กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

10 ทักษะการรับมือที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

วิธีที่จะช่วยจัดการอาการของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งของคุณในทุก ๆ วัน
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
10 ทักษะการรับมือที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

เมื่อคุณมีอารมณ์ที่รุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณในการรู้ตัวว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ และหากคุณเป็นโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) อาจจะส่งผลให้อารมณ์ของคุณนั้นจะมีมากอย่างล้นหลาม

อาการโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) ยังรวมไปถึงอารมณ์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ พฤติกรรมการทำร้ายตนเอง การฆ่าตัวตาย ประสบการณ์ของการมีพฤติกรรมรุนแรง ความอ่อนไหวต่อปัญหาในความสัมพันธ์ หรือพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณอาจจะมีการตอบสนองทางด้านอารมณ์ที่ค่อนข้างรุนแรง และมีความยากลำบากในการจัดการกับสิ่งเหล่านั้น แต่โชคไม่ดีที่หลาย ๆ คนซึ่งเป็นโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งหันกลับไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพในการพยายามที่จะรับมือกับบาดแผลทางจิตใจ เช่น ความรุนแรง การทำร้ายตัวเอง หรือ การใช้สารเสพติด

ในบทความนี้ ทางเราจะขอแนะนำ 10 ทักษะการรับมือที่จะช่วยลดการแก้ไขปัญหาการพัฒนาการทางด้านอารมณ์และอาการอื่น ๆ ของ โรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

ทักษะการรับมือคืออะไร?

เพราะการแก้ไขปัญหาการพัฒนาการด้านอารมณ์เป็นลักษณะหลักของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง ซึ่งหลายวิธีรักษาโรคนี้จะเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการรับมือเพื่อจัดการอารมณ์ที่รุนแรง 

และจริง ๆ แล้วทักษะการรับมือคืออะไร? ซึ่งมีหลายวิธีที่เป็นผลดีต่อสุขภาพในการจัดการกับสถานการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้น

ทำไมควรเรียนรู้ทักษะการรับมือใหม่ๆ?

ทำไมการเรียนรู้ทักษะการรับมือใหม่ๆ ที่ทำให้มีสุขภาพดีจึงสำคัญ นี่เป็นเพราะว่าถ้าคุณได้เรียนรู้ทักษะเหล่านี้แล้วคุณอาจจะสามารถ

  • ลดความรุนแรงของความเครียดทางอารมณ์ที่รู้สึก
  • ลดความเป็นไปได้ที่อาจจะแสดงความรุนแรงออกมา (เช่น พฤติกรรมทำร้ายตนเอง) เพื่อที่จะพยายามหลบหนีความเครียดทางอารมณ์
  • ลดความเป็นไปได้ที่จะข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะทำลายความสัมพันธ์ (เช่น ความก้าวร้าวทางร่างกาย) เมื่อรู้สึกแย่
  • ปรับปรุงความสามารถของคุณเพื่อที่คุณจะปรับตัวได้ดีแม้อยู่ในสถานการณ์ที่เครียด
  • สร้างความมั่นใจให้กับความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากต่างๆของคุณ
  • ลดประสบการณ์ทั้งหมดของการแก้ไขปัญหาการพัฒนาการด้านอารมณ์ของตัวคุณอย่างสิ้นเชิง

ทักษะการรับมือเมื่อเกิดความเครียด

ยังมีทักษะการรับมือเป็นพัน ทักษะที่ผู้คนใช้ในการจัดการกับสถานการณ์ความเครียด และอารมณ์ที่รุนแรงที่เกิดจากสถานการณ์เหล่านั้น และนี่คือทักษะการรับมือที่เห็นผลอย่างมากสำหรับหลาย ๆ คน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เล่นดนตรี 

การเล่นดนตรีจะช่วยสร้างอารมณ์ตรงกันข้ามกับอารมณ์ที่คุณกำลังสู้กับมันอยู่ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังรู้สึกเศร้าให้เลือกเล่นดนตรีที่สร้างความสุขและทำให้คุณมีความหวัง แต่หากคุณกำลังรู้สึกกังวลใจให้ลองเลือกเล่นดนตรีที่มีจังหวะที่ช้าและผ่อนคลาย  

ทำอะไรบางอย่าง    

ในบางครั้งทักษะการรับมือนี้ก็มีชื่อที่เรียกกันอีกชื่อว่า "กิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางบวก" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะทำให้คุณตัวคุณมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก แต่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์นั้นไม่นับ 

เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดิน การเต้น ทำความสะอาดบ้าน หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ตัวคุณมีส่วนร่วม หรือดึงความสนใจของตัวคุณจากอารมณ์ ณ ปัจจุบัน    

การหาความช่วยเหลือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การหาความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ จะสามารถช่วยคุณได้อย่างแน่นอนเมื่อคุณกำลังต่อสู้กับอารมณ์ที่รุนแรง ให้โทรหาเพื่อนที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ หรือคนในครอบครัวของคุณเอง หรืออาจติดต่อสายด่วนสุขภาพจิตเพื่อขอความช่วยเหลือ

ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านไป

จุดที่สูงที่สุดของการตอบสนองต่ออารมณ์ที่รุนแรงที่สุด และสามารถกระตุ้นให้เราทำกิจกรรมที่อันตรายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีและเริ่มที่ลดลงเรื่อย ๆ ให้ลองหยิบเครื่องจับเวลาต้มไข่จากห้องครัวแล้วทำการจับเวลา 10 นาที รอ 10 นาที เพื่อที่จะฝึกการปล่อยอารมณ์ให้มันผ่านไป

มีสติ

ฝึกสติของอารมณ์ของคุณในการเข้าใจอารมณ์ที่คุณเป็นอยู่และยอมให้ตัวคุณเองได้สัมผัสอารมณ์เหล่านั้นเสมือนคลื่นโดยที่ไม่ต้องไป ขัดขวาง กด หรือยึดติดกับอารมณ์นั้นๆ พยายามยอมรับอารมณ์ที่คุณเป็นอยู่ และพยายามที่จะอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่เอาอารมณ์เก่า ๆ มาปนกับอารมณ์ปัจจุบัน

ตั้งมั่นในอารมณ์ของคุณ

เมื่ออารมณ์ต่างที่จะนำพาคุณหลุดออกจากสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น เมื่อคุณเริ่มรู้สึก ใจลอย คุณควรทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ตั้งมั่นในอารมณ์ของคุณ อาจจะหยิบก้อนน้ำแข็งแล้วกำไว้ในมือก็ได้ หรือถูหนังยางไว้บนมือ เพื่อดึงตัวคุณออกจากความคิดในเชิงลบ

หายใจเข้าลึก ๆ

การหายใจเข้าลึกๆ เป็นหนึ่งในวิธีการผ่อนคลายที่เรียบง่ายที่สุด ซึ่งการนั่ง หรือเอนตัวลงในที่เงียบสงัด แล้วดึงความสนใจไปที่การหายใจของคุณอย่างเดียว จงหายใจให้ทั่วท้อง อย่างช้าๆ และลึกๆ แล้วมองดูในขณะที่ท้องคุณพองและยุบในแต่ละอึดใจ 

วิธีนี้จะช่วยให้คุณยึดมั่นในอารมณ์ของคุณในปัจจุบัน หากการหายใจเข้าลึกๆ ยังไม่เพียงพอต่อการผ่อนคลายให้ลองฝึกการผ่อนคลายอีกแบบ คือ การคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วน

สวดมนต์

การเข้าร่วมการปฏิบัติธรรม สวดมนต์ เข้าวัด ทำบุญบ่อยๆ จะยิ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ในช่วงเวลาที่คุณกำลังเครียดสูง

อาบน้ำอุ่น

การพยายามที่จะลดความเป็นตัวเองเมื่อคุณได้สัมผัสน้ำอุ่น หรือกลิ่นของสบู่ หรือการยอมให้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนความสนใจของคุณจากสถานการณ์ที่คุณรู้สึกแย่และสนใจในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณ

ช่วยผู้อื่น

การให้สิ่งที่ดีๆ แก่ผู้อื่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ คุณเพียงแค่เดินไปที่ร้านค้าที่ใกล้ที่สุดเพื่อซื้อหมากฝรั่งและมอบรอยยิ้มให้กับพนักงานเก็บเงินแล้วพูดว่า ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีสำหรับคุณนะ 

มันอาจจะฟังดูเป็นเรื่องตลกแต่การแสดงออกเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจจะช่วยลดบาดแผลทางอารมณ์ของคุณได้

การเรียนรู้ทักษะการรับมือที่มีสุขภาพดียิ่งกว่า

คุณพร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะการรับมือในวิธีใหม่ที่เป็นประโยชน์มากกว่าแล้วหรือยัง วิธีหนึ่งที่จะทำคือ การรักษาทางด้านจิตใจสำหรับโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง 

รวมถึงการรักษาความคิดและพฤติกรรม เช่น Dialectical Behavior Therapy (DBT) ที่จะเน้นเรื่องการสอนทักษะการรับมือที่ดีต่อสุขภาพเพื่อจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรง ซึ่งมีสื่อออนไลน์สามารถช่วยคุณหานักบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือผู้ให้ความรู้เรื่อง DBT


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป