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยอีก


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
psychologytoday, Borderline Personality Disorder (https://www.psychologytoday.com/intl/conditions/borderline-personality-disorder), 02/22/2019
Kristalyn Salters-Pedneault, PhD , Understanding Borderline Personality Disorder (BPD) (https://www.verywellmind.com/what-is-borderline-personality-disorder-bpd-425487), November 19, 2019
nhs.uk, Borderline personality disorder (https://www.nhs.uk/conditions/borderline-personality-disorder/), 17 July 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)

คุณสามารถทำให้ความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งเป็นไปได้ด้วยดีไหม?

อ่านเพิ่ม
การเลือกชุดไปงานแต่งงาน
การเลือกชุดไปงานแต่งงาน

เพราะเครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงรสนิยมและกาลเทศะได้เป็นอย่างดี จึงต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ

อ่านเพิ่ม