April 15, 2017 14:59
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
สามารถรักษาให้หายขาดได้ครับ หลักในการรักษาไซนัส/โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ มี 3 ประการ คือ
1. รักษาการติดเชื้อ
2. ทำให้การระบายของโพรงอากาศดีขึ้น
3. รักษาโรคหรือสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
การรักษาแบบอนุรักษ์ คือการรักษาด้วยยา และอาจใช้หัตถการเล็กน้อย/การผ่าตัดเล็กร่วมด้วย มักใช้ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลัน หรือรายที่เป็นเรื้อรัง แต่ไซนัสยังไม่บาดเจ็บเสียหายมาก จึงอาจฟื้นกลับคืนเป็นปกติได้ครับ
การรักษาแบบถอนรากถอนโคน คือการผ่าตัดเปิดเข้าไปในไซนัสที่อักเสบเรื้อรังนั้น ถ้าพบ เยื่อบุหนามาก มีหนองขัง มีการบวมจนเกิดเป็นริดสีดวงขึ้น หรือเกิดการอุดตันของต่อมสร้างน้ำมูกเกิดเป็นถุงเมือกต่างๆ อาจต้องผ่าตัดเอาออกทั้งหมด และขยายรูเปิดของไซนัสให้กว้างขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
โรคไซนัสอักเสบคือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก หรือที่เราเรียกว่า “ไซนัส” ซึ่งอาจเป็นเพียงหนึ่งไซนัส หรือหลายไซนัส เป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจจะเป็นการอักเสบติดเชื้อหรือการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อก็ได้
ลักษณะที่พบจากการตรวจร่างกายที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ มีการกดเจ็บบริเวณไซนัสที่อักเสบ, เห็นน้ำมูกเหลืองข้นไหลลงคอ, เยื่อบุจมูกที่อักเสบบวมแดงมาก หรือมีหนองคลุม ส่วนโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้นมักจะไม่มีอาการกดเจ็บบริเวณไซนัส การตรวจในช่องจมูกอาจพบน้ำมูกเหลืองในจมูกหรือโพรงหลังจมูก และเยื่อบุจมูกที่อักเสบบวมได้
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
จุดมุ่งหมายของการรักษาไซนัสอักเสบคือ บรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือการกลับเป็นซ้ำของโรค
หลักในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วย
1. กำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ โดยการให้ยาต้านจุลชีพ เพื่อทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว การเลือกชนิดของยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ, การดำเนินโรค, ความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อนั้นๆ และ อุบัติการของการดื้อยา ระยะเวลาของการให้ยาต้านจุลชีพนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันควรให้ยาต้านจุลชีพอย่างน้อย 10-14 วัน หรือให้จนผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแล้วให้ต่ออีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังควรให้ยาต้านจุลชีพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์
2. ทำให้การไหลเวียนของสารคัดหลั่งและอากาศภายในไซนัสดีขึ้น
2.1 ยาหดหลอดเลือด ทำให้การบวมของเยื่อบุจมูกลดลง, บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น อาจให้ในรูปยาพ่นหรือยาหยอดจมูก หรือ ยารับประทาน หรือให้ร่วมกันทั้งสองชนิดก็ได้ สำหรับยาหดหลอดเลือดที่พ่นหรือหยอดจมูก ไม่ควรใช้นานกว่า 7 วัน เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกเสียได้ ส่วนยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทาน ควรระวังผลข้างเคียง เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายด้วย
2.2 ยาสตีรอยด์พ่นจมูก อาจมีประโยชน์ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือ ไซนัสอักเสบเป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะถ้ามีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือชนิดที่ไม่แพ้ร่วมด้วย ยาพ่นจมูกดังกล่าวจะช่วยลดการอักเสบในจมูก ทำให้รูเปิดของไซนัส ที่มาเปิดในโพรงจมูกโล่งขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศ การระบายของสารคัดหลั่งหรือ หนองที่อยู่ภายในไซนัสดีขึ้น
2.3 ยาต้านฮิสตะมีน ไม่แนะนำให้ใช้ ยาต้านฮิสตะมีนรุ่นเก่าในผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ที่ไม่ได้มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้น้ำมูกและสารคัดหลั่งแห้งและเหนียวได้ ในรายที่มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย ควรเลือกใช้ยาต้านฮิสตะมีนรุ่นใหม่ เนื่องจากมีผลข้างเคียงดังกล่าวค่อนข้างน้อย
2.4 ยาละลายมูกหรือเสมหะ ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของยาละลายมูกในการรักษาโรค ไซนัสอักเสบชัดเจน
2.5 การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออก เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้การพัดโบกของขนกวัดที่เยื่อบุจมูกดีขึ้น อาการต่างๆ ของผู้ป่วยจะดีขึ้นเร็ว
2.6 การสูดดมไอน้ำเดือด จะช่วยทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม โล่ง อาการคัดจมูกน้อยลง อาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะดีขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้การพ่นยาเข้าไปในจมูก มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.7 การผ่าตัด ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบ มักจะหายได้โดยการใช้ยาอย่างเต็มที่ ส่วนน้อยที่ต้องรับการผ่าตัด ดังนั้นในการรักษาจึงพยายามใช้ยาอย่างเต็มที่ก่อน การผ่าตัดเป็นการแก้ไขพยาธิสภาพที่ทำให้รูเปิดระหว่างโพรงจมูกและไซนัสอุดตัน
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
• ผู้ป่วยที่ต้องการเชื้อไปส่งตรวจหาชนิดและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ
• ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยไม่ดีขึ้น(ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่หาย ภายใน 3 – 4 สัปดาห์ หรือ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล ภายใน 4 – 6 สัปดาห์) หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
• ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก มีไข้ขึ้นสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกายวิภาคภายในโพรงจมูก ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัส
3. รักษาโรคหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้แก่
3.1) ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี จะได้มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ความต้านทานโรคดีขึ้น โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อน้อยลง
3.2) เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เป็นหวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือฟันผุ ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อไม่ให้การอักเสบนั้นลุกลามไปถึงไซนัสได้
3.3) ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดไม่แพ้ ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีปฏิบัติตัวและดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
3.4) ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นๆในจมูก หรือมีริดสีดวงจมูก ควรให้การรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เป็นๆหายมา2-3เดือนแล้วครับไปหาหมอนำยามาทานได้2อาทิตย์ ก็ดีขึ้น พอหยุดยาได้2-3อาทิตย์ก็เริ่มเป็นอีก รูจมูกตัน ตลอดเวลา ทำให้หายใจเหนื่อย ทรมานมาก อยากจะไปผ่าตัดไซนัส ค่าใช้จ่านปีะมาณเท่าไหร่ครับ และผ่าตัดแล้วจะหานขาดไหมครับ ขอบพระคุณครับ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไซนัสอักเสบรักษาหายไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)