February 02, 2017 22:50
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
สาเหตุของภาวะประจำเดือนผิดปกติแบ่งได้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ ประจำเดือนผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการมีโรคอยู่ภายใน เช่น พวกเนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ เป็นต้น และประจำเดือนผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศที่ผิดปกติหรือไม่สมดุล ปริมาณและระยะห่างของรอบประจำเดือนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล มีระยะห่างระหว่างรอบประจำเดือนประมาณ 28 ± 7 วัน และระยะเวลาที่มีประจำเดือนจะอยู่ในช่วง 4 ± 2 วัน ในกรณีของผู้ป่วย จำเป็นต้องหาสาเหตุก่อนค่ะว่าเพราะอะไรประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ และรักษาไปตามสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งโดยส่วนใหญ่หากอายุน้อย ก็มักเป็นจากปัญหาไข่ไม่ตก หรือตกไม่สม่ำเสมอ ทำให้ฮอร์เพศที่สร้างจากรังไข่นั้นผิดปกติไป ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกตินั่นเอง หรือหากมีประวัติการใช้ยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบฉีดหรือรับประทานมานาน ๆ ก็อาจทำให้ประเดือนมาไม่ปกติได้เช่นเดียวกันค่ะ หรืออาจจะมีสาเหตุมาจาก เนื้องอกเยื่อบุโพรงมดลูกก็ได้ซึ่งมักจะทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือประจำเดือนมามาก ในกร๊ที่เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ มักจะรักษาโดยการรับประทานฮอร์โมนค่ะ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นยาคุมกำเนิด ทั้งนี้แนะนำควรพบแพทย์เพื่อซักถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประจำเดือนมาเดือนเว้นเดือน เป็นตกขาวมีสีเขียว มีกลิ่นและคัน เสี่ยงเป็นอะไรไหมค่ะ
คือประจำเดือนมันจะมาบ้างไม่มาบ้างอ่ะค่ะ2เดือนมาทีหรือ1เดือนมาทีอยากจะถามว่ามันจะเป็นอะไรไหม
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตั้งแต่เปลี่ยนยาคุมบ่อยทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ฮอร์โมนผิดปกติ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาเดือนเว้นเดือน บางครั้ง2-3เดือนมาครั้ง มาแต่ละครั้งก็น้อย มีวิธีแก้ยังไงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)