April 30, 2017 11:42
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ถ้ามีอาการปวดสะโพกมีอาการร้าวลงขาร่วมด้วยต้องระวังในกลุ่มของอาการปวดของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เพราะว่าที่บริเวณกระเบนเหน็บเหนือกระดูกก้นกบ มีกระดูกสันหลังอยู่หลายปล้อง แต่ละปล้องจะเชื่อมติดต่อกันด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวหรือน้ำหนักที่เรายก หิ้ว แบก หรืออุ้ม รวมถึงเมื่อเราเดิน วิ่ง กระโดด จะมีแรงกระแทกลงมาที่กระดูกสันหลังส่วนเอว บางครั้งการกระแทกหรือบิดตัวมีความรุนแรง ก่อให้เกิดการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง และถ้ามีการฉีกขาดบ่อย ๆ หรือมากขึ้น ส่วนที่เป็นเนื้อในก็จะทะลักออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งอยู่ด้านหลังของหมอนรองกระดูก ซึ่งเส้นประสาทนี้จะทอดยาวจากโพรงกระดูกสันหลังไปที่สะโพก ขา จนถึงปลายเท้า
เส้นประสาทดังกล่าวทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อให้มีกำลังและรับความรู้สึก ดังนั้นเมื่อหมอนรองกระดูกแตกและมีเนื้อในออกมาทับเส้นประสาท จึงทำให้เกิดอาการปวดขา อ่อนแรง ร่วมกับมีอาการชาที่บริเวณน่องหรือหลังเท้า
น่าจะต้องไปตรวจร่างกายดูว่าใช่อาการข้างต้นหรือไม่กับแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือล้ม กระแทกหรือปล่าวค่ะ ถ้าเป็นแบบนั้นควรไป เอ็กซเรย์ค่ะ แต่ถ้า ไม่มีประวัติการได้รับอุบัติเหตุ ก็เป็น กระดูกทับเส้นประสานค่ะ รักษาได้โดยการทำกายภาพนะค่ะ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องผ่าตัดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เคยล้มตูดกระแทกพื้น
ตอนนี้เจ็ยร้าวลงขายืนไม่ไหว
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทำยัง ปวด ตรงสลักเพชร. สะโพก ขวา ร้าวลงมาขา. คะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)