April 14, 2017 19:34
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากไมเกรนได้ค่ะ เช่น ไมเกรนเรื้อรัง รักษายาก เมื่อปวดแล้วมักมีอาการทรมานรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ,หากปวดในระยะอาการเตือนนานเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือดได้ค่ะ , มีผลต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ ไตจากการใช้ยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ ดังนั้นหากปวดไมเกรนบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การปวดศีรษะไม่เกรนก่อกวนชีวิตประจำวันได้ครับ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว มีผลต่องานต่างๆที่ทำได้
แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนมากเกินไป ความเครียดการถูกแดดมากเกินไป การได้รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มบางอย่าง เช่น กาแฟ ชอคโกแลต ฯลฯ อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ ส่วนมากปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้มักเกิดร่วมกันหลาย ๆ อย่าง และบางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้
2. การใช้ยารักษา การใช้ยารักษาควรใช้กรณีที่จำเป็นยาที่รักษาพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ยาในการรักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน ได้แก่
2.1.1 ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล แอสไพริน nonsteroid anti-inflammatory drugs (NSAIDS) และยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เช่น Tylenol with Codeine แต่การใช้ยานี้พบว่าอาจทำให้มึนศีรษะได้และห้ามใช้ในเด็ก
2.1.2 ยากลุ่มเออร์กอต (Ergot-based drug) เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงพอควร จึงควรใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงและนาน ๆ เป็นสักครั้ง การใช้ยาบ่อย ๆ จะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นและติดยา
2.1.3 ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียงได้ แต่มีราคาแพง
การใช้ยานอนหลับชนิดต่าง ๆ เช่น ไดอะซีแพม ก็สามารถใช้ในการรักษาไมเกรนได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยเพราะจะมีปัญหาติดยาเกิดขึ้น
2.2 ยาในการรักษาแบบป้องกัน ใช้ในกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนบ่อย เช่น เกิน 2 ครั้งต่อเดือน การเกิดอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง หรือผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยาแก้ปวดจึงรักษาอาการปวดไมเกรนไม่ได้แต่เป็นยาที่ใช้สำหรับการป้องกันการเกิดไมเกรนและต้องรับประทานยาทุกวัน เป็นระยะเวลา 4-6 เดือน วัตถุประสงค์ของการใช้ยาป้องกันการเกิดไมเกรน คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะหรือลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะหลังจากหยุดยาในกลุ่มนี้อาการปวดศีรษะอาจหยุดไปเป็นเวลานาน ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่
2.2.1 ยาสกัดเบต้า (β-blocker) ได้แก่ โพรพราโนลอล มีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรน 55-84% การใช้ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน อาจสะดวกในการใช้มากกว่ารูปแบบธรรมดาซึ่งต้องรับประทานวันละหลายครั้ง ส่วนยาในกลุ่มนี้ ตัวอื่น ๆ ที่มีผลในการป้องกันไม่เกรน คืออะทีโนลอล เมโทโพรลอลและทิโมลอลผลแทรกซ้อนที่ควรระวังในการใช้ยาในกลุ่มนี้คือ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งพบได้ประมาณ 20% แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเอง ผลแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ง่วงซึม ฝันร้าย ซึมเศร้า ภาพหลอน มือเท้าเย็น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หากเราปวดไมเกรนบ่อยๆจะส่งผลเสียมากน้อยเพียงใดคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)