กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

จะช่วยเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD) ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

การเป็นเพื่อนที่ดีของคนที่มีอาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD)
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
จะช่วยเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder; BPD) ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

การเป็นเพื่อนที่ดีของคนที่มีอาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) ไม่ได้ทำง่าย ๆ หรืออาจช่วยอะไรไม่ได้เลย  โดยเฉพาะเวลาที่เพื่อนของคุณรู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก หรือไม่สามารถควบคุมตนเองได้ 

หลักการปฏิบัติดังต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณเป็นเพื่อนที่ดีกับคนที่มีมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งได้ง่ายขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลองตรวจสอบความรู้สึกเพื่อนคุณในสิ่งที่เขาประสบพบเจอมาในอดีต

สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเพื่อนที่มีภาวะ บุคลิกภาพผิดปกติชนิด คือ การใช้เวลาในการฟังและประเมินความรู้สึกของเขา แต่คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นในการประเมินสถานการณ์ หรือคล้อยตามอารมณ์รุนแรงของเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง 

เนื่องจากอารมณ์รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของความผิดปกติ เพียงบอกให้เขารู้ว่า คุณเข้าใจความรู้สึกและความยากลำบากที่เขาต้องเผชิญอยู่ก็เพียงพอ

การได้รับการตรวจสอบความรู้สึกจากผู้อื่นจะช่วยบรรเทาอาการได้

หลายๆ คนเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้อารมณ์รุนแรง และไม่คาดหวังว่า จะมีใครมาใส่ใจความรู้สึก หลายคนแม้จะไม่ได้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้อารมณ์รุนแรง แต่ลักษณะของความผิดปกติของโรค ทำให้คุ้นเคยกับการถูกกล่าวว่ากระทำเกินเลย หรือกระทำที่มากเกินไป 

ดังนั้นการรู้สึกว่า มีคนมาสนใจ (โดยไม่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง) จะเป็นการช่วยรักษาอาการที่มีประสิทธิภาพ

เรียนรู้เกี่ยวกับอาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder)

ถ้าคุณมีเพื่อนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งการรู้และเข้าใจอาการผิดปกติเป็นสิ่งจำเป็น แม้นว่ามิตรภาพกับเพื่อนที่มีภาวะ บุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งจะแข็งแกร่ง แต่คุณควรรู้ว่า สิ่งที่คาดหวังคืออะไร

บางครั้งผู้ที่มีภาวะ บุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง  มีพฤติกรรมชอบสั่งการคนอื่น ใจแคบ ไม่สร้างสรรค์ จึงควรเข้าใจความผิดปกติเหล่านี้เพื่อให้รับรู้พฤติกรรม  เข้าใจถึงอาการทุกข์ทรมานภายในของเพื่อนของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำความเข้าใจกับพฤติกรรมเหล่านี้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำร้ายใคร  ทั้งยังช่วยให้คุณสร้างความเห็นอกเห็นใจเพื่อนคุณมากขึ้นด้วย

บทความที่ครอบคลุมพื้นฐานของภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

บทความเหล่านี้จะช่วยให้การเริ่มต้นมิตรภาพง่ายขึ้น

  • ภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) คืออะไร?
  • อาการที่เกิดจากภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD)
  • การอยู่อาศัยกับผู้มีภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD)
  • สาเหตุความผิดปกติของผู้มีภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD)
  • การรักษาความผิดปกติของภาวะบุคลิกผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD)

สนับสนุนความพยายามในการรักษาจากแพทย์

การบังคับให้เพื่อนของคุณรับการรักษาจากแพทย์มักได้ผลไม่ดีนัก แม้ว่าเขาต้องการรักษาก็ตาม (ยกเว้นในสถานการณ์ฉุกเฉินดังรายละเอียดในบทความเรื่อง “What To Do in a Crisis ควรทำอะไรในช่วงวิกฤต")

คุณควรสนับสนุนเมื่อเขาตัดสินใจเข้ารับการรักษา บอกเพื่อนของคุณว่า คุณภูมิใจที่เขาตัดสินใจเช่นนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญ เขาอาจจะต้องการการสนับสนุนด้านอื่น ๆ เช่น การนัดหมายต่าง ๆ  การไปโรงพยาบาล ทำให้เพื่อนของคุณตระหนักอย่างมากว่าคุณอยู่ข้าง ๆ เขาตลอดเวลา 

อย่าละเลย สัญญาณอันตราย

ท่าทางอยากฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่พบบ่อยในผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง บางคนกระทำอาการเช่นนี้บ่อยมาก จนครอบครัวและเพื่อน ๆ เริ่มคุ้นเคยกับพฤติกรรมเช่นนี้

แม้ว่าเพื่อนของคุณได้ทำท่าทางฆ่าตัวตายแต่ไม่ได้ตายจริง ในอดีตคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง มักมีความเสี่ยงสูงมาก ในสถิติพยายามฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตายสำเร็จสูงถึง 10% 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ด้วยเหตุนี้แม้ว่าคุณจะคิดว่าเขาคงไม่ทำจริง แต่อย่าละเลยสัญญาณอันตรายนี้ ควรเรียกหน่วยฉุกเฉินทุกเวลาที่มีความเสี่ยงว่าเพื่อนของคุณอาจเป็นอันตราย ปล่อยให้มืออาชีพตัดสินใจว่ามีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองหรือไม่

คุณก็ควรต้องดูแลตัวเองด้วย

มิตรภาพกับคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งนั้น อาจจะเป็นสัมพันธภาพที่ไม่สมดุล คุณอาจเป็นผู้ให้มากมากกว่าผู้รับ แม้จะไม่เป็นไปแบบ 50-50 ทุกครั้ง ทำให้เกิดมิตรภาพที่ตึงเครียดได้

นอกจากนี้มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเพื่อนๆ และครอบครัวที่ดูแลผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง มีแนวโน้มมีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร วิตกกังวล ซึมเศร้า และไม่ไว้วางใจ การให้มากเกินไปจะก่อความรู้สึกไม่พอใจ เบื่อหน่าย ซึ่งอาจนำไปสู่จุดที่ต้องการยุติความสัมพันธ์เพื่อรักษาสุขภาพของคุณเอง

โดยในระยะยาวแล้ว เพื่อนสำหรับคนที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ควรเป็นใครสักคนที่มั่นคง ไว้ใจได้ มากกว่าเพื่อนที่เต็มร้อยเต็มที่ทุกอย่าง แต่เพียงไม่กี่เดือนก็หายไปตลอดกาล 

นั่นจึงจำเป็นมากที่คุณต้องดูแลตัวเอง ใช้เวลาพัก ห่างจากเพื่อนของคุณเมื่อมีความจำเป็นบ้าง และสร้างขอบเขตที่ดีเพื่อให้คุณสามารถได้รับการเติมเต็มความต้องการของคุณ

เหมือนจะพูดง่ายแต่ทำยาก  แต่คุณต้องมีทักษะในการสื่อสาร การแสดงออกที่เหมาะสมและเพียงพอ ตระหนักรู้ในภาวะของตัวเอง  และเข้าใจสถานการณ์เมื่อถึงเวลาต้องยื้อหรือพัก 

แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีมิตรภาพระยะยาวกับคนที่มีมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ถ้าคุณเข้าใจและใส่ใจกับอาการของโรคเพียงพอ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Julie Revelant, How to Cope When a Partner or Spouse Has Borderline Personality Disorder (https://www.everydayhealth.com/bpd/tips-couples-living-with-borderline-personality-disorder/)
Kristalyn Salters-Pedneault, How to Be a Good Friend to Someone With BPD (https://www.verywellmind.com/how-to-help-a-friend-with-bpd-425221)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป