August 28, 2019 21:22
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
หากมีปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพจิตต่างๆ คิดว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้ การพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ตามสิทธิการรักษาครับ
สามารถเช็คสิทธิการรักษาได้จากเว็บไซต์ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
________________________
อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่อาการต่างๆดังต่อไปนี้
1. มีการนอนหลับที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น นอนมากขึ้น หรือนอนไม่หลับ
2. ไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบหรือกิจกรรมที่เคยทำปกติ
3. รู้สึกว่าตนเองผิด ทำอะไรก็ผิดเสมอ
4. เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย
5. ไม่มีสมาธิในการจดจ่อทำสิ่งต่างๆได้
6. มีความเจริญอาหารที่มากกว่าปกติ หรือเบื่ออาหารผิดปกติ
7. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
8. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
ถ้ามีอาการต่างๆดังต่อไปนี้หลายข้อต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์ควรไปพบจิตแพทย์ครับ หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าอาจหาแบบทดสอบคัดกรองโรคนี้ทำได้ทางอินเตอร์เน็ต หรืออาจโทรไปปรึกษาสายด่วนโรคซึมเศร้าได้ที่เบอร์ 1323 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ นอกจากนี้ยังสามารถไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาอาการต่างๆได้เสมอครับไม่จำเป็นต้องมีอาการหลายข้อหรือเป็นนานนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
คนเราทุกคนมีความเครียดอยู่ในระดับปกติ และสามารถปรับตัวกับความเครียดนั้นได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน หากมีความเครียดสูงกว่าปกติ และไม่สามารถปรับตัวกับความเครียดนั้นได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ค่ะ
เบื้องต้นลองทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม เพราะหากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน อาจต้องประเมินซึมเศร้าเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในส่วนที่เล่ามาเชื่อว่าอาจจะเป็นในเรื่องของความเครียดและความกดดันที่คุณเจออยู่ในชีวิตประจำวันที่เข้ามาส่งผลกระทบในเรื่องของอารมณ์และการนอนหลับครับ ดังนั้นหากต้องการตัวช่วยทางด้านการแพทย์ การเข้าพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้คุณได้รับการประเมินและการช่วยหลือที่เหมาะสมได้นะครับ
นอกจากการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดและการคิดทบทวนเรื่องคำพูดของคนอื่นๆ ลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
ในส่วนของการนอนหลับ ลองปรับพฤติกรรมการนอนซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนไม่ให้มีแสงสว่างเข้า ไม่มีเสียงรบกวน และนอนในที่นอนที่เรารู้สึกสบายและผ่อนคลายครับ ควรงด ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีกก่อนช่วงเวลานอนครับ การอาบน้ำอุ่น ทานนมอุ่นๆหรือกล้วย การออกกำลังกายในช่วงเย็น ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายมีอาการง่วงมากขึ้นได้ครับ แต่พยายามอย่าออกกำลังกายหักโหมก่อนเวลานอนนะครับเพราะการออกกำลังกายหนักๆจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายทำงานและอาจจะทำให้หลับได้ยากขึ้น การพยายามไม่ดูโทรทัศน์ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอนก็จะมีส่วนช่วยให้การนอนหลับได้ง่ายขึ้นและเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นครับ ด้านล่างนี้ผมได้แนบบทความเกี่ยวกับการนอนไม่หลับไว้นะครับหากต้องการข้อมูลก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ
https://www.honestdocs.co/insomnia-psychiatric-disorders-sleep-deprivation
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ช่วงนี้รู้สึกว่าตัวเองนอนหลับเท่าไหร่ก็ไม่พอค่ะ แล้วก็เวลาอยู่คนเดียวบางทีก็ร้องไห้ออกมาแบบไม่รู้สาเหตุ แล้วก็ชอบเก็บคำพูดของคนอื่นมาคิดตลอดเวลา กลัวว่าตัวเองจะเป็นโรคเครียดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)