April 26, 2019 18:43
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าสงสัยว่ามีภาวะนี้ ควรหาเวลาปรึกษาจิตเเพทย์ครับ หรือ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ครับ
กลุ่มโรคซึมเศร้า คือ มีอาการนอนไม่หลับ หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบหรือกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่มีสมาธิ ไม่ค่อยมีเเรง เบื่ออาหาร มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง
..............
หมอเเนะนำให้ไปพบจิตเเพทย์ครับ คนไข้บางกลุ่มจะอายที่ต้องไปพบจิตเเพทย์ เเต่จริงๆไม่ใช่เรื่องที่น่าอายเเต่อย่างใด (และ กรณีถ้าเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ อยากไปตรวจโดยไม่มีผู้ปกครองก็สามารถทำได้ครับ ถ้ามีอันตราย หรือจำเป็นต้องเเจ้งผู้ปกครอง คุณหมอจะเเจ้งคนไข้ก่อนครับ)
นอกจากคุณจะได้รับคำเเนะนำที่ดี คุณหมอจะประเมินว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษา คือ ยาต้านซึมเศร้า ซึ่งเป็นยาปรับระดับสารสื่อประสาทในสมองครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี ตามแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัดและวิธีการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม จะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เป็นผลดีต่อการรักษามากนัก นะคะ
เบื้องต้นหากมีอาการเข้าข่ายภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีอาการ เบื่อหน่าย ท้อแท้ เศร้า มีปัยหาการนอนหลับ-การกิน ไม่มีสมาธิ เหม่อลอย อยากตาย โดยมีอาการต่อเนื่องนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ขึ้นไป ควรพบจิตแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้องจะช่วยให้อาการดีขึ้น แต่หากปล่อยให้อาการเรื้อรัง หรือรักษาด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น ยากแก่การรักษาค่ะ
การรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมองให้หลั่งปกติ ซึ่งจะช่วยให้การคิด การรับรู้ การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆเหมาะสม สามารถควบคุมได้
ส่วนการรักษาด้วยการทำจิตบำบัด จะเน้นให้ผู้ป่วยสามารถยอมรับและได้เรียนรู้วิธีการปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้น มีแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมและสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งเจ้าตัวปัยหาต่างๆที่เข้ามาในชีวิตคนเราถือเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดปัยหาสุขภาพจิต หากคนใดมีสุขภาพจิตดี ก็สามารถปรับตัวผ่านปัญหานั้นไปได้ แต่หากคนใดที่สภาพจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ก็จะยากต่อการปรับตัวและเป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดอาการป่วยทางด้านจิตใจได้ค่ะ
ดังนั้นในกรณีนี้แนะนำพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมนะคะ อาการจะค่อยๆดีขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วการรักษาโรคซึมเศร้านั้นหากว่ามีอาการที่ค่อนข้างสูงอยากจะแนะนำให้ลองหาตัวช่วยเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาซักหน่อยนะครับเพื่อที่จะให้ได้รับประเมินเพื่อเลือกความช่วยเหลือที่อาจจะเหมาะสมกับคุณได้ครับ
อย่างไรก็ตามนอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดลดลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ ซึ่งการค่อยๆปรับเปลี่ยนตรงนี้ก็อาจจะเป็นก้าวแรกของคุณในการรักษาสภาพจิตใจให้ห่างไกลจากอาการของโรคซึมเศร้านะครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลานะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
จะรักษาโครซึมเศร้าด้วยตัวเองยังไงคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)