May 13, 2018 22:45
ตอบโดย
ณัฐพร ชัยนคร (พยาบาลวิชาชีพ)
การบำบัดรักษายาไอซ์ ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่จะรักษาตามอาการ ซึ่งผู้เสพยาไอซ์มักจะมีอาการซึมเศร้า บางรายรุนแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย แพทย์จะใช้ยาต้านการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังต้องฟื้นฟูโรคสมองติดยา เนื่องจากยาไอซ์เข้าไปทำลายเซลล์สมอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูอย่างน้อย 3-4 เดือน และติดตามดูแลช่วยเหลือหลังผ่านการบำบัด 1 ปี เพื่อไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีก ผู้ที่ผ่านการบำบัดครบระยะเวลาสามารถเลิกเสพยาถาวรถึง 90%
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด มีรูปแบบการบำบัดหลากหลาย ทั้งการใช้ยารักษาในกรณีที่มีอาการถอนยา หรือมีอาการทางจิต หรือมีความผิดปกติของอารมณ์และความคิด ควบคู่กับการบำบัดซึ่งมุ่งการปรับความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจนสามารถหยุดใช้สารเสพติดได้ การบำบัดสำหรับผู้ป่วยติดสารเสพติดมีทั้งการบำบัดแบบรายบุคคล การบำบัดรายกลุ่ม และการบำบัดครอบครัว ค่ะ การวางแผนการบำบัดจะต้องคำนึงถึงปัญหาของผู้ป่วยเป็นหลัก และรูปแบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในขณะนี้ คือ Matrix Program ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดประมาณ 3-4 เดือน และมีการติดตามผลการบำบัดเป็นระยะๆ จนครบ 1 ปี ค่ะ
สำหรับคำถาม "การดูแลรักษาทางจิตใจสำหรับผู้ใช้สารเสพติด" จะมุ่งเน้นเสริมความมีคุณค่าในตัวเอง โดยคนใกล้ชิดสามารถให้กำลังใจ สามารถพูดคุยหรือคอยประคับประคองทางด้านจิตใจและความรู้สึกของผู้ป่วย ไม่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกทางลบ(ซึ่งความรู้สึกทางลบจัดเป็นตัวกระตุ้นภายในที่อาจทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำได้ค่ะ) แต่เมื่อมีความรู้สึกทางลบเกิดขึ้นก็ต้องให้ผู้ป่วยมีทักษะในการจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นด้วยวิธีการที่เหมาะสมค่ะ และในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านสุขภาพจิต มีประสาทหลอน หวาดระแวง ซึมเศร้า ก็จำเป็นต้องใช้ยาต้านโรคจิต หรือยาต้านเศร้าร่วมด้วยค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การรักษาผู้ป่วยข้างต้นควรไปหาหมอเรื่องบำบัดยาเสพติด หรือ หมอทางด้านจิตเวชครับ ช่วยแนะนำสถานที่รักษาทางภาคใต้ด้วยครับ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
รักสาด้วยตัวเองได้ไหมครับ
จะรักษาอาการผู้เสพยาไอซ์ได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของจิตใจ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)