กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รอบรู้เรื่องของ ดวงตา และส่วนประกอบของตา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รอบรู้เรื่องของ ดวงตา และส่วนประกอบของตา

ดวงตาเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ลูกตาคนเรารูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายลูกบอล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. เปลือกนอกของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อหนาประมาณ 1 มม. แข็ง ประกอบไปด้วย

  • ส่วนหน้าจะใสเรียกว่า ตาดำหรือกระจกตา (CORNEA) 
  • ส่วนถัดไปข้างหลังเป็นเนื้อเยื่อขาวทึบ เรียกว่า ตาขาว (SCLERA) 
  • ส่วนของ SCLERA ด้านหน้าจะถูกคลุมด้วย เยื่อบุตาขาว (CONJUNCTIVA) 
  • ถัดจากกระตาขาเข้าไปข้างในจะเห็น ม่านตาเป็นสีน้ำตาลเข้ม (IRIS) ขึงอยู่
  • ภายในม่านตาสีน้ำตาลเข้มจะมีรูตรงกลางเป็นรูขนาดประมาณ 3 มม. เรียกว่า รูม่านตา (PUPIL) รูม่านตาจะมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามแสงสว่างที่มากระทบตา เพื่อความเหมาะสมในการเห็นภาพ ถ้าแสงสว่างมาก รูม่านตาจะเล็ก ถ้าแสงสว่างน้อย รูม่านตาจะโต ม่านตาจะติดต่อข้างหลังกับอวัยวะซึ่งรวมกันเป็นชั้นกลางของลูกตา อันประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายและมีเซลล์ที่เป็นสีดำมากมาย มีหน้าที่ให้ผลิตอาหารเลี้ยงอวัยวะภายในลูกตา
  • หลังรูม่านตาเป็น แก้วตา (CRYSTALLINE LENS หรือ LENS) ซึ่งมีลักษณะใสและยึดติดกับด้านหลังของโคนของม่านตา ซึ่งมีกล้ามเนื้อเล็ก ๆ คอยทำหน้าที่ปรับกำลังของแก้วตา
  • ข้างหลังแก้วตาจะเป็นน้ำวุ้น ลูกตา (VITREOUS) ซึ่งใสและมีจำนนมาก
  • ชั้นในสุดของลูกตาเป็น จอรับภาพ (RETINA) และที่จอรับภาพนี่เองจะเป็นที่เริ่มต้นของเส้นประสาทตา

ภายนอกของลูกตาจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตาเกาะอยู่ และเพื่อให้ลูกตาอยู่ในกระบอกตา (Orbital wall) อย่างเหมาะสมจึงไขมันบุอยู่รอบๆ ลูกตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกนั้นยังมีหนังตา (Eyelid) ที่คอบทำหน้าที่เปิดปิดตา และมีต่อมน้ำตา (Lacrimal gland) และถุงน้ำตา (Lacrimal sac) คอยทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ส่วนของตาดำและตาขาวอีกด้วย

ความจริงแล้วดวงตามีหน้าที่อะไร?

บางคนอาจคิดว่าตามีหน้าที่คือ การมองเห็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ความจริงแล้ว ตาเป็นเพียงอวัยวะสำหรับรับภาพเพื่อให้เกิดการกระตุ้นอีกจอรับภาพเท่านั้นเอง ต่อจากนั้นการกระตุ้นที่เกิดจากภาพของวัตถุที่จอรับภาพ (RETINA) จะส่งเป็นสัญญาณไปตามเส้นประสาทตา (OPTIC NERVE) แล้วเส้นประสาทตาของตาทั้งสองจะมารวมกันแล้เกิดเป็นส่วนติดต่อ (OPTIC TRACT & OPTIC RADIATION) ไปสิ้นสุดที่ส่วนของสมองที่อยู่บริเวณท้ายทอย (OCCIPITAL LOBE) สมองส่วนนี้เรียกได้ว่า เป็นบริเวณที่มีหน้าที่ในการมองเห็น (VISUAL AREA) ซึ่งทำหน้าที่แปลสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้รับมาเป็นภาพ ดังที่เรารู้สึกมองเห็น และจะมีการเรียนรู้ถึงภาพและสีต่าง ๆ อยู่เสมอ

ตาทั้งสองข้างต้องทำงานร่วมกันเสมอ เพื่อเราจะได้เห็นภาพต่างๆ เป็นภาพเดียวที่ชัดเจน ฉะนั้นตาจึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้เรามองเห็นเท่านั้น การมองเห็นภาพจึงเป็นการทำงานร่วมกันของตา เส้นประสาทตา และสมอง

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเห็นคือ แสงสว่าง แสงสว่างเป็นกำลังงานอย่างหนึ่งแสงสว่างที่คนเราสามารถมองเห็นได้ (VISIBLE SPECTRUM) จะเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 400-750 มิลลิไมครอน (คลื่นระหว่างสีแดงและสีม่วงเท่านั้น) แสงที่มีความยาวคลื่นนอกกำหนดนี้ตาคนเราไม่สามารถมองเห็นได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ขยายม่านตา ตรวจสุขภาพตาเพื่ออะไร? ตรวจอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/eye-screening-program).
Eyes: Structure, function, and disease. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320608)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของกะบังลม ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกะบังลม

อ่านเพิ่ม
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน

รวม 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม