January 25, 2017 17:07
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาจเกิดจากกลไกผิดปกติของเส้นประ สาท รากประสาทหรือจากสมองส่วนกลางที่มีการปรับการตอบสนองที่ไวผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับความรุนแรงของโรคก่อนค่ะ จากนั้นคุณหมอจะให้การรักษาที่เหมาะสมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
ได้ไปตรวจรักษาที่รพ หลังจาก ถูกรถชนมาแล้วใช่มั้ยครับ ถ้าไม่มีมีกระดูกหักหรืออาการอย่างอื่นรุนแรง จะมีกลไกการเกิดการบาดเจ็บหลังจากถูกรถชนแล้วทำให้เจ็บตามแขนขาได้ครับ เนื่องมาจาก เมื่อมีการกระแทกที่ตัวเราหรือที่ตัวรถ ทำให้คอและศีรษะมีการสะบัด เคลื่อนไปด้านหลัง และสะบัดกลับมาข้างหน้าอย่างรวดเร็วทันที จึงส่งผลให้ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ไขสันหลัง ข้อต่อ/กระดูกสันหลัง เส้นเอ็นต่างๆ ได้รับการกระทบกระเทือนทันที ซึ่งก่อให้เนื้อเยื่อต่างๆเหล่านั้นเกิดอาการบาดเจ็บ ครับ
การรักษาประกอบด้วย การทานยาแก้ปวด การฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณปวด การนวด การรักษาอาการปวดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า หรือด้วยคลื่นความร้อน (การทำกายภาพบำบัด)
ในกรณีที่พบมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การกดของหมอนรองกระดูก ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุนั้นๆ
โดยทั่วไป ในคนปกติประมาณ 60% ของผู้ป่วยจะหายได้เป็นปกติในระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน, ประมาณ 2% อาการไม่ดีขึ้น, ที่เหลืออาการดีขึ้น แต่ไม่กลับเป็นปกติ หรืออาจเป็นๆหายๆครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดมือบวมที่หลังมือมีอาการปวดมากจนไข้ขึ้นสูงมา2เดือนแล้วหาสาเหตุไม่ได้
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ถ้ารถเพิ่งถูกชนหนัก แล้วเกิดอาการเจ็บแปล๊บ ตามเส้นแขนและขา นานมั้ยครับกว่าจะหาย และต้องทำกายภาพบำบัดมั้ยคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)