August 08, 2019 20:10
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
เกี่ยวค่ะ น้ำหนักมาก ทำให้ไข่ไม่ตกได้ค่ะ
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรง
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ โดยสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อย คือ เกิดจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังค่ะ เมื่อไข่ไม่ตก เมนส์ก็ไม่มา บางครั้งมีเศษของเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมา (แต่ไม่ใช่ประจำเดือน) ก็จะมีลักษณะเป็นเลือดออกกระปริยกระปรอย หรือเป็นเลือดสีดำๆได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นแค่สาเหตุที่พบส่วนใหญ่นะคะ การจะรู้ได้แน่นอน ต้องได้รับการตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์ หรือบางรายตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาสาเหตุก่อนค่ะ และรักษาตามสาเหตุ
บางสาเหตุ อย่างไข่ไม่ตกเรื้อรัง ใช้การรักษาด้วยยาฮอร์โมนได้ค่ะ แต่บางสาเหตู อาจต้องตรวจเพิ่มเติม และรักษามากกว่านั้น
เพราะฉะนั้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ
อาการของไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) จะประกอบด้วย 1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 2. มีสิว หน้ามัน ขนดก 3. อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด พบถุงน้ำ ขนาดเล็กๆ ปริมาณมากที่รังไข่ จะวินิจฉัยภาวะนี้ เมื่อมีอาการ 2 ใน 3 ข้อนี้
ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ใช้การรักษาด้วยยาปรับฮอร์โมนได้ค่ะ แต่ถ้าหยุดยา ก็มักจะกลับมามีอาการเหมือนเดิม
การปฏิบัติตัว เพื่อให้กลับมาไข่ตกได้ ก็ประกอบด้วย การลดน้ำหนัก ในคนที่มีน้ำหนักเกิน ออกกำลังกาย บางคนพอ น้ำหนักลด ก็สามารถกลับมาไข่ตกปกติ ประจำเดือนสม่ำเสมอ สามารถหยุดยาได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะ พอดีอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับประจำเดือนไม่มานาน มาๆหายๆ ต้องกินยาขับเลือดกับยาปรับฮอร์โมน ยาคุม เมื่อก่อนมาถ้ากินยาแต่ตอนนี้เลิกกินแล้วทำไมยังหายอีกไม่มีเพศสัมพันธ์ อายุ22ปี น้ำหนัก80กก.ส่วนสูง 160ซม. สาเหตุเกียวกับความอ้วนกับฮอร์โมนไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)