February 06, 2017 20:59
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
ถือว่าเสี่ยงมาก ทั้งนี้การได้รับเชื้อมาอาจจะยังไม่ป่วยในทันที หากร่างกายอ่อนแอ จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมากขึ้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ถ้า ผู้ป่วยได้รับการรักษา ได้รับยาตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปแล้ว โอกาสแพร่เชื้อจะน้อยมาก จนไม่ต้องเป็นกังวลครับ
แน่นอนว่า การติดเชื้อวัณโรค ขึ้นกับความแข็งแรงของแต่ละบุคคลด้วย
เพราะถ้าร่างกายแข็งแรง และเคยได้รับวัคซีน บีซีจี(ตั้งแต่เกิด) แล้ว ร่างกายก็สามารถ กำจัด จัดการกับเชื้อวัณโรคได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Arpaporn Buakhao (พญ)
การแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค คือ เมื่อผู้ป่วยวัณโรค ไอ จาม พูด หรือแม้แต่ร้องเพลงจะสามารถทำ ให้เชื้อวัณโรคหลุดออกมาล่องลอย
ในอากาศโดยเกาะอยู่กับละอองเสมหะเป็น particle หรือ droplet nuclei ละอองเสมหะที่มีขนาดใหญ่ จะตกลงสู่พื้นดิน แต่ละอองเสมหะที่มีขนาดเล็กที่มีขนาดประมาณ 1-5 ไมครอนจะล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อมีผู้สูดเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายเชื้อวัณโรคจะเข้าไปสู่ถุงลมเล็กๆในปอด(alveoli)แล้วจะถูกจับด้วย alveolar macrophages และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่าการติดเชื้อ เชื้อวัณโรคบางตัวจะสงบอยู่ (dormant bacilli)อาจอยู่นานหลายปีเรียกว่าติดเชื้อแฝง (latentTBinfection) โดยไม่มีอาการ
และไม่สามารถแพร่เชื้อวัณโรคผู้ติดเชื้อส่วนน้อย(ร้อยละ5-10ในประชากรทั่วๆไป)มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรค
ในเวลาต่อมาได้
-ปัจจัยของผู้ป่วยวัณโรค คือ เป็นผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคของระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หรือ อาการอื่นๆ ที่ทำ ให้เกิดการหายใจแรงๆ โดยไม่ปิดปากและจมูก การมีเชื้อในเสมหะและผู้ป่วย มีแผลโพรงในปอดซึ่งจะมีเชื้อจำนวนมาก
-ปัจจัยของสิ่งแวดล้อม ได้แก่สถานที่อับทึบและคับแคบ การถ่ายเทอากาศที่ไม่ดีผู้สัมผัสเชื้อวัณโรคส่วนหนึ่งอาจติดเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของปริมาณเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศ
-ระยะเวลาและการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่ปกติจะไม่เกิดโรค มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีการลุกลามเป็นโรควัณโรค
ปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่ติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรค ได้แก่
• การติดเชื้อใหม่ (recent infection)
• การติดเชื้อเอชไอวีจะเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคสูงกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 10 เท่า
• กรณีอื่นๆ เช่น ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคและหายเองในอดีตโดยมีแผลเป็นเหลืออยู่ ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยขาดอาหาร ผู้ป่วยโรค silicosis เป็นต้น
reference :แนวทางการดำ เนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556 พิมพ์ครั้งที่ 2
ทั้งนี้หากผู้สัมผัสกับผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ไอเรื้อรัง ไอเสมหะปนเลือด น้ำหนักตัวลดลง ควรไปพบแพทย์ หรือหากไม่มีอาการก้ควรจะไป X-ray ปอดปีละ 1 ครั้ง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้าเราต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรควัณโรคปอด และผู้ป่วยไม่ได้ปิดปากตลอดเวลา อยากทราบว่าอัตราเสี่ยงที่จะติดโรคนี้มากไหมค่ะ และการจะติดขึ้นกับสภาวะร่างกายเราไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)