November 17, 2018 09:01
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วในการรับประทานยาคุมนั้น ประจำเดือนควรจะมาในช่วงเวลาดังนี้ครับ
- ถ้ารับประทานยาคุมชนิด 21 เม็ด ประจำเดือนจะมาในช่วงที่เว้นการรับประทานยา 7 วันก่อนเริ่มยาแผงใหม่
- ถ้ารับประทานยาคุมชนิด 28 เม็ด ประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานยาเม็ดแป้งของแผง
ถ้าหากเลือดที่ออกมานั้นไม่ได้ออกมาในช่วงเวลานี้ก็ไม่น่าใช่ประจำเดือนครับ
อาการเลือดออกระหว่างรอบเดือนหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่รับประทานยาคุมนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- เป็นผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด
- มีการบาดเจ็บของปากมดลูกหรืออุ้งเชิงกรานจากการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง
- มีการอักเสบติดเชื้อของปากมดลูกหรืออุ้งเชิงกราน
- เนื้องอกมดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
- ติ่งเนื้อหรือมะเร็งที่ปากมดลูก
ถ้าหากเลือดที่ออกมานั้นออกมาในปริมาณมากหยุดยาก หรือมีเลือดออกมาหลังมีเพศสัมพันธ์อยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ส่วนในแง่ของการป้องกันการตั้งครรภ์นั้น ถ้าหากรับประทานยาคุมกำเนิดได้อย่างถูกต้องและเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดได้อย่างถูกวิธี โอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ก็จะมีเพียง 0.3% เท่านั้นครับ โดย
- ถ้าหากเริ่มรับประทานยาคุมเป็นแผงแรก จะต้องเริ่มรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ยาคุมจึงจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เม็ดแรก หรือถ้าเริ่มรับประทานช้ากว่านั้นก็จะต้องรับประทานยาติดต่อกัน 7 วันก่อนยาคุมจึงจะเริ่มป้องกันการตั้งครรภ์ได้
- ถ้าหากรับประทานยาคุมตั้งแต่แผงที่ 2 เป็นต้นไป แต่เพียงรับประทานยาต่อเนื่องจากแผงแรกให้ถูกต้อง ยาคุมก็จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้แล้วครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณหมอคะหนูกินยาคุมแล้วและมีเพศสัมพันธ์แฟนหนูไม่ได้ป้องกันแล้วเผลอปล่อยข้างในล่าสุดปล่อยข้างในตกตอนเช้าไม่รู้ว่าเปนประจำเดือนหรือป่าวแต่มันมาแค่2วัน แต่เลือดเป็นสีแดง หนูเป็นอะไรรึป่าวคะ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)