กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ถาม-ตอบ รังนกมีคุณค่าทางโภชนาการ

รังนกเป็นสุดยอดอาหารจริงหรือไม่ มีสารอะไรอยู่บ้าง หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ถาม-ตอบ รังนกมีคุณค่าทางโภชนาการ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • รังนกสร้างมาจากน้ำลายของนกแอ่นกินรัง (Edible nest Swiftlet) ที่คายออกมาในการทำรัง
  • รังนกแอ่นกินรังประกอบด้วยสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับสารอีพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์ (Epidermal Growth Factor หรือ EGF) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวและช่วยสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสลายไป ทำให้ผิวพรรณดูสดใสและยืดหยุ่นขึ้น
  • รังนกแอ่นกินรังมีสารที่มีฤทธิ์ทางชีวเคมีในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายกับเชื้อไข้หวัดใหญ่
  • รังนกปลอมมักทำมาจากยางต้นไม้ชนิดหนึ่ง แม้จะใช้ในอาหารได้ปลอดภัย แต่ไม่เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย เพราะมีโปรตีนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นหากซื้อรังนกปลอมมาบริโภค นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเสี่ยงอ้วนและเสียเงินโดยใช่เหตุอีกด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ชาวจีนเชื่อว่า รังนกจะช่วยบำรุงหยินที่ปอด ช่วยให้ปอดชุ่มชื่น เสริมธาตุน้ำที่หลอดเสียงและหลอดลม บรรเทาอาการอักเสบของผิว ช่วยทำให้ชุ่มคอและสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับไต ม้าม ลดพลังหยาง ช่วยให้ผิวพรรณดี และส่งผลทำให้อายุยืนได้ด้วย 

ด้วยเหตุนี้รังนกจึงจัดเป็นอาหารของฮ่องเต้มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว นอกจากนี้ยังใช้รังนกเป็นอาหารฟื้นฟูสุขภาพ หรือยาโป๊ ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคปอด โรคกระเพาะ และโรคไต อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสงสัยว่า รังนกมีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รังนกคืออะไร

รังนกสร้างมาจากน้ำลายของนกแอ่นกินรัง (Edible nest Swiftlet) ที่คายออกมาในการทำรัง ธรรมชาติของนกแอ่นกินรัง เมื่อลูกนกเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่ใช้รังเดิมอีกแต่จะสร้างรังใหม่ขึ้นแทน จึงจะมีรังนกใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ 

ดังนั้นการเก็บรังนกแอ่นกินรังจึงเป็นการช่วยเปิดพื้นที่ให้นกแอ่นกินรังได้ทำรังใหม่ได้สะดวกขึ้น 

ประเทศไทยมีระบบสัมปทานรังนกแอ่นกินรังเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณการเก็บรังนก ระบบสัมปทานจะช่วยอนุรักษ์พันธุ์นกแอ่นกินรังให้อยู่รอดเพราะมีการดูแลพื้นที่อย่างเข้มงวดและดำเนินการรักษาประชากรนกแอ่นกินรังให้คงอยู่ หรือเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้ผลผลิตมากขึ้นในฤดูกาลต่อๆ ไป 

เนื่องจากธรรมชาติของนกแอ่นกินรัง เมื่อลูกนกเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่ใช้รังเดิมอีก แต่จะสร้างรังใหม่ขึ้นแทน

ส่วนรังนกแอ่นกินรังแดง บางคนเชื่อว่าเกิดจากการสำรอกออกมาจนมีเลือดปน ความเชื่อนี้ไม่จริงแต่อย่างใด เพราะน่าจะมาจากอาหารและสภาพแร่ธาตุในถ้ำของถิ่นที่อยู่อาศัยมากกว่า

รังนกมีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารอาหารและสาประกอบในรังนกมากมาย ยกตัวอย่างรายงานสำคัญดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การศึกษาวิจัยในปี 1987 ของ Dr. Kong และคณะพบว่า รังนกแอ่นกินรังประกอบด้วยสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับสารอีพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์ (Epidermal Growth Factor หรือ EGF) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวและช่วยสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสลายไป ทำให้ผิวพรรณดูสดใสและยืดหยุ่นขึ้น
  • ปี 2006 Dr. Chao-Tan Guo และคณะจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า รังนกแอ่นกินรังมีสารที่มีฤทธิ์ทางชีวเคมีในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยไกลโคโปรตีนในรังนกแอ่นกินรังแท้จะทำหน้าที่จับกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ป้องกันไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าจับกับเซลล์ในร่างกายได้
  • ปี 2011 Dr. Matsukawa และทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น พบว่า สัตว์ทดลองที่กินสารสกัดจากนกแอ่นกินรังมีค่าปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นและมีค่าไฮดรอกซีโพรลีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างคอลลาเจนเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย รังนกแอ่นกินรังจึงอาจมีประโยชน์ในการเพิ่มมวลกระดูกและช่วยเรื่องผิวพรรณในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าของสารอาหารในรังนกแอ่นกินรังพบว่า ประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 60.90 แคลเซียมร้อยละ 0.85 น้ำร้อยละ 5.11 โพแทสเซียมร้อยละ 0.05 และฟอสฟอรัสร้อยละ 0.03

ปัจจุบันรังนกถูกจัดว่า เป็นอาหารฟังก์ชันที่นิยมดื่มกันในหมู่ชาวเอเชีย นักวิจัยยังคงทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์ว่า สารอาหารที่มีอยู่ในรังนกจะให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายดังที่เชื่อกันมานานจริงหรือไม่ 

รังนกปลอม

เนื่องจากรังนกแอ่นกินรังมีราคาแพงมาก จึงมีการผลิตรังนกปลอมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่าออกมาขาย

รังนกปลอมมักทำมาจากยางต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ “ยางคารายากัม” ซึ่งมาจากต้นสุพรรณิการ์ (Sterculia urens) มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ยางชนิดนี้ใช้ในอาหารได้ปลอดภัย แต่ไม่เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย 

รังนกแอ่นกินรังปลอมจะมีโปรตีนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นหากซื้อรังนกปลอมมาบริโภค นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว เรายังเสี่ยงอ้วนและเสียเงินโดยใช่เหตุอีกด้วย

ปัจจุบันสามารถตรวจสอบคุณภาพของรังนกแอ่นกินรังในห้องปฏิบัติการได้ โดยใช้วิธีทางเคมีและเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) 

ดังนั้นในการเลือกซื้อจึงควรพิจารณจากฉลากซึ่งระบุผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ และมีการรับรองมาเป็นเวลานาน มีเครื่องหมายรับรอง อย. รวมทั้งมีราคาที่เหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Marcone, Massimo. (2005). Characterization of the edible bird’s nest the “Caviar of the East”. Food Research International. 38. 1125-1134. 10.1016/j.foodres.2005.02.008. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/229123682_Characterization_of_the_edible_bird's_nest_the_Caviar_of_the_East)
Ma, Fucui & Liu, Daicheng. (2012). Sketch of the edible bird's nest and its important bioactivities. Food Research International. 48. 559–567. 10.1016/j.foodres.2012.06.001. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/257422916_Sketch_of_the_edible_bird's_nest_and_its_important_bioactivities)
Chan, Gallant Kar Lun & Wong, Zack & Lam, Kelly & Cheng, Lily & Zhang, Laura & Lin, Huangquan & Dong, Tina. (2015). Edible Bird’s Nest, an Asian Health Food Supplement, Possesses Skin Lightening Activities: Identification of N-Acetylneuraminic Acid as Active Ingredient. Journal of Cosmetics, Dermatological Sciences and Applications. 05. 262-274. 10.4236/jcdsa.2015.54032. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/284785696_Edible_Bird's_Nest_an_Asian_Health_Food_Supplement_Possesses_Skin_Lightening_Activities_Identification_of_N-Acetylneuraminic_Acid_as_Active_Ingredient)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป