September 11, 2019 22:13
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่มีอาการไม่ชอบการอคอย อยู่นิ่งนานๆไม่ได้ ไม่มีสมาธิเวลาขับรถนั้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมาธิสั้นได้ครับ
อย่างไรก็ตามการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้นก็จะต้องอาศัยการซักถามอาการของโรคสมาธิสั้นอื่นๆเพิ่มเติมก่อน รวมถึงจะต้องย้อนถามไปถึงอาการตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กร่วมด้วยครับ
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
สวัสดีค่ะ ..อาการของโรคสมาธิสั้น มักเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กหากไม่ได้รับการรักษา อาการสมาธิสั้นอาจเป็นต่อเนื่องมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ค่ะ
อาการสมาธิสั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการ ได้แก่
1. อาการขาดสมาธิ ได้แก่ เหม่อลอย ขี้ลืม ขาดความรอบคอบ ทำของหายบ่อยๆ ความคิดความจำช้าลง ดูเฉื่อนช้า
2. อาการซน ไม่นิ่ง ได้แก่ ยุกยิก อยู่นิ่งไม่ได้ เมื่อต้องอยู่นิ่งๆมักจะกระตุ้นตัวเองด้วยการนั่งเขย่าขา หรือเคาะโต๊ะ
3.อาการหุนหันพลันแล่น ได้แก่ ใจร้อน วู่วาม ขาดความยั้งคิดในการทำสิ่งต่างๆจนบางครั้งทำให้เกิดผลเสียตามมา
ดังนั้นในกรณีที่รู้สึกว่ามีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือ อาการส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน แนะนำให้พบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยแยกโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เป็นคนไม่ชอบรอ อยู่นิ่งไม่ค่อยได้ เวลาขับรถชอบคิดอะไรไปเรื่อยโดยที่ไม่ได้สนใจถนน เลยสงสัยว่ามีอาการเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นมั้ย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)