กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Whiplash (อาการบาดเจ็บวิพแลช)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

การเคลื่อนที่ของศีรษะในทิศทางสะบัดหน้า-หลังอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณต้นคอ ซึ่งโดยทั่วไปสามารถหายได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

วิพแลช (whiplash) คือ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อต้นคอที่เกิดจากแรงบิด หรือ สะบัดอย่างรวดเร็วในทิศทางหน้าหลัง คล้ายกับการตีแส้ (Cracking of a whip) การเคลื่อนที่ในทิศทางแบบตัวอักษร S ทำให้เอ็นบริเวณข้อต่อบริเวณคอยืดออกและขาดได้ การเคลื่อนไหวแบบนี้ยังทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท ข้อกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การบาดเจ็บ whiplash มักเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย ประมาณ 3 ล้านคนอเมริกันต่อปี โดยที่เพศหญิงมักพบมากกว่าชาย สาเหตุของ whiplash

ได้แก่

  • อุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งโดยมากพบจากการชนท้ายโดยรถอีกคันหนึ่งทางด้านหลัง
  • การโดยทำร้าย จากการต่อยหรือเขย่าที่ศีรษะแรงๆ
  • ในทารกหรือเด็กเล็ก อาจเกิดจากการเขย่าเด็กแรงๆ (shaken baby syndrome) ซึ่งจัดว่าเป็นการทารุณกรรมเด็ก
  • อุบัติเหตุทางกีฬา เช่น คาราเต้ ดำน้ำ หรือกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น ฟุตบอล
  • เครื่องเล่นในสวนสนุก เช่น นั่งบนรถไฟเหาะที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าและถอยกลังอย่างรวดเร็ว

อาการของ Whiplash

อาการมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชม. แต่ในบางรายอาจจะเกิดในหลายวันถัดมาได้ อาการดังกล่าว คือ

  • ต้นคอตึง
  • ปวดคอและเป็นมากขึ้นเมื่อขยับ
  • ขยับได้ลดลง
  • ปวดศีรษะ ที่เริ่มจากฐานของกะโหลก
  • เจ็บบริเวณหัวไหล่ หลังด้านบน หรือแขน
  • อ่อนแรง
  • เวียนศีรษะ

การวินิจฉัย Whiplash

แพทย์จะซักประวัติถึงสาเหตุ ตำแหน่งการบาดเจ็บ และความรุนแรงของอาการ การตรวจร่างกายโดยการคลำและเคลื่อนศีรษะ คอ และแขน เพื่อประเมินองศาการเคลื่อนไหว ลักษณะการขยับที่บาดเจ็บ และจุดกดเจ็บ โดยบางครั้งอาจจะส่งตรวจเอ๊กเรย์ เอ๊กเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ได้

การรักษา Whiplash

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ โดยเน้นที่การลดการเคลื่อนไหว ประคบอุ่น และยาลดอาการปวด การยืดกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้องศาการขยับได้มากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำการใส่เครื่องพยุงคอเป็นระยะเวลาสั้นตอนกลางวันหรือใส่ตอนนอน ในสัปดาห์แรกของการบาดเจ็บการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก คุณอาจจะพบการบรรเทาอาการปวดอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคติก การฝังเข็ม การนวด หรือการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (transcutaneous electrical nerve stimulation หรือ TENS)

ยารักษาการบาดเจ็บ Whiplash

การจะใช้ยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าอาการเจ็บรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งยาที่ใช้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาบรรเทาปวดที่ขายทั่วไปในร้านขายยา เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน หรืออีบูโพรเฟน ซึ่งจะใช้กับอาการปวดที่ไม่รุนแรงนัก
  • ยาบรรเทาปวดตามที่แพทย์สั่งเพื่อบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงมากหรือคนที่เคลื่อนไหวคอไม่ค่อยจะได้
  • ยาคลายกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยรักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุกและช่วยให้นอนหลับได้
  • การฉีดยาชาลิโดเคน (lidocaine) เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณที่เจ็บชา

การรักษาการบาดเจ็บ Whiplash ที่บ้าน

คุณอาจบรรเทาอาการคอเคล็ดเองโดยพักผ่อนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแรกหลังจากคุณมีอาการเจ็บ หลังจากที่คุณพักร่างกายตัวเองแล้ว คุณอาจยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ การอาบน้ำร้อนก่อนออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายปรับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นด้วย การใช้ลูกประคบหรือแผ่นความร้อนประคบบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดก็ช่วยได้เช่นกัน

การออกกำลังกายและกายภาพบำบัดสำหรับการบาดเจ็บ Whiplash

การเหยียดตัวเบาๆ หรือออกกำลังกายเบาๆ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของคอและการเคลื่อนไหวได้ดี การออกกำลังกายทั่วไป ได้แก่

  • ค่อยๆ เอียงศีรษะจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
  • หมุนศีรษะตามเข็มและทวนเข้มนาฬิกาช้าๆ
  • หมุนไหล่ไปข้างหน้าและหลัง
  • ดัดศีรษะลงมาที่หน้าอก

ถ้าคุณมีอาการปวดเรื้อรังจาก whiplash แพทย์อาจให้คุณทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดมืออาชีพสามารถจัดหากิจกรรมออกกำลังกายเพิ่มเติมให้คุณเพื่อลดอาการเจ็บและช่วยให้คอกลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติเช่นเดิม

การรักษาแบบทางเลือก

แม้การศึกษาต่างๆ จะยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการรักษา แต่งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าการรักษาแบบทางเลือกก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอเรื้อรังจาก whiplash ได้ ได้แก่

  • การรักษาแบบไคโรแพรคติค (Chiropractic care) – แพทย์ไคโรแพรคติคจะจัดการกับข้อต่อและกระดูกสันหลังเพื่อบรรเทาอาการปวด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรักษาจะได้ผลดีเมื่อรักษาแบบไคโรแพรคติคร่วมกับการออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัด
  • การฝังเข็ม – ศาสตร์การรักษาแผนโบราณของจีนก็ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้บ้าง
  • การนวด – หมอนวดที่มีใบอนุญาตสามารถยืดหยุ่นและคลายกล้ามเนื้อให้ได้

การใช้ปลอกคอกับคนที่มีอาการเจ็บ Whiplash

ในอดีต แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้คุณใส่ปลอกคอเพื่อช่วยพยุงคอไม่ให้เคลื่อน แต่มีแนวคิดใหม่ที่กล่าวว่า การสวมปลอกคอเป็นเวลานานจะขัดขวางการปรับกล้ามเนื้อคอที่อ่อนแรงได้ ปัจจุบันจึงมีการแนะนำให้ใส่ปลอกคอไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงต่อครั้งในช่วงสัปดาห์แรกหลังมีอาการเจ็บ

คำแนะนำทางการแพทย์สำหรับการบาดเจ็บ Whiplash

การระงับปวดด้วยกระแสไฟฟ้า หรือ TENS เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆกระตุ้นเส้นประสาทผ่านผิวหนัง งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าการใช้ TENS ก็ช่วยลดอาการปวดคอได้

ภาวะแทรกซ้อนของ Whiplash

คนทั่วไปมันจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากการบาดเจ็บ แต่ในบางคนอาการปวดคอหรือปวดศีรษะอาจจะเรื้อรังได้นานหลายเดือนหรือเป็นปี โดยส่วนมากในกลุ่มคนที่มีอาการเรื้อรังมักจะแสดงอาการปวดทันทีหลังจากการเหตุการณ์การบาดเจ็บดังกล่าว ความเสี่ยงของการปวดเรื้อรังมักมีมากในคนที่มีอาการปวด whiplash ที่รุนแรงหรือเมื่ออาการปวดร้าวลงมาที่แขน


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tim Newman, Whiplash: What you need to know (https://www.medicalnewstoday.com/articles/174605.php), September 1, 2017
Shannon Johnson, Whiplash (https://www.healthline.com/health/whiplash), April 11, 2017
webmd.com, Neck Strain and Whiplash (https://www.webmd.com/back-pain/neck-strain-whiplash#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆทำอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้คะว่าอาการปวดเอวจะหายได้บ้างไหมคะ เพราะว่ามันจะปวดตลอดเวลาคะ หลังจากี่ผ่าตัดคลอดลูกมาแล้ว2คนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าคนที่เรารักมากเคยเป็นมะเร็งต่อมนำ้เหลืองมาก่อนแล้วเกือบ12ปีแล้วตอนนี้มาปวดท้องบ่อยกินยาแล้วเดียวก็หาย1-2วันเดียวก็มาปวดอีกเราควรจะทำยังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องตอนมาประจำเดือนตลอด บางครั้ง3เดือนมาประจำเดือนครั้งหนึ่ง. ต้องรัษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหลังเป็นประจำจะเป็นโรคอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ