เหมือนกับตัวอย่างอื่นๆ ของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder หรือ BPD ตัวอย่างที่นำเสนอนี้เป็นเรื่องสมมติ "จอร์แดน" ซึ่งไม่ได้เป็นคนจริงๆ แต่อาจมีความคล้ายคลึงระหว่างบทบาทสมมติและบทบาทจริง
นั่นถือเป็นเรื่องบังเอิญ อาการและพฤติกรรมที่อธิบายต่อไปนี้ เป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของจอร์แดนเป็นลักษณะที่แตกต่างแม้กระทั่งในวัยเด็ก
แม้ขณะที่จอร์แดนเป็นทารกเล็กๆ ก็มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างมาก เธอตอบสนองเหตุการณ์ต่างๆ อย่างรุนแรง อารมณ์เสียง่ายมาก ปรับตัวกับคนใหม่ๆ หรือสถานที่ใหม่ๆ ค่อนข้างยาก มักรู้สึกไม่สะดวกสบาย
การที่เธอเป็นเพียงเด็กทารก อาจเร็วเกินไปที่จะยึดเป็นความกังวลของพ่อแม่ ซึ่งมักสันนิษฐานว่าทารกทุกคนมีความแตกต่างกันและพฤติกรรมของจอร์แดนเป็นแค่เพียงอาการ "โตเร็วไป"
พฤติกรรมในวัยเด็กของจอร์แดนมักไม่มีการพัฒนาที่ดีขึ้น
เมื่ออายุมากขึ้น จอร์แดนเหมือนไม่ได้โตตามวัย ยังคงอารมณ์เสียง่าย ปรับตัวยาก แยกตัวจากคนอื่น วิตกกังวลรุนแรง ประมาณว่า ถ้าแม่ของเธอก้าวออกจากห้องไป จอร์แดนจะกรีดร้องจนกระทั่งแม่ของเธอกลับเข้ามา พ่อแม่โดยมากไม่ได้กังวลมากนัก
ความกลัวการแยกจากเป็นอาการทั่วไปของเด็กเล็ก จอร์แดนอาจมีอารมณ์หวานแหววร่วมด้วย ทำให้เป็นเด็กที่น่ารักมากที่สุดคนหนึ่งมีช่วงเวลาที่ดีๆ ด้วยกันกับพ่อแม่
จอร์แดนมีพฤติกรรมเลวร้ายมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
ทุกสิ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อจอร์แดนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นกลายเป็นว่า ช่วงเวลาดีๆ มีน้อยลงทุกที เมื่อเธอกลายเป็นคนหน้าบูดบึ้งและเกรี้ยวกราด เริ่มทำอาการหน้ายักษ์มากขึ้นและมากขึ้น ตะโกนใส่ผู้ปกครองและครู มีพฤติกรรมรุนแรง เช่น หนีออกจากบ้าน
บางช่วงสั้นๆ จอร์แดนจะมีเพื่อนสนิทหนึ่ งหรือสองคนที่โรงเรียน แต่จะไม่ใช่เพื่อนที่คบกันนานๆ มักมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอๆ และมักเป็นการสิ้นสุดของมิตรภาพ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จอร์แดนมักพูดถึงความรู้สึกโดดเดี่ยว เบื่อหน่าย ไม่มีใครเข้าใจ พ่อแม่เริ่มเป็นกังวลเกี่ยวกับเธอ แต่คิดว่า อาจเป็นพฤติกรรมแบบวัยรุ่นทั่วไปหรือเปล่า? พวกเขาจึงยังไม่พร้อมที่จะขอความช่วยเหลือ
เมื่อจอร์แดนอายุ 17 ปี ชีวิตที่บ้านก็เริ่มจะควบคุมยากขึ้น เธอเรื่มมีอารมณ์แปรปรวน เปลี่ยนแปลงแบบนาทีต่อนาทีแบบไม่สามารถคาดเดาได้ ทะเลาะกับพ่อแม่แทบทุกวัน ตะโกนและขว้างปาสิ่งของ บางวันก็กลัวที่จะอยู่โดยไม่มีแม่ อีกวันก็โกรธจัดหายจากบ้านไปหลายๆ วัน
วันหนึ่งแม่ของเธอก็สังเกตเห็นรอยแผลเป็นบนแขนของจอร์แดน เธอบอกว่า โดนแมวข่วนก่อนจะยอมรับว่า เป็นการทำร้ายตัวเองเพราะรู้สึกเหงาและเบื่อ และเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เธอรู้สึกดีขึ้น ตอนนี้พ่อแม่เริ่มรู้แล้วว่า ต้องหาวิธีช่วยจอร์แดน
การรักษาจอร์แดน ในครั้งแรกมีการวินิจฉัยที่ผิดพลาด
พ่อแม่ของจอร์แดนพาไปปรึกษาจิตแพทย์ในพื้นที่ที่ยอมรับการประกันสุขภาพครอบครัว จิตแพทย์ใช้เวลาพูดคุยและรับฟังอาการจากเธอและพ่อแม่ จากการประเมินอาการ จิตแพทย์วินิจฉัยว่า จอร์แดนเป็นโรคอารมณ์สองขั้วและให้ยาปรับอารมณ์ ยาปรับอารมณ์ดูเหมือนจะทำให้อาการดีขึ้น
จอร์แดนและพ่อแม่ก็คาดหวังว่าทุกสิ่งจะดีขึ้น พ่อแม่เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคอารมณ์สองขั้วเพื่อที่จะเข้าใจและสามารถช่วยฟื้นฟูอาการของเธอให้ดีขึ้น แต่หนังสือที่พวกเขาอ่านอาจไม่ตรงกับอาการลูกสาวมากนัก
ยกตัวอย่างเช่น จอร์แดนมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและบ่อยครั้ง ในขณะที่โรคอารมณ์สองขั้วมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่บ่อยนัก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การวินิจฉัยภาวะจอร์แดนอย่างถูกต้องในที่สุด
วันหนึ่งขณะที่จอร์แดนยังคงได้รับการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว เธอได้เข้าไปในอินเตอร์เนตและสะดุดกับคำอธิบายอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง เธอรู้สึกว่า เป็นครั้งแรกที่มีคนอื่นเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเธอ
เมื่อเรียกแม่ของเธอมาดู ทั้งคู่ก็เหมือนได้พบคำตอบที่ใช่จากอินเตอร์เนต แม่ของจอร์แดนได้ค้นชื่อผู้เชี่ยวชาญในภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งในพื้นที่และทำการนัดหมายกับจิตแพทย์ที่พบกับจอร์แดนหลายต่อหลายครั้ง
ในการตรวจครั้งที่สาม จิตแพทย์คนใหม่ก็ยืนยันว่ าจอร์แดนมีอาการแสดงที่ตรงกับภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง พร้อมทั้งได้อธิบายแนวทางการรักษาที่มีอยู่รวมทั้งการใช้ยาและวิธีจิตบำบัด เมื่อได้รับการรักษาแบบผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง จอร์แดนก็สามารถควบคุมอาการได้ดีขึ้น
ในวัยอายุ 23 ปี จอร์แดนยังคงมีอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง แต่การรักษาด้วยยาและพฤติกรรมบำบัดวิภาษ (Dialectical Behavior therapy หรือ DBT) ทำให้อาการของเธอลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองอีกต่อไป เธอได้ทำงาน part-time และมีเพื่อนสนิทหลายคน จอร์แดนยังคงมีอาการที่รู้สึกจมดิ่งกับปัญหา ความโกรธ และความสัมพันธ์ โชคดีที่เธอได้เรียนรู้ทักษะที่ช่วยให้เธอกลับสู่ปกติและสามารถควบคุมและจัดการอาการเหล่านั้นได้เมื่อมีอาการเกิดขึ้น
สรุปอาการภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งแบบจอร์แดน (Jordan’s)
กรณีของจอร์แดนเป็นเพียงหนึ่งในหลายตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ซึ่งมีอาการแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น
- บางคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งมีครอบครัวสนับสนุนดีเหมือนจอร์แดน ในขณะที่คนอื่นอาจเติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เจ็บปวด (มีชีวิตที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง)
- บางคนเริ่มแสดงอาการภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งในวัยรุ่นตอนต้นในขณะที่คนอื่นๆ ไม่แสดงอาการใดๆ เลย จนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลาย
- หลายคนไม่ได้มีการตอบสนองต่อการรักษาภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งดีเหมือนจอร์แดน แต่หลายๆ คนก็ตอบสนองดี