May 01, 2019 16:01
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการดังกล่าวอาจเกิดจากความเครียดสะสม และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้ค่ะ
อาการของซึมเศร้ามีดังนี้
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า ร้องไห้
3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
4.นอนไม่หลับ หลับยาก หรือ หลับมาเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร หรือทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ คิดช้า
7.กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
8.รู้สึกไร้ค่า สิ้นหวัง
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ และเป็นต่อเนื่องทุกวันนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็อาจเข้าข่ายซึมเศร้านะคะ
สาเหตุหลักของซึมเศร้า คือ สารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ
การรักษาที่ได้ผลดี คือ การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆได้ดีขึ้น ร่วมกับการทำจิตบำบัด เพื่อให้เข้าใจ ยอมรับปัญหา มีแนวทางในการจัดการหรือปรับตัวกับปัญหานั้นได้อย่างเหมาะสมค่ะ
ในกรณีนี้ มีอาการมานาน 3 เดือน แนะนำพบจิตแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากอาการที่เล่ามาก็มีหลากหลายอาการนะครับที่ค่อนข้างตรงกับเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้า เหมือนที่พี่นักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลไว้ ซึ่งจากการที่เราได้ทะเลาะกับที่บ้าน และคาดว่าคงมีเรื่องอื่นๆในชีวิตด้วยที่ทำให้คุณมีความกดดัน มีความเศร้าอยู่ในจิตใจ จนมีอาการแสดงออกมาเป็นเรื่องของการไม่ค่อยมีแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ การทานอาหารที่เปลี่ยนไป และการขาดสมาธินะครับ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกนะครับว่าคุณควรจะไปเข้าพบจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ ซึ่งการช่วยเหลือตรงนี้ก็จะมีในเรื่องยาต้านซึมเศร้า หรือการทำจิตบำบัดเพื่อจัดการกับอารมณ์และความคิดของคุณ เสริมสร้างทักษะบางอย่างเพื่อให้นำไปใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดลดลง และปรับอารมณ์ให้มีความแจ่มใสขึ้นได้บ้าง คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลานะครับ หรือหากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอถามหน่อยค่ะ คือ 2-3 เดือนมานี้เรากินอะไรไม่ค่อยอร่อย ทำอะไรก็ไม่ค่อยมีแรง เวลาทำอะไรสักอย่างก็ต้องใช้สมาธิมากๆ เวลาใครพูดอะไรที่มันกระทบจิตใจนิดหน่อยก็ซึมเศร้าไปนานเลย แล้วก็เอามาคิดมาก ร้องไห้อยู่คนเดียว เมื่อ 6 เดือนก่อนเคยมีปัญหาเล็กน้อยกับที่บ้าน เลยนั่งร้องไห้ถึงขั้นเอาหัวไปทุบไปแป้นพิมพ์ เพราะอยากให้ลืมเรื่องพวกนี้ออกจากหัว อยู่คนเดียวนานๆก็รู้สึกจิตตก บางเดือนกินน้อยมาก บางเดือนก็เยอะกว่าปกติ แต่สมาธิไม่ค่อยอยุ่กับตัวนัก อาการแบบนี้คืออะไรหรอคะหมอ จริงๆเราเป็นคนร่าเริงนะคะ แต่ร่าเริงกับคนอื่น แต่เวลาอยู่กับตัวเองก็จะอาการดังกล่าวค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)