จริงหรือ ถ้าเด็กกินของหวานมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
จริงหรือ ถ้าเด็กกินของหวานมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น
a11.gif

 คุณพ่อคุณแม่มักเชื่อว่า ถ้าลูกกินลูกอมลูกกวาด หรือของหวานมากเกินไป พวกเขาจะเริ่มอยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลนหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าลูกตัวเองเป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กมีความแอคทีฟหรือซนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ถ้าพวกเขาชอบที่จะกระโดดขึ้นลงบนเตียงนอนมันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดา เหมือนกิจวัตรประจำวันที่พวกเค้าจำเป็นต้องทำเป็นประจำเท่านั้นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity) หรือโรค ADHD เป็นโรคทางจิตเวชในเด็กที่เกิดขึ้นโดยจะมีอาการก่อนอายุ 7 ปีซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของการพัฒนาสมองส่วนการควบคุมตนเอง ทำให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์การเรียนและการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก



 
a11.gif

 ในปี 1996 มีการทดลองสำหรับครอบครัวที่มีลูกที่อยู่ในช่วงอายุ 5-7 ปี เพื่อทดสอบแบบ blind study ไม่มีพ่อแม่คนใดที่ทราบว่าเด็กคนไหนรับประทานน้ำตาลและเด็กคนไหนรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาล (placebo) นักวิจัยสามารถแบ่งกลุ่มความคิดของพ่อแม่ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มแรกพ่อแม่จะคิดว่าลูก ๆ ของเค้าได้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่อีกกลุ่มพ่อแม่คิดว่าเป็นลูกได้ทานอาหารไม่มีน้ำตาล แต่ความเป็นจริงแล้วเด็กทั้งหมดรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาลทั้งหมด (sugar-free) แต่เมื่อพ่อแม่เห็นเด็กเล่นอย่างร่าเริง สนุกสนาน กลับมองว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นพฤติกรรมที่ตื่นตัวผิดปกติ (hyperactive)



 
a11.gif

 ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นแบบที่พ่อแม่คิดเลย จากการศึกษาของนักจิตวิทยา David Benton จากมหาวิทยาลัย Swansea พบว่าในเด็กที่มีอายุระหว่าง 9 ถึง 11 ปี หลังจากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลไปแล้วครึ่งชั่วโมง จะมีความสามารถในการจดจ่อต่อการเรียนรู้ มีสมาธิในการทำงาน และได้คะแนนในการทำการทดสอบความทรงจำมากขึ้น นขณะที่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจริงๆ นั้นจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดได้เลย

a11.gif

 ถึงแม้กระนั้นก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองก็อย่าเพิ่งตามใจให้เด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เพราะการให้กินน้ำตาลอาจช่วยให้มีสมาธิจริง แต่ผลของมันก็อยู่ไม่นาน อีกทั้งอาหารที่ไม่มีน้ำตาลนั้นจะช่วยให้ร่างกายรักษาระดับของน้ำตาลกลูโคสที่จะถูกส่งไปที่สมองได้ดีกว่า อีกทั้งอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนในเด็กอีกด้วย

 

ของหวาน/อาหารที่มีน้ำตาลเป็นแค่แหล่งพลังงานที่เด็กต้องการเพื่อที่จะได้สนุกสนาน กับเพื่อนๆ ก็แค่นั้นเอง”

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?
ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?

ทำความรู้จัก เข้าใจเด็กสมาธิสั้น และตัวยาหลัก เพื่อการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก

ทำความเข้าใจภาวะ LD ภาวะที่ส่งผลต่อการเรียนของลูก และมารู้จัก LD ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงวิธีสังเกตอาการและสัญญาณ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่ม