October 31, 2018 22:19
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ในกรณีที่สงสัยว่าตัวเองมีความเครียดมากเกินไป มีอารมณ์เศร้าติดต่อกันนานมากเกินควร หรือมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเข้ามาอยู่เป็นระยะก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นเกิดจากการทำงานของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ร่วมกับอาจมีสาเหตุจากปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกอีกเล็กน้อยครับ
การรักษาโรคซึมเศร้านั้นจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยาเพื่อปรับการทำงานของสารเคมีในสมองให้กลับเข้าสู่สมดุลครับ ร่วมกับอาจรักษาด้วยวิธีการทำจิตบำบัด หรือวิธีอื่นๆ การพยายามรักษาด้วยตนเองนั้นอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะตราบใดที่สารเคมีในสมองยังทำงานผิดปกติอยู่ อารมณ์เศร้าก็มักจะยังไม่หายไปครับ
ในเบื้องต้นนั้นหมอจึงแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการให้แน่ชัดก่อน ในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าจริงทางจิตแพทย์ก็จะช่วยเหลือให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
นอกจากนี้ก็ควรมีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตนเองเพิ่มเติมจากการรักษาของจิตแพทย์โดยควรพยายามหากิจกรรมทำให้ตนเองได้ผ่อนคลาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงอาจหาคนที่ไว้ใจได้มาพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเป็นครั้งคราว ก็จะช่วยเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาคุณอยู่ในความเศร้าและความทุกข์เหล่านี้มานานแล้วนะครับ อยากจะชื่นชมที่เข้มแข็งและต่อสู้กับความเศร้านี้มาได้ร่วม 10 ปี
สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุดก็น่าจะเป็นในเรื่องของความคิดฆ่าตัวตายที่เข้ามาบ่อยครั้งนะครับ แต่ในเรื่องของความคิดผิดบาปและมีคนที่รักอยู่ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่ดีที่ทำให้คุณมีชีวิตอยู่ต่อไปนะครับ ซึ่งในเบื้องต้นนี้ ก็อยากให้ลองเข้าไปพบจิตแพทย์ดูนะครับ การเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอาจจะฟังดูน่ากลัวแต่จริงๆแล้วอยากให้มองว่าก็เหมือนกับการเข้าพบแพทย์ทางกายทั่วไปครับ ซึ่งการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญก็เป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้บอกเล่าปัญหาของเราออกมา และได้รับการประเมินและบำบัดรักษาด้วยวิธีที่อาจจะได้ผลมากกว่า การรักษาเองตามวิธีในอินเตอร์เน็ตครับ
ผมไม่แน่ใจว่าได้ลองวิธีใดแล้วบ้างในการพยายามดูแลตนเอง แต่อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นก่อนที่คุณจะเข้าพบกับจิตแพทย์ผมก็อยากแนะนำในเรื่องของการดูแลตัวเองคร่าวๆนะครับว่า พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ฝืนตนเองให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากเป็นไปได้ก็สามารถพูดคุยเรื่องความรู้สึกกับบุคคลที่เราไว้ใจได้ครับ และหมั่นทำกิจกรรมที่ทำให้เราผ่อนคลายหรือมีความสุข โดยแบ่งเวลาในทุกๆวัน หรือทุกๆอาทิตย์ ทำกิจกรรม เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง การไปนวด หรืออะไรก็ตามแต่ที่เรารู้สึกสนุกกับมันครับ การแบ่งเวลามาดูแลตนเองนั้นเป็นสิ่งที่คุณสามารถเริ่มทำได้เองโดยไม่ต้องรอพบแพทย์นะครับ ไม่แน่ใจว่าคำแนะนำตรงส่วนนี้จะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใด แต่สุดท้ายนี้ก็อยากจะส่งเสริมให้คุณเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญครับ ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความตึงเครียด หรือความรู้สึกกดดันทางจิตใจ สามารถจัดการออกไปได้หลายวิธี เช่นการหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้พูดคุยระบายอารมณ์ความรู้สึก ฝึกมองคนที่มีปัญหาเยอะกว่าเรา มองโลกในแง่บวก ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ ฝึกควบคุมความคิดและสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ บ่อยๆ
หากฝึกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ความรู้สึกทางลบที่มีอยู่ส่งผลให้นอนไม่หลับ การเรียน การทำงานประสิทธิภาพลดลง สัมพันธภาพกับคนรอบข้างแย่ลง แบบนี้ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการ วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุล ยับยั้งการหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้การคิด อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของเรากลับสู่ภาวะปกติได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความตึงเครียด หรือความรู้สึกกดดันทางจิตใจ สามารถจัดการออกไปได้หลายวิธี เช่นการหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้พูดคุยระบายอารมณ์ความรู้สึก ฝึกมองคนที่มีปัญหาเยอะกว่าเรา มองโลกในแง่บวก ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ ฝึกควบคุมความคิดและสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ บ่อยๆ
หากฝึกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ความรู้สึกทางลบที่มีอยู่ส่งผลให้นอนไม่หลับ การเรียน การทำงานประสิทธิภาพลดลง สัมพันธภาพกับคนรอบข้างแย่ลง แบบนี้ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการ วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุล ยับยั้งการหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้การคิด อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของเรากลับสู่ภาวะปกติได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ความตึงเครียด หรือความรู้สึกกดดันทางจิตใจ สามารถจัดการออกไปได้หลายวิธี เช่นการหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้พูดคุยระบายอารมณ์ความรู้สึก ฝึกมองคนที่มีปัญหาเยอะกว่าเรา มองโลกในแง่บวก ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ ฝึกควบคุมความคิดและสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ บ่อยๆ
หากฝึกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ความรู้สึกทางลบที่มีอยู่ส่งผลให้นอนไม่หลับ การเรียน การทำงานประสิทธิภาพลดลง สัมพันธภาพกับคนรอบข้างแย่ลง แบบนี้ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการ วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุล ยับยั้งการหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้การคิด อารมณ์ความรู้สึก รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรมของเรากลับสู่ภาวะปกติได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
จากการศึกษาหาข้อมูลเทียบเคียงอาการที่ฉันเป็นอยู่นี้ ฉันคิดว่าฉันอยู่ในภาวะเครียด เก็บกด และเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ เป็นมานานหลายปี (น่าจะเกือบ10ปีแล้ว) มีอาการเครียดและเก็บกดมาตั้งแต่เด็กๆ ฉันควรทำอย่างไรดีคะ เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง แต่ก็ไม่กล้าและตัดใจไม่ทำ เพราะกลัว กลัวคนที่รักผิดหวังและเสียใจกับสิ่งที่ฉันทำ และกลัวบาป เคยอยากจะไปหาหมอเพื่อรักษาแต่ก็ไม่กล้าพอ อยากลองรักษาเองก่อนตามวิธีในอินเทอร์เน็ต แต่ก็ไม่หาย คุณหมอคิดว่าฉันควรทำอย่างไรดีคะ (แม้จะรู้คำตอบอยู่แล้วแต่ฉันก็อยากได้คำตอบและคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนค่ะ) ขอบคุณที่ตอบคำถามนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)