มีงานวิจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนอาหารบางชนิดกับการลดลงของอาการของโรคสมาธิสั้น โดยอาหารที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงได้แก่อาหารที่การแต่งสีและใส่สารกันบูด, มีปรอทมาก, มีน้ำตาล คาเฟอีน เป็นผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่มีกลูเตน และอาหารที่ไม่ออร์แกนิค ต่อไปนี้เราจะมาแนะนำอาหารยอดนิยมในเด็ก 5 อย่างที่จัดอยู่ในอาหารกลุ่มนี้ ลองพยายามกำจัดการรับประทานอาหารเหล่านี้ทีละอย่างประมาณ 2 สัปดาห์และดูว่าเด็กมีอาการดีขึ้นหรือไม่
ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะต้องมีการลองผิดลองถูกในช่วงแรก เพื่อให้เด็กร่วมมือกับการเปลี่ยนอาหาร อาจลองใช้การเล่นเกมสนุก ๆ เช่น การสำรวจชั้นต่าง ๆ ของร้านขายของชำเพื่อหาอุปกรณ์มาทำอาหารที่ครอบครัวอาจจะไม่เคยรับประทานมาก่อน เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาหาร 5 อย่าง ที่ควรหลีกเลี่ยง ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีอะไรบ้าง
1. เค้กผสมและน้ำตาลไอซิ่งโรยหน้าเค้กสำเร็จรูป
อาหารที่ผ่านการแปรรูปและทำสำเร็จมาแล้ว เต็มไปด้วยสารปรุงต่างอาหารเช่นสารกันบูดและสี เค้กผสมสีเหลืองมีสีแดง 40 และสีเหลืองอยู่อีก 5 มีงานวิจัยที่พบว่าสีย้อมอาหารอาจกระตุ้นความตื่นตัว หรืออาการของโรคสมาธิสั้นในเด็กที่ไวต่ออาหารเหล่านี้ได้ การกำจัดอาหารที่มีการปรุงแต่งสีจึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลในการลดอาการของโรคสมาธิสั้น
2. ลูกอม
แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานน้ำตาลกับการกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่พ่อแม่หลายคนรู้สึกว่าน้ำตาลทำให้เด็กตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกอมมีทั้งน้ำตาลและสารแต่งสีและสารกันบูด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเช่นกัน
การเปลี่ยนจากการรับประทานลูกอมมาเป็นของทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพเช่นผลไม้จึงถือเป็นสิ่งที่ดี
3. ช็อกโกแลต
เด็กที่ไวต่อสารแต่งสีอาจจะไวต่อคาเฟอีนและสารกันบูดในช็อกโกแลตได้เช่นกัน การจำกัดการรับประทานช็อกโกแลตจึงอาจลดอาการตื่นตัวที่มากเกินไปได้
4. ขนมปังและพาสต้าจากข้าวสาลี
มีการศึกษาหลายชิ้นที่แสดงว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตนนั้น สามารถช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นหากเป็นโรคซิลิแอคแต่ไม่ได้รักษา ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น การเป็นโรคสมาธิสั้นได้ การรับประทานอาหารแบบไม่มีสารกลูเตน เป็นการกำจัดอาหารที่มีข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนประกอบ
5. นม
การกำจัดผลิตภัณฑ์จากนมโดยเฉพาะคาเซอีนในอาหารพบว่าช่วยลดอาการตื่นตัวและหุนหันพลันแล่นในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้ ลองจำกัดการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดประมาณ 5-7 วันเพื่อดูว่าเด็กไวต่อผลิตภัณฑ์จากนมหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มนำอาหารเหล่านี้กลับเข้ามาช้า ๆ และเฝ้าติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้น